คู่มือการเลี้ยงลูก
พ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนต่างอยากจะเห็นบุตรหลานของตนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสมบูรณ์ พร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ การที่เด็กและเยาวชนจะเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีนั้น สิ่งสำคัญขึ้นอยู่ที่การได้รับการอบรมเลี้ยงดูอย่างถูกต้องเหมาะสม การฝึกฝน การเป็นแบบอย่างที่ดี ตั้งแต่เล็กจากพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อให้เด็กเกิดความศรัทธาและดำเนินการตามในสิ่งอันเหมาะอันควร รวมทั้งการสนับสนุนส่งเสริมให้เด็ก ได้ใช้ศักยภาพและความสามารถของเด็กได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติผมอยากนำเสนอรายละเอียดที่น่าจะเป็นประโยชน์แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งหลาย ซึ่งรายละเอียดต่อไปนี้ได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลจาก คุณ Panisara Prasertsilp ได้กรุณาส่งเมล์มาให้ ผมต้องขอขอบพระคุณไว้ณ. ที่นี้ครับ
8 วิธีฝึกลูกให้เป็นนักอ่าน
1. ชวนลูกมานั่งอ่านหนังสือด้วยกัน
2. ให้ลูก ๆได้เลือกหนังสือที่เขาชอบด้วยตัวเอง
3. พยายามแวดล้อมเด็กด้วยหนังสือ
4. อ่านนิทานและโคลงต่าง ๆด้วยเสียงดัง ๆ
5. การหัดเขียนเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับการหัดอ่าน
6. ปล่อยให้เด็กอ่านหนังสือตามลำพัง
7. วางหนังสือไว้ในที่เด็ก ๆ ชอบอยู่
8. อ่านหนังสือก่อนเข้านอนให้ลูกฟัง
13 แบบอย่างสอนให้เคารพซึ่งกันและกัน
1. รับฟังและมองตาเด็กเวลาพูดกับเรา
2. เคาะประตูห้องก่อนเข้าห้องเด็กทุกครั้ง
3. ใช้ภาษา คำพูด,สำเนียงอย่างที่เราต้องการให้เด็กใช้กับเรา
4. ให้ความสำคัญและให้เวลาพอเพื่อการสนุกกับเพื่อนของเด็ก
5. ให้เด็กมีความคิดเห็นหรือชอบอะไรโดยอิสระต่างจากคุณได้
6. ให้ความเป็นส่วนตัว ไม่เปิดจ.ม.หรือแอบฟังโทรศัพท์ของเด็ก
7. ถามก่อนที่จะหยิบยืมของๆเขา
8. ถามเขาก่อนที่จะช่วยทำอะไรที่รู้สึกว่าจะยากเกินไป
9. ให้เขามีโอกาสแก้ไขปัญหา และสถานการณ์ อย่างอิสระ
10. หยุดจั๊กกะจี้หรือล้อเลียนเมื่อเขาขอร้อง
11. เรียกชื่อที่เขาต้องการให้เรียก
12. อย่าตอบคำถามที่คนอื่นถามเขาโดยตรงแทนเขา
13. แนะนำเขาต่อเพื่อน เวลาพบเพื่อนของเราเป็นครั้งแรก . .
10 ข้อคิดทำให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง
1. ไม่เปรียบเทียบเขากับเด็กคนอื่น หรือใครทั้งสิ้น
2. ยอมรับว่าเขาอาจจะชอบอะไรหรือไม่ชอบอะไรต่างจากคุณ
3. จดบันทึกความสามารถ ลักษณะพิเศษ หรือสิ่งที่เขาชอบ
4. อย่าตั้งความต้องการจะให้เด็กเป็นอะไร ,ต้องเรียนจบอะไร
5. อย่ายึดติดกับรูปร่างหน้าตาหรือระดับความสำเร็จของเขา
6. สนับสนุนให้เขาสำรวจความสามารถของตัวเขาเอง
7. เลิกกังวลว่าเพื่อนบ้านหรือญาติคนอื่นจะนินทาเขาอย่างไร
8. ให้เขาเลือกว่าจะแต่งตัวอย่างไร ใส่ชุดไหน
9. กระตุ้นสิ่งที่สนใจพิเศษ,ไม่ตำหนิเมื่อเปลี่ยนไปสนใจอย่างอื่น
10. ไม่ลืมว่าเขาควรได้ การยอมรับ และเคารพความเป็นตัวเขา
15 วิธีทำตัวอย่างสอนลูกให้มีมารยาทดี
1. หมั่นใช้คำว่า "กรุณา" และ "ขอบคุณ" ต่อผู้อื่น
2. อย่าแทรกขึ้นมาเวลาคนอื่นพูด ถ้าจำเป็นต้องขอโทษก่อน
3. ไม่คุยกันในโรงภาพยนต์ ขณะกำลังฉายอยู่
4. หยุดให้คนอื่นเลี้ยวเข้ามาในช่องทางรถของเรา เวลารถติด
5. ปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจาม
6. ไม่พูดเวลามีอาหารในปาก และปิดปากเวลาเคี้ยวอาหาร
7. ไม่ทิ้งขยะเรี่ยราด
8. หลังกินอาหาร เก็บเศษอาหารให้เรียบร้อย
9. เคาะประตูก่อนเข้าทุกครั้ง
10. วางฝาชักโครกลงหลังปัสสาวะเสร็จ
11. เปิดบานประตูค้างไว้ สำหรับคนที่เดินตามหลัง
12. ให้ที่นั่งบนรถเมล์แก่ผู้ที่จำเป็นต้องนั่งมากกว่าเรา
13. เขียนจดหมายขอบคุณ ผู้ให้ของขวัญหรือช่วยเหลือเรา
14. เคี้ยวหมากฝรั่งอย่าให้มีเสียง เสร็จแล้วห่อกระดาษทิ้งถังขยะ
15. คิดถึงคนข้างๆ เวลาสูบบุหรี่ ใส่น้ำหอมหรือส่งเสียงดัง . .
15 ลักษณะเด็กที่เสี่ยงต่อการมีปัญหา
1. รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่าและไม่มั่นคงทั้งที่บ้านและโรงเรียน
2. รู้สึกว่าไม่มีใครรับฟังเขาเลย
3. รู้สึกสับสนและคิดไม่ตกเมื่อมีปัญหา
4. ไม่รับรู้ผลเสียที่เกิดขึ้นมาจากการกระทำของเขา
5. มีความคาดหวังเกี่ยวกับตัวเองหรือคนรอบข้างสูงเกินไป
6. ยอมรับคำปฏิเสธไม่ได้
7. มีความคิดในด้านลบและเชื่อว่าไม่มีทางทำให้ดีขึ้นได้
8. ชอบเก็บกดความรู้สึกและปล่อยโพล่งออกมาบ่อยครั้ง
9. ไม่ไว้ใจใครจนพอที่ขอความช่วยเหลือ เมื่อมีปัญหา
10. ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ไม่ชอบมีเพื่อน
11. ชอบตำหนิตัวเอง ไม่กล้าลองของใหม่ กลัวล้มเหลวเกินไป
12. คิดอะไรด้วยตนเองไม่ได้ ถูกคนอื่นชักจูงง่าย
13. ไม่มีความเชื่อในระบบสังคมหรือศาสนาใดๆ
14. คบเพื่อนที่ดื่มสุราใช้ยาเสพติด หรือเคยลองใช้เองแล้วคิดว่าดี
15. ไม่แบ่งปันความรู้สึก,ความคิดเห็นกับคนอื่นๆในครอบครัว . .
7 ลักษณะของครอบครัวที่ทำให้เด็กมีปัญหา
1. ครอบครัวที่มักใช้ความรุนแรงทั้งทางกาย คำพูดและอารมณ์
2. ครอบครัว ที่มีการดื่มสุราหนักหรือใช้ยาเสพติด
3. ทอดทิ้ง ไม่สนใจ หรือตรงกันข้ามคือเข้มงวดมากเกินไป
4. ไม่ซื่อสัตย์หรือจริงใจต่อกัน หน้าไหว้หลังหลอก
5. ชอบโยนความผิดให้เด็ก ประจานเด็กให้อายเวลาทำผิด
6. ไม่ค่อยมีการแสดงความรักใคร่ หรือรักแต่คนที่ประจบเก่ง
7. ไม่มีการให้กำลังใจ หรือยกย่องเมื่อทำความดี . .
5 สิ่งที่สอนให้เด็กเป็นคนไม่รับผิดชอบ
1. โกหกเพื่อลูก หรือ หาข้อแก้ตัวให้ลูก
2. ทนความก้าวร้าวหรือกริยาที่ไม่ดีของเด็กเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า
3. ไม่ยอมเชื่อว่าเขาสามารถทำความผิดถึงขั้นนั้นได้
4. แก้ปัญหาที่เขาสร้างขึ้นแทนเขาเสมอ
5. แก้ไขหรือจ่ายค่าทดแทนความผิดให้ . .
By: คุณ Panisara Prasertsilp
|