ศาสนพิธีในเทศกาล

 

งานวันตรุษสงกรานต์

วันตรุษสงกรานต์ เป็นเทศกาลวันสิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ของคนไทย ซึ่งยึดถือสืบเนื่องเป็นประเพณีมาแต่โบราณกาล เป็นระยะเวลาเข้าฤดูร้อน ที่เสร็จจากการเก็บเกี่ยวข้าวจึงว่างจากงานประจำ มาร่วมกันทำบุญ แล้วมีการละเล่นสนุกสนานรื่นเริงกันในแต่ละหมู่บ้าน ตำบล หรือเมืองหนึ่ง ๆ

วันตรุษ คือวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือนสี่ ซึ่งถือเป็นวันสิ้นปีนักษัตรหนึ่ง ๆ ตามประเพณีไทยแต่โบราณ และถือเอาวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนห้า ตามจันทรคติเป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาได้เปลี่ยนไปถือแบบพม่าคือ ถือวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ คือในวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งจะตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน ทางสุริยคติ และถือเอาวันที่ ๑๓,๑๔,๑๕ เมษายนของทุกปีเป็นเทศกาลสงกรานต์

เทศกาลตรุษ จะเริ่มตั้งแต่วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือนสี่ของทุกปี ถือว่าเป็นวันพักผ่อนประจำปี หลังจากที่ได้ตรากตรำทำงานกันมาตลอดปี จะมีการทำบุญ และมีการละเล่นสนุกสนานรื่นเริงกัน หรือไม่ก็มีการเที่ยวเตร่ติดต่อกันไปจนถึงวันเปลี่ยนศักราชใหม่ในวันสงกรานต์ พวกแม่บ้านจะทำขนมไว้ประจำบ้าน เพื่อคอยต้อนรับแขกที่จะมาเที่ยวบ้าน และนำไปเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องประจำปีกัน หนุ่มสาวก็ช่วยกันทำขนมโดยเฉพาะคือ ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว คุยกันไป เล่นกันไป ร้องทำเพลงกันไปเป็นที่สนุกสนาน หรือจะมีการเล่นอื่น ๆ เช่น เล่นเพลงพวงมาลัยกันยามค่ำคืน เป็นต้น

วันสงกรานต์ เป็นวันคาบเกี่ยวระหว่างปีต่อกัน ตามรูปศัพท์เดิม คำว่าสงกรานต์ แยกออกได้เป็นสองคำคือ สงฺกร แปลว่า ปนกัน หมายความว่าคาบเกี่ยวกัน อนฺต แปลว่าที่สุดสุดท้าย จึงแปลเอาความหมายว่าที่สุดของการคาบเกี่ยวกัน คือปีเก่ากำลังหมดไปคาบเกี่ยวกับปีใหม่ที่ย่างเข้ามา จะเห็นว่าในวันที่ ๑๓ หรือ ๑๔ เมษายน ตามทางสุริยคติในปฏิทินโหราศาสตร์ จะบอกกำหนดเวลาที่ดวงอาทิตย์จะยกเข้าไปสถิตย์ในราศีเมษ จะเห็นว่าในวันนั้นจะเป็นทั้งวันเก่าและวันใหม่ ในวันรุ่งขึ้นจึงเรียกว่า วันเนาว์ แปลว่าวันใหม่ แผลงมาจากคำบาลีว่า นวะ แปลว่าใหม่

เมื่อถึงวันสงกรานต์ชาวไทยเราจะพากันทำขนม โดยเฉพาะการกวนขนมกาละแมกันทั่วไป ตลอดจนขนมอย่างอื่น เพื่อเตรียมทำบุญตักบาตรฉลองวันปีใหม่ หนุ่มสาวจะแต่งกายสวยงาม พากันไปทำบุญตักบาตร เอาข้าวปลาอาหารไปให้ พ่อ แม่ ปู่ย่า ตายาย ที่ไปถือศีลกินเพลที่วัด หรือเอาไปส่งตามบ้านญาติที่อยู่ห่างไกล เป็นการไปเยี่ยมเยียนกันในปีหนึ่ง ๆ หมู่บ้านบางแห่งจะทำข้าวแช่ส่งกันถึงสามวันโดยถือคติตามแบบประวัติของวันสงกรานต์

เมื่อเสร็จจากภารกิจอย่างอื่นแล้ว จะมาจับกลุ่มกันเล่นการละเล่นต่าง ๆ ในตอนกลางวันจะมีการเล่นชักคะเย่อ เล่นลูกช่วงปา ลูกช่วงรำ พวกเด็ก ๆ จะเล่นเข้าผีกันเช่นผีลิงลม ผีกระด้ง ผีครก เป็นต้น เมื่อถึงเวลาค่ำ จะรวมกลุ่มกันเล่นเพลงแม่พวงมาลัย รำวง เล่นสะบ้าทอย สะบ้ารำ ตามประเพณีที่เคยเล่นกันมา

 

ประเพณีทำบุญตักบาตรในวันสงกรานต์ นิยมทำกันสามวัน บางแห่งอาจถึงหกวันก็มี ในวันสุดท้ายของสงกรานต์ จะมีประเพณีสรงน้ำพระ โดยชาวบ้านจะนิมนต์เอาพระพุทธรูปประจำวัด หรือหมู่บ้าน ออกมาตั้งหรือแห่ ให้ชาวบ้านทั่วไปมาทำพิธีสรงน้ำพระกัน โดยใช้น้ำอบไทยไปพรมสรงน้ำพระพุทธรูป หลังจากนั้นจึงทำพิธีสรงน้ำพระสงฆ์ที่ประจำอยู่ในวัด

ก่อนถึงวันพิธีสรงน้ำพระ จะมีทายกทายิกาของวัดมาจัดสถานที่ไว้ก่อน โดยตั้งลำรางสำหรับให้ชาวบ้านได้เทน้ำไว้ หากเป็นวัดโบราณ จะมีลำรางไว้เสร็จเรียบร้อย ลำรางดังกล่าวจะใช้ต้นตาลทั้งต้นมาขุดขัดเกลาให้เป็นรางน้ำ เพราะต้นตาลไม่ผุง่าย ทายกทายิกาจัดหาไม้ไผ่มาทำเป็นตีนกา แล้วใช้ตอกมัดให้ลาดต่ำไปโดยลำดับ จนถึงปลายรางน้ำที่จะไหลไปที่สรงน้ำ สำหรับที่สรงน้ำ จะเอาใบก้านมะพร้าวฉีกตรงกลางมากั้นที่ทาง ตามที่กะประมาณไว้เป็นรูปห้องสี่เหลี่ยม เป็นที่กั้นให้พระสงฆ์สรงน้ำผลัดผ้า มีประตูเข้าออก ปลายลำรางจะจ่อเข้าไปในห้องดังกล่าวนี้

เมื่อชาวบ้านสรงน้ำพระพุทธรูปแล้ว จะนิมนต์พระสงฆ์สามเณรทั้งวัดมาประชุมพร้อมกัน โดยมากจะเป็นที่ศาลาการเปรียญ และเป็นเวลาบ่าย ๆ เมื่อทายกทายิกาและชาวบ้านไปรับศีลห้าจากพระสงฆ์แล้ว จะนิมนต์พระสงฆ์เรียงองค์ไปตามลำดับ ตั้งแต่ประธานสงฆ์เป็นต้นเรื่อยไปคราวละองค์ ไปสรงน้ำที่ห้องดังกล่าว จะนั่งบนกระดานที่วางไว้ตรงปลายลำราง พวกทายกทายิกาที่อยู่ในห้องนั้น จะร้องบอกให้ชาวบ้านที่อยู่ตามลำราง ให้เทน้ำใส่ลงไปในลำรางได้ น้ำจะไหลตามลำรางจนถึงพระสงฆ์ในห้องน้ำ เสร็จจากรูปแรกแล้ว รูปต่อไปจนถึงสามเณรก็ทำในทำนองเดียวกันจนครบทุกรูป

เสร็จจากการสรงน้ำแล้ว ชาวบ้านจะไปรวมกันบนศาลาการเปรียญอีกครั้งหนึ่ง จะนิมนต์พระสงฆ์ทั้งหมดสวดมาติกาบังสุกุลกระดูก ซึ่งชาวบ้านได้นำเอาโกศกระดูกของปู่ย่า ตายาย หรือพ่อแม่ มารวมกันไว้บนศาลา เพื่อให้พระสงฆ์สวดมาติกาบังสุกุล เป็นการทำบุญส่วน ปุพพเปตพลี เป็นการทำบุญให้ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ที่ล่วงลับไปแล้ว

เมื่อทำพิธีสวดมาติกาบังสุกุลเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงไปรดน้ำญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ผู้ใหญ่ก็จะให้ศีลให้พรให้ลูกหลานมีความสุขความเจริญตลอดไป

ปัจจุบันทางราชการกำหนดให้วันที่ ๑๓,๑๔, และ ๑๕ เมษายนเป็นวันหยุดราชการประจำปี รวมสามวัน เรียกว่าวันสงกรานต์
งานบวชนาค

งานบวชนับว่าเป็นธรรมเนียมประเพณีของชาวไทย ที่นับถือพระพุทธศาสนา เพราะผู้ที่มั่นคงในพระพุทธศาสนา มีจุดมุ่งหมายให้บุตรของตนได้เป็นศาสนทายาท สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไป อีกประการหนึ่งคือ ต้องการปลูกฝังบุตรของตนได้เรียนรู้หลักของพระศาสนา เพื่อจะได้นำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตการครองเรือนต่อไป

กุลบุตรผู้จะบวชต้องมีอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์ เมื่ออายุครบบวชและสมัครใจจะบวชแล้ว พ่อแม่จะนำบุตรของตนไปหาเจ้าอาวาสวัดใกล้บ้าน หรือวัดที่ตนเป็นทายกทายิกาแห่งวัดนั้นอยู่ เพื่อมอบตัวให้ท่านบวชให้ การไปมอบตัวควรจัดดอกไม้ ธูปเทียน ไปถวายในการมอบตัวด้วย

พระอุปัชฌาย์จะสอบถามพ่อแม่ หรือผู้ที่ขอบวชเอง ถึงวันเดือนปีเกิด และคุณสมบัติของผู้ที่จะขอบวช ถ้าเห็นว่ามีคุณลักษณะครบถ้วน ไม่เป็นคนต้องห้ามในการที่จะให้บรรพชาอุปสมบท ท่านก็จะรับเข้าบวช โดยมอบใบสมัครขอบรรพชาอุปสมบท และใบรับรองให้ไปกรอกรายการแล้วถวายท่านเป็นหลักฐาน ก่อนถึงวันบรรพชาอุปสมบทไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน จากนั้นก็นัดหมายให้ผู้ที่จะบวชซึ่งเรียกว่า นาคหรือเจ้านาค มาฝึกซ้อมการปฏิบัติเกี่ยวกับพิธีบวช และกำหนดวันที่จะทำการ
บรรพชาอุปสมบท

เมื่อมอบตัวแล้วต้องจัดเตรียมหาเครื่องบวชคือ บริขาร ๘ ดังมีในบาลี ดังนี้

ติจีวรญฺจ ปตฺโต จ วาสี สจิ จ พนฺธนํ ปริสฺสาวเนนทฏฺเฐเต ยุตุตโยคสฺส ภิกฺขุโน ได้แก่ ไตรจีวร บาตร พร้อมทั้งถลกบาตร มีด (มีดโกน) พร้อมหินลับมีด เข็มพร้อมทั้งกล่องและด้าย ประคตเอวรวมอยู่กับไตรจีวร และกระบอกกรองน้ำ

เครื่องใช้อย่างอื่นเป็นส่วนประกอบในการบวช เช่น เสื่อ หมอน มุ้ง ร่ม รองเท้า ถุงย่าม กาน้ำ จาน ช้อน แปรง ยาสีฟัน สบู่ ขันน้ำ เครื่องใช้สำรอง เช่น ผ้าอาบน้ำ สบง ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขาวสำหรับนาคนุ่งวันบวช อย่างละหนึ่งผืน

สำหรับไทยทาน ควรจัดไทยทานสำหรับถวายพระอุปัชฌาย์หนึ่งที่ สำหรับถวายพระคู่สวดสองที่ และสำหรับถวายพระอันดับ ๒๒ ที่ โดยมากนิยมนิมนต์พระในพิธีบวช ๒๕ รูป พร้อมทั้งพระอุปัชฌาย์และคู่สวด

นาคจะต้องเตรียมท่องคำขานนาคให้ได้ การฝึกซ้อมการขานนาคมีสองแบบคือ แบบเก่าและแบบใหม่ แบบเก่าควรปฏิบัติ ดังนี้
ก่อนจะเข้าไปหาพระสงฆ์ทำพิธีบวช นาคจะนั่งอยู่แถวผนังโบสถ์ ด้านหน้าตรงกับพระประธาน เมื่อได้เวลาพ่อแม่พร้อมญาติ จะมอบผ้าไตรให้นาค โดยหยิบผ้าไตรจากพานแว่นฟ้า หากมีดอกไม้สดหุ้มไตรต้องหยิบมาด้วย นาคจะได้นำไปถวายพร้อมผ้าไตร เพื่อจะนำไปบูชาพระประธาน หากเป็นดอกไม้แห้งควรหยิบถอดออกไปเหลือแต่ผ้าไตรอย่างเดียว พ่อแม่จับผ้าไตรด้วยกันนั่งอยู่หน้านาค ส่วนนาคต้องนั่งคุกเข่ากราบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง แล้วยื่นแขนออกไปรับไตรจีวร พ่อแม่วางให้บนท่อนแขน แล้วควรหลีกออกไปสองข้าง นาคอุ้มผ้าไตรไปหาพระอุปัชฌาย์ พอใกล้ที่นั่งสงฆ์ต้องทรุดตัวลงนั่งแล้วเดินเข่าเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ ประเคนผ้าไตรให้ท่านแล้ว คอยเอี้ยวตัวมาทางขวามือรับเครื่องสักการะทุกอย่างถวายพระอุปัชฌาย์ แล้วกราบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง พระอุปัชฌาย์จะมอบผ้าไตรให้นาครับแล้วลุกขึ้นยืนก้มตัวพองามเตรียมว่าคำขานนาค ดังนี้

อุกาส วันฺทามิ ภนฺเต , สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต มยา กตํ ปุญญํ สามินา อนุโมทิตพฺพํ , สามินา กตํ ปญญํ มยฺหํ ทาตพฺพํ สาธุ สาธุ อุนุโมทามิ ,
อุกาส การุญฺญํ กตฺวา ปพฺพชฺชํ เทถ เม ภนฺเต (นั่งคุกเข่าลงว่า) อหํ ภนฺเต ปพฺพชฺชํ ยาจามิ
ทุติยมฺปิ อหํ ภนฺเต ปพฺพชฺชํ ยาจามิ
ตติยมฺปิ อหํ ภนฺเต ปพฺพชฺชํ ยาจามิ

สพฺพทุกฺขนิสฺสรณ นิพฺพานสจฺฉิกรณตฺ ถาย , อิมํ กาสาวํ คเหตฺวา ปพฺพาเชถ มํ ภนฺเต , อนุกมฺปํ อุปาทาย (ว่าสามหน)
จบแล้วน้อมถวายผ้าไตรให้กับพระอุปัชฌาย์ และกล่าวคำขอผ้าต่อไปว่า
สพฺพทุกฺขนิสสรณ นิพฺพานสจฺฉิกรณตฺถาย , เอตํ กาสาวํ ทตฺวา ปพฺพา เชถ มํ ภนฺเต อมุกมฺปํ อุปาทาย (ว่าสามหน)
จบแล้วกราบสามครั้ง ลงนั่งพับเพียบประนมมือฟังโอวาทจากพระอุปัชฌาย์ต่อไป จนกระทั่งสอนกัมมัฏฐาน นาคคอยว่าตามว่า

เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ (เป็นอนุโลม)
ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา (เป็นปฏิโลม)

เมื่อสอนกัมมัฏฐานเสร็จแล้ว จะมอบผ้าไตรให้ไปห่ม ถึงตอนนี้ท่านจะบอกให้นาคลุกขึ้นนั่งคุกเข่า หากสวมเสื้อคลุมไว้ หรือสวมเครื่องประดับต่าง ๆ หรือผ้าสไบเฉียงไว้ ท่านจะให้ถอดออก แล้วท่านจะคล้องอังสะให้ นาคต้องก้มศีรษะเตรียมให้ท่านสวม เสร็จแล้วคอยรับผ้าไตรที่ท่านจะมอบให้ไปห่มอุ้มไว้ แล้วถอยออกมาให้พ้นพระสงฆ์ก่อนจึงลุกขึ้นเดินตามพระสงฆ์ที่ท่านให้ไปช่วยห่อผ้าให้

เมื่อห่มผ้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์จะพามานั่งหน้าพระคู่สวดที่จะให้ศีล นั่งคุกเข่าข้างหน้าปูผ้ากราบไว้แล้วรับเครื่องสักการะประเคนท่าน กราบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง แล้วลุกขึ้นยืน ก้มตัวลงเล็กน้อย กล่าวคำขอศีล ดังนี้

อุกาส วนฺทามิ ภนฺเต สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต , มยา ภตํ ปญฺญํ สามินา อมุโมทิตพฺพํ , สามินา กตํ ปุญฺญํ มยฺหํ ทาตพฺพํ , สาธุ สาธุ อนุโมทานิ ,
อุกาส การุญฺญํ กตฺวา ติสรเณน สห สีลานิ เทถ เม ภนฺเต
แล้วนั่งคุกเข่าว่า อหํ ภนฺเต สรณสีลํ ยาจามิ

ทุติยมฺปิ อหํ ภนฺเต สรณสีลํ ยาจามิ
ตติยมฺปิ อหํ ภนฺเต สรณสีลัง ยาจามิ

นโม ตสฺส ภควาโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (สามหน) นาคว่าตามแล้วพระอาจารย์จะบอกว่า ยมหํ วทามิ ตํ วเทหิ นาครับว่า อาม ภนฺเต แล้วพระอาจารย์จะให้ไตรสรณาคมน์ นาคว่าตามท่านทีละวรรค ดังนี้

พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆงฺ สรณํ คจฺฉามิ
ทุติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ทุติยมฺป สงฺฆงฺ สรณํ คจฺฉามิ
ตติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ตติยมฺปิ สงฺฆงฺ สรณํ คจฺฉามิ

จบแล้วพระอาจารย์ถามว่า ติสรณคมนํ นิฏฐิตํ นาครับว่า อาม ภนฺเต แล้วพระอาจารย์จะให้ศีลสิบต่อไปทีละสิกขาบท นาครับว่าตามทีละสิกขาบท ดังนี้

ปาณาติปาตา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
อทินฺนา ทานา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
อพฺรหมฺ จริยา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
มุสาวาทา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
วิกาลโภชนา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺนา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
มาลาคนฺธวิเลปน ธารณ มณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
อุจ จา สยนมหา สยนา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ชาตรูป รชต ปฏิคฺคหณา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

อิมานิ ทส สิกฺขาปทานิ สมาทิยามิ นาคว่าสามครั้ง แล้วกราบหนึ่งครั้ง จากนั้นลุกขึ้นยืนว่า อุกาส วนฺทามิ ภนฺเต , สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต , มยา กตํ ปุญฺญํ สามินา อนุโมทิตพฺพํ , สามินา กตํ ปุญฺญํ มยฺหํ ทาตพฺพํ , สาธุ สาธุ อนุโมทามิ แล้วนั่งลงกราบสามครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีบรรพชาเป็นสามเณร

 

ต่อจากนั้นนาคจะคอยรับประเคนบาตร พร้อมทั้งดอกบัวธูปเทียนหนึ่งกำ ซึ่งเตรียมใส่ไว้คู่กับบาตรจากพ่อแม่ เมื่อจะรับประเคนต้องปูผ้ากราบข้างหน้า พ่อแม่จะวางแล้วนาคอุ้มบาตรเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ เพื่อขอนิสสัยไปถวายบาตรแล้วคอยรับพานเทียนแพถวายพระอุปัชฌาย์ด้วย แล้วกราบสามครั้ง ลุกขึ้นยืนว่า

อุกาส วนฺทามิ ภนฺเต สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต , มยา กตํ มยฺหํ ทาตพฺพํ , สาธุ สาธุ อนุโมทามิ , อุกาส การุญฺญํ กตฺวา นิสสยํ เทถ เม ภนฺเต ,
นั่งลงว่า อหํ ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ
ทุติยมฺปิ อหํ ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ
ตติยมฺปิ อหํ ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ
พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า ปฏิรูปํ นาครับว่า สาธุ ภนฺเต
พระอุปัชฌายฺกล่าวว่า โอปายิกํ นาครับว่า สาธุ ภนฺเต
พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า ปาสาทิเกน สมฺปาเทหิ นาครับว่า สาธุ ภนฺเต

นาคว่าต่อ อชฺชตคฺเคทานิ เถโร มยฺหํ ภาโร อหมฺปิ เถรสฺส ภาโร ว่าสามครั้ง แล้วกราบลงหนึ่งครั้ง จากนั้นนั่งลงฟังพระอุปัชฌาย์ให้โอวาทต่อไป จนกระทั่งท่านตั้งชื่อฉายาว่าอะไร และบอกชื่อของท่าน เมื่อคู่สวดสอบถามว่า

กินฺนาโมสิ แปลว่า ท่านชื่ออะไร
ให้นาคตอบว่า อหํ ภนฺเต ติกฺขวีโร นาม ชื่อนาค
นาคอยรับตอบท่านว่า อาม ภนฺเต
เมื่อคู่สวดถามว่า โก นาม เต อุปชฺฌาโย แปลว่า อุปัชฌาย์ของท่านชื่อ อะไร
ให้นาคตอบว่า อุปัชฌาย์โย เม ภนฺเต อายสฺมา ปภสฺสโร นาม ชื่ออุปัชฌาย์
นาคคอยรับตอบท่านว่า อาม ภนฺเต

ต่อจากนั้น พระอุปัชฌาย์จะบอกชื่อบริขารให้นาค นาคต้องคอยรับว่า อาม ภนฺเต ทุกครั้ง เช่น

พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า อยนฺเต ปตฺโต นาครับว่า อาม ภนฺเต
พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า อยํ สงฺฆาฏิ นาครับว่า อาม ภนฺเต
พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า อยํ อุตฺตราสงฺโค นาครับว่า อาม ภนฺเต
พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า อยํ อนฺตรวสโก นาครับว่า อาม ภนฺเต

แล้วพระอุปัชฌาย์จะบอกต่อไปว่า คจฺฉ อมมฺหิ โอกาเส ติฏฐาหิ นาคไม่ต้องกล่าวอะไร แต่ให้ค่อย ๆ ถอยออกมา พอพ้นพระสงฆ์จึงลุกขึ้นเดินไปยังผนังโบสถ์ด้านหน้า อ้อมเสื่อที่ปูไว้ให้พระคู่สวดยืน ยืนประนมมือ หันหน้ามาทางพระสงฆ์

ต่อจากนั้นพระสงฆ์จะเริ่มสวดกรรมวาจาญัตติ ชาวบ้านที่มาร่วมในงานต้องนั่งอยู่กับที่ ห่างจากพระสงฆ์สองศอกขึ้นไป
เมื่อพระคู่สวด สวดสมุมติ เป็นผู้สอบถามแล้ว จะออกไปยืนสวดบนเสื่อที่ปูไว้หน้านาคจนถึงคำว่า

กุฏฺฐํ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
คณฺโฑ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
กิลา นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
โสโส นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
อปมาโร นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
มนุสฺโสสิ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
ปุริโสสิ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
ภุชิโสสิ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
อนโสสิ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
นสิ ราชภโฏ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
อนุญฺญาโตสิ มาตาปิตุหิ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
ปริปุณณนฺเต ปตฺตาจีวรํ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
กินนาโมสิ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต

จากนั้น พระคู่สวดจะสั่งให้นาครออยู่ตรงนี้ก่อน ท่านจะกลับไปที่ประชุมสงฆ์ เมื่อท่านกลับไปสวดกรรมวาจาในที่ประชุมสงฆ์จนถึงคำว่า อาคจฺฉาหิ ท่านจะกวักมือเรียก นาคจะต้องเข้าไปโดยอ้อมเสื่อที่ปูไว้ พอไปใกล้พระสงฆ์แล้วนั่งคุกเข่าลง กราบเบญจางคประดิษฐ์ พระสงฆ์ซ้ายขวาสามครั้ง พระสงฆ์นั่งอันดับ จะคอยจับบาตรให้ แล้วนั่งคุกเข่า กล่าวคำขออุปสมบท ดังนี้

สงฺฆมฺ ภนฺเต อุปสมฺปทํ ยาจามิ อุลลุมฺปตุ มํ ภนฺเต สงฺโฆ อนุกมฺปํ อุปาทาย
ทุติยมฺปิ ภนฺเต สงฺฆํ อุปสมฺปทํ ยาจามิ อุลลุมฺปตุ มํ ภนฺเต สงฺโฆ อนุกมฺปํ อุปาทาย
ตติยมฺปิ ภนฺเต สงฺฆํ อุปสมฺปทํ ยาจามิ อุลลุมฺปตุ มํ ภนฺเต สงฺโฆ อนุกมฺปํ อุปาทาย
แล้วกราบลงหนึ่งครั้ง นั่งอยู่กับที่

พระอุปัชฌาย์ท่านจะกล่าวคำเผดียงสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์รับว่า สาธุ พร้อมกันแล้ว นาคจึงเดินเข้าไปนั่งในท่ามกลางสงฆ์ใกล้พระอาจารย์คู่สวด พระสงฆ์นั่งอันดับสองรูปริมสุด จะนั่งปิดหลังนาคทันที นาคนั่งคุกเข่าคอยฟังพระอาจารย์คู่สวด จะสวดสอบถามต่อไปเช่นเดียวกับตอนสวดสอบถามครั้งแรก นาคก็ตอบเช่นที่ตอบเมื่อตอนสวดสอบถามครั้งแรก จนถึงตอนสุดท้ายถามว่า โก นาม เต อุปชฺฌาโย นาคตอบ เช่น พระอุปัชฌาย์ มีฉายาว่า ปภสฺสโร ก็ตอบว่า อุปชฺฌาโย เม ภนฺเต อยสฺมา ปภสฺสโร นาม

ต่อจากนี้ พระอาจารย์คู่สวดจะสวดกรรมวาจา เป็นญัตติ จตุตถกรรมวาจา นาคต้องนั่งอยู่อย่างนั้นเรื่อยไป พระอาจารย์จะสวดกรรมวาจาจนจบถึงสี่ครั้งจึงเป็นการเสร็จพิธี เมื่อเสร็จแล้ว พระใหม่ควรถอดถลกบาตรที่คล้องออกวางไว้ข้าง ๆ กราบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง แล้วนั่งพับเพียบ ประนมมือคอยฟังพระอุปัชฌาย์ จะบอกสอนอนุศาสน์แปด เป็นภาษาไทยก่อน แล้วจะบอกเป็นภาษาบาลีว่า

อนุญฺญาสิ โข ภควา อุปสมฺปาเทตฺวา จตฺตาโร นิสฺสาย จตฺตาริ จ , อกรณียานิ อาวิกฺ ขิตุ ํ
(๑) ปิณฺฑิยาโลปโภชนํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุสฺสาโห กรณีโย อติเรกลาโภ สงฺฆภนฺตํ อุทฺเทสภตฺตํ นิมนฺตนํ สลากภตฺตํ ปกฺขิกํ อุโปสถิกํ ปาฏิปทิกํ ฯ
(๒) ปํสุกูลจีวรํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุสฺสาโห กรณีโย อติเรกลาโภ เขมํ กปฺปาสิกํ โกเสยฺยํ กมฺพลํ สาณํ ภงฺคํ ฯ
(๓) รุกฺขมูลเสนาสนํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุสฺสาโห กรณีโย อติเรกลาโภ วิหาโร อฑฺฒโยโค ปาสาโท หมฺมิยํ คูหา ฯ
(๔) ปูติมุตฺต เภชสชฺชํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชํ ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุสฺสาโห กรณีโย อติเรกลาโภ สปฺปิ นวนีตํ เตลํ มธุ ผาณิตํ ฯ
(๑) อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา เมถุโน ธมฺโม น ปฏิเสวิตพฺโพ อนฺตมโส ติรจฺฉานคตายปิ โย ภิกฺขุ เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสวติ อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย เสยฺยถาปิ นาม ปริโส สีสจฺฉินฺโน อภพฺโพ เตนิ สรีรพนฺธเน ชีวิตุ ํ เอวเมว ภิกขุ เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสวิตวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตติโย ตนฺเต ยาชีวํ อกรณียํ ฯ
(๒) อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา อทินฺนํ เถยยสงฺฆาตํ น อาทาตพฺพํ อนฺตมโส ติณสลากํ อุปาทาย โย ภิกฺขุ ปาทํ วา ปาทารหํ วา อติเรกปาทํ วา อทินฺนํ เถยฺยสงฺ ขาตํ อาทิยติ อสฺสมโณ โหติ อสกฺย ปตฺติโย เสยฺถาปิ นาม ปณฺฑุปลาโส พนฺธนา ปมุตฺโต อภพฺโพ หริตตตาย เอวเมว ภิกฺขุ ปาทํ วา ปาทารหํ วา อติเรกปาทํ วา อทินฺนํ เถยฺยสงฺฆาตํ อาทิยิตฺวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺปุตฺตีโย ตนฺเต ยาวชีวํ อกรณียํ ฯ
(๓) อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา สญฺจิจจ ปาโณ น โวโรเปตพฺโพ อนฺตมโส กุนฺถกิปิลฺลิกํ อุปาทาย โย ภิกขุ สญฺจิจฺจ มนุสฺสวิคคหํ ชีวิตา โวโรเปติ อนฺตมโส ตพฺภปาตนํ อุปาทาย อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย เสยฺยถาปิ นาม ปุถุสิลา ทฺวิธา ภินฺนา อปฺปฏิสนฺธิกา โหติ เอวเมว ภิกฺขุ สญฺจิจจ มนุสฺสวิคคหํ ชีวิตา โวโรเปตฺวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตติโย ตนฺเต ยาวชีวํ อกรณียํ ฯ
(๔) อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา อุตฺตริมนุสฺสธมฺโม น อุลฺลปิตพฺโพ อนฺตมโส สุญญาคาเร อภิรมามติ โย ภิกฺขุ ปาปิจฺโฉ อิจฺฉาปกโต อสนฺตํ อภูตํ อุตฺตริมนุสฺสธมฺมํ อุลลปติ ฌานํ วา วิโมกฺขํ วา สมาธิ วา สมาปตฺตึ วา มคฺคํ วา ผลํ วา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตติโย เสยฺยถาปิ นาม ตาโล มตฺถกจฺฉินฺโน อภพฺโพ ปุนวิรุฬฺหิยา เอวเมว ภิกฺขุ ปาปิจฺโฉ อิจฺฉาปกโต อสนฺตํ อภูตํ อุตฺตริมนุสสธมฺมํ อุลฺลปิตวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตติโย ตนฺเต ยาวชีวํ อกรณียนฺติ
อเนกปริยาเยน โข ปน เตน ภควตา ชานตา ปสฺสตา อรหตา สมฺมาสมฺพุทฺเธน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ยาวเทว ตสฺส มทนิมมทนสฺส ปิปาสวินยสฺส อาลยสมุคฺ ฆาตสฺส วฏฺฏปจฺเฉทสฺส ตณฺหกฺขยสฺส วิราคสฺส นิโรธสฺส นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย
ตตฺถ สีลปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสํโส สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสฺสํสา ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ เสยฺยถีทํ กามาสวา ภวาสวา อวิชฺชาสวา
ตสฺมาติห เต อิมสฺมึ ตถาคตปฺปเวทิเต ธมฺมวินเย สกฺกจฺจํ อธิสีลสิกฺขา สิกฺขิตพฺพา อธิจิตฺตสิกฺขา สิกขิตพฺพา อธิปญฺญาสิกฺขา สิกฺขิตพฺพา ตตฺถ อปฺปมาเทน สมฺปาเทตพฺพํ ฯ
พระใหม่รับว่า อาม ภนฺเต แล้วลุกขึ้นนั่งคุกเข่ากราบสามครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีในการบวช
ลำดับพิธีบรรพชาอุปสมบท
การลาญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ที่เคารพนับถือ เป็นเรื่องที่ผู้จะบวชพึงทำ วิธีปฏิบัติคือ ให้เตรียมกระทงดอกไม้มีกรวยครอบ พร้อมธูปเทียนแพวางลงบนพาน เมื่อไปถึงผู้ที่จะรับการลา ก็เข้าไปกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง เปิดกรวยกระทงดอกไม้แล้วยกขึ้นประคองต่อหน้าผู้รับการลาพร้อมกับกล่าวคำขอขมาว่า
"กรรมใดที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินต่อท่าน ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ทั้งต่อหน้า และลับหลัง ทั้งที่รู้และไม่รู้ เพื่อความบริสุทธิ์แห่งเพศพรหมจรรย์ ขอท่านโปรดอโหสิกรรมนั้นแก่ข้าพเจ้าด้วย เทอญ"
ญาติผู้ใหญ่จะเอื้อมมือมาแตะพาน แล้วกล่าวว่า
"สาธุ ข้าพเจ้ายินดีอโหสิกรรมให้เธอทุกอย่าง และขอให้เธอจงอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้าขออนุโมทนาต่อท่านที่ได้บวชในพระพุทธศาสนา ทดแทนคุณบิดามารดา และจงเป็นศาสนทายาท สืบต่อพระพุทธศาสนาด้วยดีในเพศพรหมจรรย์ เทอญ"
จบแล้วนาคจึงเอาพานวางที่พื้น กราบเบญจางคประดิษฐ์อีกสามครั้ง แล้วนั่งพับเพียบ เมื่อสนทนาพอสมควรแก่เวลาแล้ว บอกลาท่าน ท่านจะมอบพานดอกไม้ เทียนแพคืนให้ เพื่อจะได้นำไปใช้ลาท่านผู้อื่นต่อไป
การปลงผม ถ้าในงานบวชนาคนั้นมีพิธีทำขวัญนาคด้วย ก็จะปลงผมก่อนวันบวชหนึ่งวัน แล้วนุ่งขาวห่มขาวเข้าพิธีทำขวัญนาค ถ้าไม่มีการทำขวัญนาคก็จะปลงผมในวันบวช โดยพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ หรือพระภิกษุที่คุ้นเคยเป็นผู้ขลิบปลายผมให้ก่อนเป็นพิธี ต่อจากนั้นก็ให้ผู้ทีโกนผมเป็นโกนผม หนวด เครา คิ้ว ให้หมดจด อาบน้ำแล้ว นุ่งขาวห่มขาว เตรียมเข้าโบสถ์เพื่อทำพิธีบรรพชาอุปสมบทต่อไป
การนำนาคเข้าโบสถ์ ตามประเพณีนิยม มักปลงผมนาค และทำขวัญนาคที่บ้านของเจ้านาค วันรุ่งขึ้นจึงมีขบวนแห่ไปยังวัด แล้วแห่นาคไปยังโบสถ์ เวียนโบสถ์สามรอบแบบทักษิณาวรรต พร้อมด้วยเครื่องอัฏฐบริขารที่ใช้ในการบวช และของที่ถวายพระ จนครบแล้วจะให้นาคมาวันทาสีมา ส่วนเครื่องอัฏฐบริขาร และของถวายพระ จะนำไปตั้งในโบสถ์ก่อน การวันทาสีมา นาคจะจุดธูปเทียนที่เสมาหน้าโบสถ์ แล้วนั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวคำวันทาสีมา ดังนี้ แบบที่หนึ่ง อิมินา สกฺกาเร พทฺธเสมายํ พุทฺธํ อภิปูชยามิ
อิมินา สกฺกาเร พทฺธเสมายํ ธมฺมํ อภิปูชยามิ
อิมินา สกฺกาเร พทฺธเสมายํ สงฺฆํ อภิปูชยามิ
แล้วกราบปักดอกไม้ ธูปเทียน ณ ที่จัดไว้ แบบที่สอง อุกาส วนฺทามิ ภนฺเต สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต มยา กตํ ปญฺญํ สามินา
อนุโมทิตพฺพํ สามินา กตํ ปุญญํ มยฺหํ ทาตพฺพํ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
แล้วกราบ ปักดอกไม้ธูปเทียน ณ ที่จัดไว้

เมื่อวันทาเสมาเสร็จแล้ว นำนาคมาที่หน้าโบสถ์ นาคจะโปรยทาน เสร็จแล้วจึงจูงนาคเข้าโบสถ์ โดยบิดาจูงมือข้างขวา มารดาจูงมือข้างซ้าย พวกญาติคอยจับชายผ้าตามส่งข้างหลัง นาคต้องก้าวข้ามธรณีประตูห้ามเหยียบเป็นอันขาด เมื่อพ้นประตูไปแล้วให้เดินตรงไปที่พระปรธาน ไหว้พระประธานโดยใช้ดอกไม้ธูปเทียนอีกหนึ่งกำนำไปจุดธูปเทียนบูชาพระประธาน ใช้คำบูชาพระเหมือนคำวันทาเสมาข้างต้น แล้วกลับมานั่ง ณ ที่ซึ่งจัดไว้แถวผนังด้านหน้าของโบสถ์
พิธีบรรพชาอุปสมบท เมื่อถึงกำหนด พระสงฆ์ที่ได้รับอาราธนาในพิธีบวชมีพระอุปัชฌาย์ พระคู่สวดและพระอันดับจะเข้าอุโบสถ นั่งตามแผนผังที่คณะสงฆ์กำหนด พิธีเริ่มโดยพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือญาติผู้ใหญ่เข้ามานั่งข้างหน้านาค เพื่อจะมอบผ้าไตรให้นาคเข้าทำพิธีบวชต่อพระสงฆ์ต่อไป ซึ่งปฏิบัติเช่นเดียวกับวิธีซ้อมขานนาคที่กล่าวมาแล้ว เมื่อพระอุปัชฌาย์บอก อนุศาสน์เสร็จแล้ว เจ้าภาพ ญาติมิตรถวายของพระอันดับ พระใหม่ถวายพระอาจารย์คู่สวดอีกหนึ่งรูปที่ยังมิได้ถวาย
ต่อจากนั้นพระอุปัชฌาย์จะบอกให้พระใหม่มานั่งรับประเคนของบริวารบวชที่ด้านหน้า พระใหม่จะออกมานั่งพับเพียบอยู่ท้ายอาสนสงฆ์ ทอดผ้ากราบไว้ข้างหน้า หากผู้ชายประเคนก็รับของด้วยมือ หากเป็นผู้หญิงก็จับผ้ากราบไว้ โยมผู้หญิงจะวางบนผ้ากราบ เมื่อรับของประเคนหมดแล้ว ให้กลับนั่งหันหน้ามาทางพระสงฆ์ เตรียมกรวดน้ำ

การกรวดน้ำ เมื่อเสร็จการรับประเคนแล้ว พระใหม่และพ่อแม่หรือผู้ปกครอง หรือเจ้าภาพในการบวชครั้งนี้ จะกรวดน้ำโดยใช้เต้ากรวดน้ำคนละที่ เมื่อพระอุปัชฌาย์ซึ่งเป็นประธานสงฆ์ในที่นั้น เริ่มบทอนุโมทนาว่า ยถา วารีวหา ปูร ....พระใหม่และญาติที่เป็นเจ้าภาพก็จะกรวดน้ำพร้อมกัน เมื่อขึ้นบท สพฺพีติโย.... ก็กรวดน้ำหมดเต้าพอดี นั่งพนมมือรับพรจากพระสงฆ์ เสร็จแล้วพระใหม่กราบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีการบวช หลังจากนั้นพระพี่เลี้ยงจะนำพระใหม่ขึ้นจากโบสถ์ พระใหม่ควรสะพายบาตรด้วยไหล่ขวา มือซ้ายถือพัด ส่วนของอื่นให้ผู้อื่นถือไป พระพี่เลี้ยงจะนำออกทางประตูหน้า
คำขอบรรพชาอุปสมบทใหม่ (สำหรับนาคคนเดียว)

เอสาหํ ภนฺเต สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ , ตํ ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉามิ , ธมฺมญฺจ ภิกขุสงฺฆญฺจ , ลเภยฺยาหํ ภนฺเต ตสฺส ภควโต ธมฺมวินเย , ปพฺพชฺชํ ลเภยฺยํ อุปสมฺปทํ
ทุติยมฺปิ....
ตติยมฺปิ...
อหํ ภนฺเต ปพฺพชฺชํ ยาจามิ , อิมานิ กาสายานิ วตฺถานิ คเหตฺวา ปพฺพาเชถ มํ ภนฺเต อนุกมฺปํ อุปาทาย
ทุติยมฺปิ....
ตติยมฺปิ...
ตจปัญจกัมมัฏฐาน โดยอนุโลม เกษา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ
โดยปฏิโลม ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกษา
คำขอสรณาคมน์และศีล อหํ ภนฺเต สรณสีลํ ยาจาม
ทุติยมฺปิ.....
ตติยมฺปิ.....
บทนมัสการ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (สามหน)
พระอาจารย์กล่าวว่า ยมฺหํ วทามิ ตํ วเทหิ
ผู้บรรพชากล่าวรับว่า อาม ภนฺเต
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆงฺ สรณํ คจฺฉามิ
ทุติยมฺปิ.....
ตติยมฺปิ.... พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ พระอาจารย์ว่า ติสรณคมนํ นิฏฺฐิตํ
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ผู้บรรพชารับว่า อาม ภนฺเต
ศีลสิบ ปาณาติ ปาตา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ฯลฯ
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ชาตรูปรชตปฏิคฺคหณา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
คำขอนิสสัย อหํ ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ
ทุติยมฺปิ .....
ตติยมฺปิ.......
อุปชฺชาโย เม ภนฺเต โหหิ (ว่าสามหน) พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า ปฏิรูปํ
ผู้บรรพชากล่าวรับว่า สาธุ ภนฺเต
พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า โอปายิกํ
ผู้บรรพชากล่าวรับว่า สาธุ ภนฺเต
พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า ปาสาทิเกน สมฺปาเทหิ
ผู้บรรพชากล่าวรับว่า สาธุ ภนฺเต
อชฺชตคฺเคทานิ เถโร มยฺหํ ภาโร อหมฺปิ เถรสฺส ภาโร (ผู้บรรพชาว่าสามครั้ง)
คำบอกสมณบริขาร พระอุปัชฌาย์บอกว่า อยนฺเต ปตฺโต ผู้บรรพชารับว่า อาม ภนฺเต
พระอุปัชฌาย์บอกว่า อยํ สงฺฆาฏิ ผู้บรรพชารับว่า อาม ภนฺเต
พระอุปัชฌาย์บอกว่า อยํ อุตตราสงฺโค ผู้บรรพชารับว่า อาม ภนฺเต
พระอุปัชฌาย์บอกว่า อยํ อนฺตราวาสโก ผู้บรรพชารับว่า อาม ภนฺเต
คจฺฉ อมุมฺหิ โอกาเส ติฏฐานิ
คำขานนาค พระคู่สวดว่า กุฏฐํ นาคขานว่า นตฺถิ ภนฺเต
พระคู่สวดว่า คณฺโฑ นาคขานว่า นตฺถิ ภนฺเต
พระคู่สวดว่า กิลาโส นาคขานว่า นตฺถิ ภนฺเต
พระคู่สวดว่า โสโส นาคขานว่า นตฺถิ ภนฺเต
พระคู่สวดว่า อปมาโร นาคขานว่า นตฺถิ ภนฺเต
พระคู่สวดว่า มนุสโสสิ นาคขานว่า นตฺถิ ภนฺเต
พระคู่สวดว่า ปุริโสสิ นาคขานว่า นตฺถิ ภนฺเต
พระคู่สวดว่า ภูชิสฺโสสิ นาคขานว่า นตฺถิ ภนฺเต
พระคู่สวดว่า อนโณสิ นาคขานว่า นตฺถิ ภนฺเต
พระคู่สวดว่า นสิ ราชภโฏ นาคขานว่า นตฺถิ ภนฺเต
พระคู่สวดว่า อนุญฺญาโตสิ มาตาปิตูหิ นาคขานว่า นตฺถิ ภนฺเต
พระคู่สวดว่า ปริปุณณวีสติวสฺโสสิ นาคขานว่า อหํ ภนฺเต (ปญฺญาธโร นาม)
พระคู่สวดว่า กินฺนาโมสิ นาคขานว่า นตฺถิ ภนฺเต
พระคู่สวดว่า โก นาม เต อุปชฺฌาโย นาคขานว่า อุปชฺฌาโย เม ภนฺเตอายสฺมา (ติสฺสเทโว นาม)
คำขออุปสมบท
สงฺฆมฺภนฺเต อุปสมฺปทํ ยาจามิ , อุลฺลุมฺปตุ มํ ภนฺเต สงฺโฆ , อนุกมฺปํ อุปาทาย
ทุติยมฺปิ......
ตติยมฺปิ......

 

บุพพกิจสำหรับภิกษุใหม่

 

กิจเบื้องต้นที่พระบวชใหม่จะต้องกระทำคือการพินทุกัปปะ กับการอธิษฐานเครื่องบริขาร โดยพระพี่เลี้ยงจะแนะนำให้ คือ
การทำพินทุกัปปะ เป็นธรรมเนียมของพระภิกษุว่า จะต้องทำเครื่องนุ่งห่ม ของใช้บางอย่างให้ถูกต้องตามพระวินัยเสียก่อนจึงจะนำไปใช้ได้ เป็นหน้าที่พระอุปัชฌาย์จะแนะนำ หรือมอบหมายให้พระรูปหนึ่งเป็นพี่เลี้ยงแนะนำการทำพินธุกัปปะให้ การทำพินธุกัปปะต้องใช้ดินสอดำหรือสีดำ ทำจุดให้เป็นวงกลมหรือเลขศูนย์เล็ก ๆ โดยใช้ดินสอลากลงไปที่มุมใดมุมหนึ่ง พอเป็นที่สังเกต พร้อมกับเปล่งคำว่า อิมํ พินทุกัปปํ กโรมิ
เมื่อทำการพินทุกัปปะแล้วต้องทำการอธิษฐานบริขารนั้นด้วย จึงจะใช้ได้ บริขารที่กำหนดให้อธิษฐาน เช่น ไตรจีวร บาตร ผ้าปูนั่ง เป็นต้น ควรแยกอธิษฐานเป็นอย่าง ๆ ไป มีคำอธิษฐาน ดังนี้ ผ้าสังฆาฏิ อธิษฐานว่า อิมํ สงฺฆาฏึ อธิษฐานมิ

ผ้าอุตตราสงค์ (จีวร) อธิษฐานว่า อิมํ อุตฺตราสงฺตํ อธิษฐานมิ
ผ้าอันตรวาสก (สบง) อธิษฐานว่า อิมํ อนฺตรวาสกํ อธิษฐานมิ
บาตร อธิษฐานว่า อิมํ ปตฺตํ อธิษฐานมิ
ผ้าปูนั่ง อธิษฐานว่า อิมํ นิสีทนํ อธิษฐานมิ
ผ้าปูที่นอน อธิษฐานว่า อิมํ ปจฺจถรณํ อธิษฐานมิ
ผ้าอาบน้ำฝน อธิษฐานว่า อิมํ วสฺสิกสาฏิกํ อธิษฐานมิ

เนื้อที่พระภิกษุฉันไม่ได้ มีสิบอย่าง ชาวบ้านไม่ควรถวาย คือ เนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อสุนัข เนื้องู เนื้อราชสีห์ เนื้อหมี เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือดาว และเนื้อเสือเหลือง
พระภิกษุใหม่จะต้องอยู่ปฏิบัติพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ และเล่าเรียนพระธรรมวินัยอย่างจริงจัง เพื่อจะได้ปฏิบัติตามกิจของสงฆ์ตาม พระธรรมวินัยได้อย่างถูกต้อง ให้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามคติของพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ให้สมกับที่ได้เข้ามาบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา