++ จุดจบของเซลส์แมน ++


              คุณป้าได้ยินเสียงกดกริ่ง จึงเดินมาเปิดประตู พบชายหนุ่มท่าทางกระตือรือร้น ถือเครื่องดูดฝุ่น กับอีกมือหนึ่งถือถุงขยะสีดำ ยืนยิ้มแฉ่งอยู่หน้าประตู

เซลส์แมน : สวัสดีครับคุณป้า ผมขอเวลาสักสองสามนาที เพื่อจะสาธิตเครื่องดูดฝุ่นไฮพาวเวอร์ผลิตภัณฑ์ใหม่ของเรา ให้คุณป้าได้ชมสักหน่อยนะครับ

คุณป้า : ( ส่ายหัว โบกมือปฏิเสธพัลวัน) พวกขายของอีกแล้ว ไม่เอาๆ ไป ๆ ขายที่อื่นเถอะ ฉันไม่มีเงินซื้อหรอก

       แต่เซลส์แมนหนุ่มไม่ฟังเสียง เริ่มรุกการขายของตน ด้วยการเดินเข้าไปในบ้าน ทำการเทปุ๋ยขี้ไก่แห้งจาก ถุงสีดำ สาดกระจายไปทั่วพื้นพรม เล่นเอาคุณป้าตะลึงมองอ้า ปากตาค้าง

เซลส์แมน : ไม่ต้องตกใจครับ เดี๋ยวผมจะสาธิตเครื่องดูดฝุ่น ให้คุณป้าดู รับรองว่าดูดเกลี้ยงไม่มีเหลือ

       เซลส์แมนหนุ่มกล่าวอวดอ้างสรรพคุณของสินค้าของตน ขณะที่เดินเข้าไปในบ้านเพื่อหาปลั้กไฟเสียบเครื่องดูดฝุ่น

เซลส์แมน : รับประกันครับ ถ้าเครื่องดูดฝุ่นของผม ทำความสะอาดพรมคุณป้าไม่สะอาดหมดจด เหมือนเดิมละก้อ ผมจะกินปุ๋ยขี้ไก่ที่เหลือเอง

คุณป้า : ( เท้าสะเอวด้วยความโกรธ) ฮึ่ม..!! แกได้กินอิ่มแน่ ก้อบ้านฉันเพิ่งจะโดนตัดไฟ เมื่อเช้านี่เอง

: D ha ha ha...ha

                             อาชีพเซลส์แมนเป็นสัมมาอาชีวะหรือไม่

ถาม : แหม..อ่านแล้วรู้สึกว่าคนทำอาชีพเซลส์แมนนี่จะกลายเป็นผู้ร้ายไปเลยนะ

ตอบ : ไม่ว่าอาชีพอะไรก็ตาม ถ้าหากอาชีพนั้นทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน พุทธศาสนาถือว่าเป็นอาชีพที่ไม่บริสุทธิ์

ถาม : อย่างอาชีพผมเนี่ย ต้องพบปะลูกค้าทุกวัน อย่างเวลาชักชวนให้เขาซื้อสินค้า ผมก็มุ่งให้เขาได้รับ ประโยชน์จากสินค้าของเรา มันก็น่าจะได้บุญนะ

ตอบ : ถ้ามีจิตปรารถนาดีอยากให้เขาได้รับประโยชน์จริงๆ ก็ถือว่ามีเจตนาที่เป็นกุศล

ถาม : แต่บางครั้งผมก็รู้สึกเครียดๆ นะ หากลูกค้าปฏิเสธไม่ต้องการซิ้อสินค้า ทำไมเราอยากให้เขาได้รับประโยชน์มันจึงเครียดได้ล่ะ

ตอบ : ลึก ๆ เราอาจจะต้องการประโยชน์จากเขาก็ได้ เช่นค่าคอมมิชชั่น ทีนี้พอไม่ได้ตามที่คาดหวังมันก็เลยเครียด

ถาม : ทำอย่างไรผมจึงจะไม่รู้สึกเครียดกับการทำงานประเภทนี้

ตอบ : ก็คงต้องทำเจตนาให้บริสุทธิ์คือหวังประโยชน์ให้เกิดแก่เขาจริงๆ แต่ก็ทำยากนะ เพราะเรารู้ว่ามันมีผลประโยชน์ อีกอย่างหนึ่งการขายนี่มันต้องพยายามกระตุ้นให้เขาเกิดดวามต้องการบริโภคสินค้า ที่นี้ถ้าเราเกิดไปกระตุ้นอย่างผิด ๆ มันก็จะเกิดเป็นบาปหรือความรุ้สึกไม่ดีในจิตใจของเราได้

ถาม : กระตุ้นผิด ๆ แบบไหน

ตอบ : ความต้องการของคนเรามีสองแบบ คือ ๑.ความต้องการที่เป็นคุณค่าแท้ของชีวิต และ ๒.ความต้องการที่เป็นคุณค่าเทียม ความต้องการที่เป็นคุณค่าแท้ คือ สินค้าชนิดนั้นมีประโยชน์มีคุณค่าต่อชีวิตของเราจริงๆ ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เราไปคุยให้ เขาเห้นคุณค่าของสินค้านั้น ๆ จนเขาตัดสินใจซื้อ ก็นับว่าเป็นการกระตุ้นให้เขาเกิดความตัองการในทางที่ดีงาม อันนี้พุทธศาสนาพอรับได้ แต่การกระตุ้นอีกแบบหนึ่งคือกระตุ้นให้เกิดความต้องการเสพบริโภค เอร็ดอร่อย หรือ อวดโก้เก๋ สนุกสนาน เมามัน ฯลฯ อันนี้เป็นคุณค่าเทียม อย่างโฆษณาสินค้าทั่วไปทางทีวี นี้เห็นได้ชัดเลยว่ากระตุ้นให้เกิดความต้องการแบบที่สองเสียส่วนใหญ่ ภาษาพระท่านเรียกว่ากระตุ้นตัณหา อันนี้เป็นอันตรายต่อคุณภาพชีวิต อย่างเรามีอาชีพเป็นเซลส์แมนแล้วไปใช้วิธีกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดความต้องการแบบที่สองนี้ก็ถือว่าเป็นบาป

ถาม : อย่างสินค้าของผมเป็นสินค้าเกี่ยวกับสุขภาพ ก็แสดงว่าผมสามารถกระตุ้นให้เขาเห็นคุณค่าแบบที่ ๑ ได้น่ะสิ

ตอบ : มันก็ต้องมีความชัดเจนว่าสินค้าของเรานั้นเป็นคุณต่อสุขภาพจริงๆ หรือเปล่า ถ้าหากเรารู้ว่ามันไม่ดีจริง หรือมีปัญหาอะไรซ่อนเร้นอยู่แล้วไม่ยอมบอกเขา อันนี้ก็ถือว่ามีเจตนาที่บริสุทธิ์ใจเช่นเดียวกัน

ถาม : แหม..สินค้าทุกอย่างมันก็มีข้อเสีย ขืนเราไปบอกเขา เขาก็ไม่ยอมซื้อของเราสิครับ

ตอบ : ตรงนี้แหละ ที่เป็นปัญหา เพราะเป็นธรรมดาที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องมีจุดเสียจุดด้อย ถ้าหากผู้ขายมีความเคารพในสติปัญญาของผู้ซื้อจริงๆ เราก็ควรจะบอกข้อเสียให้เขาทราบด้วย เพื่อเขาจะตัดสินใจได้เองว่าควรซื้อหรือไม่ซิ้อ

ถาม : ผิดหลักการขายนะครับ เพราะนักขายที่ดีควรหาวิธีให้เขาตัดสินใจซิ้อโดยเร็วที่สุด

ตอบ : ตรงนี้ในทางพุทธศาสนากลับถือว่าการให้เขาได้ใคร่ครวญพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียด้วยปัญญาของตนเอง เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะทำให้เขาตัดสินใจดัวยปัญญาของเขาเอง ไม่ใช่ตัดสินด้วยความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจ

ถาม : ซับซ้อนมาก ถ้าผมมามัวคิดคำนึงถึงคุณภาพทางปัญญาของเขา ผมไม่อดตายพอดีหรือครับ

ตอบ : อาชีพเซลส์แมนเป็นอาชีพที่น่าเห็นใจก็ตรงนี้แหละ เพราะต้องต่อสู้กับความต้องการผลประโยชน์ภายในจิตใจตลอดเวลา

ถาม : ขอบคุณมากที่ได้ให้ข้อคิด เอาไว้ว่าง ๆ คุยกันใหม่นะครับ

ตอบ : ยินดีครับ สวัสดี