พุทธศาสนสุภาษิต

 


ธัมมวรรค - หมวดธรรม

 

ธมฺโม รหโท อกทฺทโม ธรรมเหมือนห้วงน้ำไม่มีตม

ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้

ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี ผู้ประพฤติธรรม ไม่ไปสู่ทุคติ

ธมฺเม ฐิตํ น วิชหาติ กิตฺติ เกียรต ย่อมไม่ละผู้ตั้งอยู่ในธรรม

ธมฺเม ฐิตา เย น กโรนฺติ ปาปกํ ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่ทำบาป

ธมฺมํ จเร สุจริตํ พึงประพฤติธรรมให้สุจริต

นภญฺจ ทูเร ปฐวี จ ทูเร ปารํ สมุทฺทสฺส ตทาหุ ทูเร
ตโต หเว ทูรตรํ วทนฺติ สตญฺจ ธมฺโม อสตญฺจ ราช
เขากล่าวว่า ฟ้ากับดินไกลกัน และฝั่งทะเลก็ไกลกัน
แต่ธรรมของสัตบุรุษกับ อสัตบุรุษไกลกันยิ่งกว่านั้น

ยทา จ พุทฺธา โลกสฺมึ อุปฺปชฺชนฺติ ปภงฺกรา
เต อิมํ ธมฺมํ ปกาเสนฺติ ทุกฺขูปสมคามินํ
เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ทำความสว่างเกิดขึ้นในโลก
พระองค์ย่อมประกาศธรรมสำหรับดับทุกข์นี้

เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน
เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทตฺตรํ
ชนใดประพฤติธรรม ในธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว
ชนเหล่านั้นจักข้ามแดนมฤตยูที่ข้ามได้ยาก

โย อิจฺเฉ ทิพฺพโภคญฺจ ทิพฺพมายุํ ยสํ สุขํ
ปาปานิ ปริวชฺ เชตฺวา ติวิธํ ธมฺมมาจเร
ผู้ใดปราถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศ สุข อันเป็นทิพย์
ผู้นั้นพึงงดเว้นบาปทั้งหลาย แล้วประพฤติสุจริตธรรม ๓ อย่าง

อุจฉินฺท สิเนหมตฺตโน กุมุทํ สารทิกํว ปาณินา
สนฺติมคฺคเมว พฺรูหย นิพฺพานํ สุคเตน เทสิตํ
จงเด็ดเยื่อใยของตนเสีย เหมือนเอาฝ่ามือเด็ดบัวในฤดูแล้ง
จงเพิ่มพูนทางสงบ (ให้ถึง) พระนิพพานที่พระสุคตแสดงแล้ว

จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน
องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต
พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ
เมื่อคำนึงถึงธรรม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิต ทุกอย่าง

ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ
สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ
ราชรถอันงดงามย่อมคร่ำคร่า แม้ร่างกายก็เข้าถึงชรา
ส่วนธรรมสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงชรา สัตบุรุษกับสัตบุรุษเท่านั้นย่อมรู้กันได้

เต ฌายิโน สาตติกา นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา
ผุสนฺติ ธีรา นิพฺพานํ โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํ
ผู้ฉลาดนั้นเป็นผู้เพ่งพินิจ มีความเพียรติดต่อ บากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์
ยอมถูกต้องพระนิพพาน อันปลอดจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

นาญฺญตฺร โพชฺฌาตปสา นาญฺญตฺร อินฺทริยสํวรา
นาญฺญตฺร สพฺพนิสฺสคฺคา โสตฺถึ ปสฺสามิ ปาณินํ
เรา (ตถาคต) ไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย
นอกจากปัญญา ความเพียร ความระวังตัว และการสละสิ่งทั้งปวง

สนฺต จิตฺตา นิปกา สติมนฺโน จ ฌายิโน
สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสนฺติ กาเมสุ อนเปกขิโน
ผู้มีจิตสงบ มีปัญญาเครื่องรักษาตัว มีสติเป็นผู้เพ่งพินิจ
ไม่เยื่อใยในกาม ย่อมเห็นธรรมโดยชอบ