ถ้าพูดถึงมิตร

 

“ ยามจน คนเคียดแค้น ชิงชัง s

ยามมั่งมี คนประนัง นอบน้อม

เฉกพฤกษ์ดก นกหวังเวียนสู่ เสมอนา

ปางหมดผล นกพร้อม พรากสิ้นบินหนี ”

“ เมื่อมั่งมี มากมาย มิตรหมายมอง

เมื่อมัวหมอง มิตรมอง เหมือนหมูหมา

เมื่อไม่มี หมดมิตร มุ่งมองมา

เมื่อมอดม้วย แม้นหมูหมา ไม่มามอง ”

เมื่อพูดถึงคนจนคนรวย

“ ถ้าอยากรวย อยู่อย่างรวด ไม่มีวันรวย ถ้ากลัวจน อยู่อย่างจน ไม่มีวันจน ”

“ คนจะงาม งามน้ำใจ ใช่ใบหน้า

คนจะสวย สวยจรรยา ใช่ตาหวาน

คนจะแก่ แก่ความรู้ ใช่อยู่นาน

คนจะรวย รวยศีลทาน ใช่บ้านโต ” เป็นต้น

• ฝากให้คิด (Idea) การฝากให้ผู้ฟังนำไปคิด เป็นการจบเรื่องใหญ่ ๆ ที่มีปัญหาคั่งค้าง ที่ชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน กำลังแก้ไขกันอยู่ที่ยังแก้ไม่ตก แล้วฝากผู้ฟังนำไปคิด เช่น

“ สภาพการเมืองในปัจจุบัน โปรดอย่าถามว่า รัฐบาลจะให้อะไรแก่ท่านแต่

จงถามตัวเองว่า ท่านนั่นแหละจะให้อะไรแก่บ้านเมืองบ้าง …”

“ ทุกสิ่งที่ธรรมชาติให้ ธรรมชาติให้มนุษย์ด้วยใจรักและยุติธรรม แต่สิ่งที่

มนุษย์ให้แก่ธรรมชาติ สมค่าและยุติธรรมแล้วหรือยัง …”

“ การปลอมแปลงสินค้าของพ่อค้าไทย เพื่อหลอกลวงชาวต่างชาติท่านแน่

ใจแล้วหรือว่า ท่านจะทำได้นานสักแค่ไหน …”

“ อยากจะขอฝากปัญหาราคาข้าวของชาวนาที่ตกต่ำอยู่ ไม่ว่าใครจะมาเป็น

รัฐบาลอยู่ใน ขณะนี้ว่า ใครจะเป็นผู้แก้ไข และควรแก้ไขอย่างไรจึงจะถูกจุด …”

• สะกิดชักชวน การสรุปแบบนี้ต้องสะกิดอย่างมีศิลปะ อย่าชักชวนเขาดื้อ ๆ

เหมือนบางคนเจ้าชู้ยักษ์จีบสาวโดดกอดเอาดื้อ ๆ นั่นแหละ … ไม่ใช้วิธีการนี้เลย

“ เรามาประหยัดในสิ่งฟุ่มเฟือยกันเถอะ แต่อย่าประหยัดการทำดีต่อกัน

และต่อประเทศชาติเลย …”

“ คนอกตัญญูนั้น ผมคิดว่าไม่ค่างอะไรกับน้ำเค็มเต็มมหาสมุทร ที่ไม่อาจ

หยุดและแก้กระหายคลายความหิวของคนในเรือนั้นได้เลย …”

“ ผมไม่ได้ขอร้องท่าน ผมเพียงเตือนสติอย่างพี่อย่างน้องว่า ต่อจากนี้ไปเร

จะไม่จัดงานวันเกิดให้ฟุ่มเฟือยเพื่อตัวเราเอง แต่เราจะเปลี่ยนไปเป้นการไปกราบเท้าคุณแม่แทนเพราะกางเกงยีนส์ที่ลูกใส่คือเหงื่อไคลของท่าน …”

• สำนวนขบขัน ก่อนการยุติการพูด เราจะสรรหาความสุขให้แก่ผู้ฟังเพื่ออภิ

นันทนาการความสุข เพิ่มความสนุกสนานบันเทิงใจได้ละก็ควรทำอย่างยิ่งอย่าได้นิ่งดูดายเลย เพราะคำขบขันนี่แหละถือว่าเป็นไม้ตาย เรียกเสียงฮาและผ่อนคลายอารมณ์ได้ดีชะมัด

“ ในการโต้วาทีของสมาชิกกลุ่มก้าวหน้าวาทการในญัตติที่ว่า “ นมจากเต้า

ดีกว่าเหล้าจากกลม ” ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอท่านหนึ่งกล่าวสรุปการโต้ว่า “ นมจากเต้าดีกว่าเหล้าจากกลม ถ้าฝ่ายค้านงี่เง่ามัวงมอยู่กับเหล้าจากกลมก็อย่าได้หวังเลยที่จะได้ชื่นชมกับนมสองเต้า ” ( คนฟังฮาตึงปรบมือกันยกใหญ่ ) เห็นพิษอารมณ์ขันหรือยัง

ที่เล่ามาทั้งหมดนี้เป็นวิธีการพูดเริ่มต้นที่เป็นส่วนหัว ต .1 ต้องตื่นเต้นส่วน

กลาง ( ส่วนตัวเนื้อหาสาระ ) ต .2 ต้องกลมกลืน กับเรื่องที่เปิดไว้ ส่วน ต .3 ส่วนหาง ( สรุป ) ต้องจับใจ ใครพูดได้สมบูรณ์ตามที่เล่ามาเชื่อขนมกินได้เลยว่า “ ประสบผลสำเร็จ ” อย่างแน่นอน เขาเรียกว่า รู้ Main Outline เดินอย่างไรก็มีโอกาสถูกต้อง

ขอสรุป ไว้ตรงนี้สักนิดว่า เรารู้กฎข้อบังคับและเทคนิคอะไร ๆ มาพอสม

ควรแล้ว ถึงเวลาเราจำเป็นต้องเดินทาง ( พูด ) แล้ว

โปรดใช้ทฤษฎี 3 สบายของอาจารย์ รอ . ดร . จิตรจำนงค์ สุภาพ ซึ่งเป็น

อาจารย์ผู้เขียนด้วยคือ

• ฟังแล้วสบายหู (Please to Ears)

• ดูสบายตา (Please To Eyes)

• พาสบายใจ (Please to Mind) หมายความว่า เวลาพูดต้องพูดให้ฟังแล้ว

สบายหู ไม่ใช่พูดแล้วฟังไม่ได้ นั่นหมายความว่า จังหวะลีลา ถ้อยคำ สำเนียง ต้องระรื่นและเลื่อนไหลเรียกว่า สบายหู

ดูสบายตา หมายความว่า บุคลิกส่วนตัว การแต่งกาย ศิลปะ การใช้

ท่าทาง สายตา น่าดูน่าเลื่อมใส ทำอะไรก็ดูดีไปหมด

พาสบายใจ หมายความว่า สาระเนื้อหาที่นำเสนอได้จัดระเบียบ

และโครงสร้างขั้นตอนไว้เป็นอย่างดี มีทั้งวิธีเปิดเรื่อง ดำเนินเรื่อง สรุปเรื่อง ได้อย่างสมบูรณ์ตามหลักการที่ได้กล่าวไว้ทุกประการ