พุทธศาสนสุภาษิต

 


กิเลสวรรค - หมวดกิเลส

 

เยน สลฺเลน โอติณฺโณ ทิสา สพฺพา วิธาวต ตเมว สลฺลํ อพฺพุยฺห น ธาวติ น สีทติ
บุคคลถูกลูกศรใดแทงแล้ว ย่อมแล่นไปทั่วทิศ ถอนลูกศรนั้นแล้ว ย่อมไม่แล่นและไม่จม

ยา กาจิมา ทุคฺคติโย อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ อวิชฺชา มูลกา สพฺพา อิจฺฉาโลภสมุสฺสยา
ทุคติในโลกนี้และโลกหน้า ล้วนมีอวิชชาเป็นราก มีอิจฉาและโลภเป็นลำต้น

ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส นิจฺจ ํ อุชฺฌานสญฺญิโน อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ อารา โส อาสวกฺขยา
คนที่เห็นแต่โทษผู้อื่น คอยแต่เพ่งโทษนั้น อาสวะก็เพิ่มพูน เขายังไกลจากความสิ้นอาสวะ

นิทฺทํ น พหุลีกเรยฺย ชาคริยํ ภเชยฺย อาดาปี
ตนฺทึ มายํ หสฺสํ ขิฑฺฑํ เมถุนํ วิปฺปชเห สวิภูสํ
ผู้มีความเพียรไม่พึงนอนมาก พึงเสพธรรมเครื่องตื่น พึงละความเกียจคร้าน มายา
ความร่าเริง การเล่น และเมถุนพร้อมทั้งเครื่องประดับเสีย

กุหา ถทฺธา ลปา สิงฺคี อุนฺนฬา จาสมาหิตา
น เต ธมฺเม วิรูหนฺติ สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิเต
ผู้คนหลอกลวง เย่อหยิ่ง เพ้อเจ้อ ขี้โอ่ อวดดี และไม่ตั้งมั่น
ย่อมไม่งอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว

โกธสฺส วิสมูลสฺส มธุรคฺคสฺส พฺราหฺมณ
วธํ อริยา ปสํสนฺติ ตญฺหิ เฉตฺวา น โสจติ
พราหมณ์ พระอริยเจ้าย่อมสรรเสริญผู้ฆ่าความโกรธ ซึ่งมีโคนเป็นพิษ
ปลายหวาน เพราะคนตัดความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก

โลโภ โทโส จ โมโห จ ปุริสํ ปาปเจตสํ หึสนฺติ อตฺตสมฺภูตา ตจสารํว สมฺผลํ
โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเอง ย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว ดุจขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ฉะนั้น

โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ สญฺโยชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย
ตนฺนามรูปสฺมึ อสชฺชมานํ อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา
บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง (เพราะ) ทุกข์ทั้งหลาย
ย่อมไม่ติดตามผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น

ตญฺหา ชเนติ ปุรสํ จิตฺตมสฺส วิธาวติ สตฺโต สํสารมาปาทิ ทุกฺขา น ปริมุจฺจติ
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงไม่พ้นจากทุกข์

ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ จิตฺตมสฺส วิธาวติ สตฺโต สํสารมาปาทิ กมฺมํ ตสฺส ปรายนํ
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงยังมีกรรมนำหน้า

อิจฺฉาย พชฺฌตี โลโก อิจฺฉาวินยายุ มุจฺจต
อิจฺฉาย วิปฺปหาเนน สพฺพํ ฉินฺทติ พนฺธนํ
โลกถูกความอยากผูกพันไว้ จะหลุดได้เพราะกำจัดความอยาก
เพราะละความอยากเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกทั้งปวงได้

อิจฺฉา นรํ ปริกสฺสติ อิจฺฉา โลกสฺมิ ทุชชหา
อิจฺฉาพุทฺธา ปุถู สตฺตา ปาเสน สกุณี ยถา
ความอยากย่อมชักลากนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก
สัตว์เป็นอันมากถูกความอยากผูกมัดไว้ ดุจนางนกถูกบ่วงรัดไว้ ฉะนั้น

อุเปกฺขโก สทา สโต น โลเก มญฺญตี สมํ
น วิเสสี น นีเจยฺโย ตสฺส โน สนฺติ อุสฺสทา
ผู้วางเฉยมีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญตนว่าเสมอเขา ดีกว่าเขา
หรือต่ำกว่าเขาในโลก ผู้นั้นชื่อว่า ไม่มีกิเลสเฟื่องฟูขึ้น

วิสุทฺธิ สพฺพเกฺลเสหิ โหติ ทุกฺเขหิ นิพฺพุติ
ความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นทางดับทุกข์ทั้งหลาย

ตณฺหาย อุฑทิโต โลโก ชราย ปริวาริโต
มจฺจนา ปิหิโต โลโก ทุกฺเข โลโก ปติฏฺฐิโต
โลกถูกตัณหาก่อขึ้น ถูกชราล้อมไว้ ถูกมฤตยูปิดไว้ จึงตั้งอยู่ในความทุกข์

นิราสตฺตี อนาคเต อตีตํ นานุโสจติ
วิเวกทสฺสี ผสฺเสสุ ทิฏฺฐีสุ จ น นิยฺยติ
ผู้ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ผู้เห็นความสงัดในผัสสะทั้งหลาย ย่อมไม่ถูกชักนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย

มูฬฺโห อตฺถํ น ชานาติ มูฬฺโห ธมฺมํ ปสฺสต
อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โมโห สหเต นรํ
ผู้หลงย่อมไม่รู้อรรถ ผู้หลงย่อมไม่เห็นธรรม
ความหลงครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น

ยสฺส นตฺถิ อิทํ เมติ ปเรสํ วาปิ กญฺจนํ
มมตฺตํ โส อสํวินฺทํ นตฺถิ เมติ น โสจติ
ผู้ใดไม่กังวลว่า นี้ของเรา นี้ของผู้อื่น ผู้นั้น
เมื่อไม่ถือว่าเป็นของเรา จึงไม่เศร้าโศกว่าของเราไม่มี ดังนี้

ลุทฺโธ อตฺถํ น ชานาติ ลุทโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ
อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โลโภ สหเต นรํ
ผู้โลภย่อมไม่รู้อรรถ ผู้โลภย่อมไม่เห็นธรรม
ความโลภเข้าครอบงำคนเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น