พระราชลัญจกร

พระราชลัญจกร คือตราที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้ประทับ กำกับพระปรมาภิไธยและประทับกำกับเอกสารสำคัญ ที่ออกในพระปรมาภิไธย เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงพระราชอำนาจ และพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินหรือประจำรัชกาลนั้น ยังเป็นเครื่องมงคลอีกด้วย ดังที่ปรากฎอยู่ในหมวดพระราชสิริซึ่งประกอบด้วย พระสุพรรณบัตร ดวงพระราชสมภพและ พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน ซึ่งจะต้องเชิญขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พร้อมกับเครื่องมงคลอื่น ๆ

พระราชลัญจกรมี ๔ ประเภท คือ


. พระราชลัญจกรสำหรับแผ่นดิน ใช้ประทับกำกับเอกสารสำคัญที่ออกในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
เช่น พระราชลัญจกรมหาโองการ พระราชลัญจกรไอยราพต
. พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน หรือประจำรัชกาล ใช้ประทับกำกับพระบรมนามาภิไธยในเอกสารสำคัญ
. พระราชลัญจกรประจำพระองค์ ใช้ประทับกำกับพระบรมนามาภิไธย ในเอกสารสำคัญส่วนพระองค์
ที่ไม่เกี่ยวด้วยราชการแผ่นดิน
. พระราชลัญจกรประจำเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ ใช้ประทับประกาศนียบัตรเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ตามที่
กำหนดไว้

พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์

 

เป็นพระราชลัญจกรที่ใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรีก็ยังคงใช้ต่อเนื่อง นอกจากนั้น
บรรดา เจ้าประเทศราชในสมัยกรุงธนบุรีก็ยังได้รับพระราชทานตราครุฑพ่าห์จำลองไปใช้ในราชการอีกด้วย
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงใช้พระราชลัญจกรองค์นี้เป็นพระราชลัญจกรสำหรับแผ่นดิน ในการผนึก
พระราชสาส์นและหนังสือสัญญากับนานาประเทศ เช่นเดียวกับพระราชลัญจกรสำหรับแผ่นดินองค์อื่น ๆ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นโดยที่ยังไม่มี
พระปรมาภิไธยรอบพระลัญจกร
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้า ฯ ให้ใช้พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์
เป็นพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินเป็นการถาวร โดยให้เพิ่มพระปรมาภิไธยประจำรัชกาลที่ขอบรอบพระราช
ลัญจกร ได้ทรงตราพระราชบัญญัติพระราชลัญจกร ร.ศ.๑๓๐ (พ.ศ.๒๔๕๔) ให้พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์
ประจำแผ่นดินองค์ใหม่ ใช้ประทับกำกับพระบรมนามาภิไธยเท่านั้น ดังนั้นพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์
อันเป็นพระราชลัญจกรสำหรับแผ่นดินมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จึงเปลี่ยนเป็นพระราชสัญจกรประจำแผ่นดิน
ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชลัญจกร
ประจำพระองค์ พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ประจำแผ่นดิน สำหรับองค์หลังได้ทรงสร้างขึ้นเมื่อ วันที่ ๒๑
เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

 

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๑


เป็นรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ
"อุ" อยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็น
พฤกษชาติที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา
ตราอุณาโลมมีรูปร่างคล้ายสังข์เวียนขวา
อยู่ในกรอบลายกนก เริ่มใช้คราวพระราช
พิธีบรมราชาภิเษก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๒

เป็นรูปครุฑยุดนาค เป็นพระราช
สัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า
"ฉิม" อันหมายถึงพญาครุฑในวรรณคดี
ไทย ซึ่งอยู่ที่วิมานชื่อ ฉิมพลี

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๓

เป็นรูปปราสาท เป็นพระราช
สัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย
ว่า "ทับ" อันหมายถึง ที่อยู่ หรือ
เรือน

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๔

เป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ
ในกรอบรูปกลมรี เป็นพระราช
สัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย
ว่า "มงกุฎ" มีฉัตรตั้งขนาบพระ
มหาพิชัยมงกุฎทั้งสองข้าง มีพาน
ทองสองชั้นวางแว่นสุริยกาลหรือ
เพชรข้างหนึ่ง วางสมุดตำราข้างหนึ่ง
พระแว่นสุริยกาลหรือเพชร มาจาก
ฉายาเมื่อทรงผนวชว่า "วชิรญาณ"
ส่วนสมุดตำรามาจากการที่ได้ทรง
ศึกษาและมีความเชี่ยวชาญในด้าน
อักษรศาสตร์และดาราศาสตร์

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๕


เป็นรูปพระจุลมงกุฎเปล่งรัศมี
บนพานแว่นฟ้า เป็นสัญลักษณ์ของ
พระบรมนามาภิไธย "จุฬาลงกรณ์"
มีฉัตรตั้งขนาบข้าง ริมขอบสองข้าง
มีแว่นสุริยกานต์ข้างหนึ่ง กับสมุด
ตำราข้างหนึ่งวางอยู่บนพานแว่นฟ้า

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๖


เป็นรูปวชิราวุธ ยอดมีรัศมี
ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า
ซึ่งตั่งอยู่เหนือตั่ง มีฉัตรกลีบ
บัวตั้งอยู่สองข้างเป็นสัญลักษณ์
พระบรมนามาภิไธย "วชิราวุธ"
หมายถึง อาวุธของพระอินทร์

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๗

เป็นรูปพระแสงศร ๓ องค์ คือ
พระแสงศรพรหมมาสตร์ พระแสงศร
ประลัยวาต และพระแสงศรอัคนีวาต
บนราวพาดพระแสง เหนือขึ้นไปเป็น
ดวงตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ ภายใต้
พระมหาพิชัยมงกุฎ ด้านซ้ายและขวา
ตั้งบังแทรก มีลายกนกแทรกอยู่ บนพื้น
ตอนบนของดวงตรา พระแสงศร ๓ องค์
นี้เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรม
นามาภิไธย "ประชาธิปกศักดิเดชน์"
"เดชน์" แปลว่า ลูกศร

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๘

เป็นรูปพระโพธิสัตว์ประทับ
บนบัลลังก์ดอกบัว พระบาทขวาห้อย
อยู่เหนือบัวบานอันหมายถึง แผ่นดิน
พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม มีเรือนแก้ว
อยู่ด้านหลังแถบรัศมี มีฉัตรอยู่สองข้าง
เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรม
นามาภิไธยว่า "อานันทมหิดล" แปลว่า
เป็นที่ยินดีของแผ่นดินประหนึ่งพระโพธิ
สัตว์เสด็จมาประทานความร่มเย็นเป็นสุข
แด่ประชาราษฎรทั้งปวง

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๙


เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ
ประกอบด้วยวงจักร มีอักษร อุ
หรือเลข ๙ อยู่กลางวงจักร รอบ
วงจักรมีรัสมีเปล่งออกโดยรอบ
มีรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้น อยู่เหนือจักร
ฉัตรตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ
หมายถึง ทรงมีพระบรมเดชา
นุภาพในแผ่นดิน