คำคมบ่มชีวิต

ความรู้ที่ไม่แท้ ไม่ถูก ไม่ดี ทำให้คนหลีกลี้จากคุณธรรม
(คานธี)

ความรู้กับความสามารถมันคนละเรื่อง บางทีมีความรู้แต่เอาตัวไม่รอดก็มี
(ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง)

สิ่งที่คนคนหนึ่งควรรีบเร่งเรียนรู้เป็นอันดับแรกคือ สิ่งที่เขายังทำไม่ได้และนำไปใช้ให้ประโยชน์ได้ ไม่ใช่พยายามเรียนรู้ไปหมดทุกอย่าง
(อีวาน อิสลิช)

ผมยังยืนยันว่าความรู้มีไว้แจกจ่าย ไม่ได้มีไว้ขาย หากใครผูกขาดความรู้จะทำให้โลกโกลาหล การแจกจ่ายความรู้ทำให้โลกสงบสุข ดังที่ปราชญ์สมัยก่อนจุดตะเกียงส่องแสงเพื่อความสว่างแก่ชาวโลก ค่าตอบแทนคงมีบ้าง ดังเช่นการให้แก่ครูเพื่อดำรงชีวิตอยู่ได้ หรือแม้พระก็ได้แค่ข้าวปลาเพื่อยังชีพ การผูกขาดความรู้เป็นความคิดของพวกตะวันตก ซึ่งคิดแต่เรื่องผลประโยชน์ หากแต่ไม่ค่อยมีมากนักทางโลกตะวันออก ค้นพบอะไรใหม่ๆ ก็เผื่อแผ่ให้ผู้อื่นเสมอ
(นิรนาม : คัดลอกจาก Webboard pantip.com)

ปัจจุบันคนเก่งหาไม่ยาก คนมีความสุขก็หาไม่ยาก แต่คนดีบางทีหายาก เพราะถ้าใคร "ดี" ก็ถือว่าเก่งและมีความสุขอยู่แล้ว
(ดร.พระมหาเทียบ สิริถาโณ)

การศึกษาควรถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ ที่เอื้อเพื่อให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนในส่วนที่มีความจำเป็นต่อการครองชีวิตในสังคม
(เจริญ ไวรวัจนกุล)

หากจัดการศึกษาที่ทำให้เด็กเกิดความตึงเครียด ตื่นเต้น เกร็ง มีการแข่งขันเอาแพ้ชนะกันสูง จะเป็นการสกัดกั้นความคิดสร้างสรรค์เด็กในโอกาสต่อมา
(สุภาษิตจีน)

การศึกษาโดยไม่มีความคิดเป็นของไร้ประโยชน์ มีความคิดแต่ไม่มีการศึกษาเป็นของอันตราย
(ขงจื้อ)

"ความเป็นครู" และ "งานครู" นั้นสำคัญ และมีคุณค่าต่อมวลมนุษยชาติ
(ศ.สุมน อมรวิวัฒน์)

คนที่ได้รับการศึกษาควรเป็นผู้ที่สนใจในด้านความงอกงามของสติปัญญาในทุก ๆ ทาง
(ส.ศิวรักษ์)

 

 


ควรเลือกหาหนังสือที่จะให้ความรู้ ไม่ควรอ่านหนังสือที่จะกลายเป็นยาพิษเพื่อเมาตัวเราเอง
(หลวงวิจิตรวาทการ)
ความคิดทางพุทธศาสนาเป็นแก่นเป็นคำตอบของมนุษย์อย่างดีที่มนุษย์จะอยู่ในโลกนี้ได้อย่างสันติสุข ไม่ทำลายล้างฆ่ากัน
(อังคาร กัลยาณพงษ์)

คนไร้วิชา สกุณาไร้ปีก ย่อมไปได้ไม่ไกล
(สุภาษิตจีน)

การจะให้การศึกษาได้ผลอย่างจริงจังนั้น อยู่ที่การกำหนดความต้องการให้ค่อนข้างจะแน่นอน เพื่อจะได้ดำเนินการไปโดยไม่มีการเสียเปล่ามากนัก
(ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร)

เราจะเป็นทาสปัญญาของฝรั่งไม่ได้ แต่เราก็ไม่ปฏิเสธความรู้ใหม่ที่มีความเหมาะสม
(ศ.สุมน อมรวิวัฒน์)
สมบัติทิพย์ที่น่าจะนำมาใช้เป็นพื้นฐานของการจัดการศึกษาไทยคือ วัฒนธรรม ปัญญาธรรม และเมตตาธรรม
(ศ.สุมน อมรวิวัฒน์)

ครูเป็นศูนย์กลางการศึกษา ดังนั้นครูจะต้องถ่ายทอดความดีงามต่าง ๆ ให้แก่ศิษย์
(เอ็ดเวิด อัลรี จูเนียร์)
วิทยาการที่ก้าวหน้ากำลังเปลี่ยนแปลงแบบแผนชีวิตของเรา ผลักดันให้เราต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
(ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง)

ชีวิตเด็กสมัยนี้เอาแต่เรียนแข่งขัน ทำให้ชีวิตเด็กเป็นชีวิตที่คร่ำเคร่งกับตำรามากเกินไป อันจะเป็นผลเสียต่อการพัฒนาคน
(พล.ต.จำลอง ศรีเมือง)

การศึกษาคือ เครื่องมือเตรียมเด็กและเยาวชนให้มีบทบาทในวงการอาชีพต่าง ๆ
(ทัลคอต พาร์สัน)
การศึกษาที่แท้จริงเป็นแรงผลักดันพื้นฐานของสังคมและจะผลักดันให้สังคมก้าวไป
(ลีเวอเรทท์ เรยเมอร์)

เป้าหมายของการศึกษานั้นต้องมุ่งให้ผู้เรียนมีเสรีทางความคิด
(อำนาจ เย็นสบาย)

การศึกษาเป็นการสร้างความยึดมั่นแก่บุคคล และต้องเป็นการยึดมั่นในทางที่ถูกต้องด้วย ถ้ายึดมั่นในทางที่ผิดก็เป็นผลเสียต่อสังคม
(ดร.นิพนธ์ ศศิธร)