ประวัติมหาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนสุนันทา ได้เป็นที่ประทับของพระมเหสี พระราชธิดา และ เจ้าจอมมารดา ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 32 ตำหนัก รวมทั้งอาคารที่พักของบรรดา ข้าราชบริพาร โดยมี พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา ประทับ ณ ตำหนักสายสุทธานพดล ตั้งแต่ พ.ศ. 2467 ปัจจุบันมีสภาพ ใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุด อยู่ 6 ตำหนัก เนื่องจากมีผู้นำบุตรี และ หลานของตน มาถวายตัวต่อ พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎปิยมหาราชปดิวรัดา เป็นจำนวนมาก พระวิมาดาเธอฯ จึงทรงให้สร้าง โรงเรียนนิภาคาร สอนตาม หลักสูตร การศึกษาสมัยนั้น รวมทั้งอบรม มารยาท และ การฝีมือด้วย ดำเนินกิจการ ไปโดยปริยาย
พ.ศ. 2480 ในรัชกาล พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ดำริที่จะให้เป็น ที่พักอาศัยของ นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และ สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร แต่ คณะรัฐมนตรีลงมติ ให้ใช้สถานที่นี้ ให้เป็นประโยชน์ ทางการศึกษา ของ รัฐกระทรวงธรรมการ จึงได้จัดตั้ง ให้เป็นสถานศึกษา สำหรับกุลสตรี ชื่อ โรงเรียน สวนสุนันทาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2480 ตั้งแต่วันนั้น จนถึงปัจจุบัน สวนสุนันทาพัฒนา ด้านการศึกษา ต่อเนื่อง มีสาระสำคัญ สรุปได้โดยลำดับดังนี้
พ.ศ. 2480 เริ่มจัดการศึกษา 2 แผน คือ แผนกสามัญ และ แผนกวิสามัญ แผนกสามัญ เปิดสอนตั้งแต่ ชั้นประถมปีที่ 1 ถึงมัธยมปีที่ 6 สำหรับ นักเรียนชั้น มัธยมปีที่ 7-8 นั้น รับโอนจาก โรงเรียนฝึกหัดครู เพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ โรงเรียน เบญจมราชาลัย โรงเรียน สตรีวิทยา และ โรงเรียน สตรีโชตเวช แผนกเลขานุการ สำหรับนักเรียน ประถมที่ 1 เท่านั้น ที่จัดเป็น สหศึกษา ส่วนแผนกวิสามัญ รับโอนนักเรียน ฝึกหัดครู ประถมหญิง จากโรงเรียน ฝึกหัดครู เพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ และ รับนักเรียน ที่จบชั้นมัธยมปีที่ 8 มาศึกษาหลักสูตร ประโยคครูประถม (ป.ป.)1 ปี มีทั้งประเภท นักเรียนนอกบำรุง คือ ผู้เรียนโดยทุนส่วนตัว และ นักเรียนในบำรุง คือผู้สอบได้ทุน กระทรวงธรรมการ
พ.ศ. 2481 งดสอนชั้นมัธยมปีที่ 8 และแบ่งการเรียน การสอนเป็น 3 แผนกคือ แผนก ประถมศึกษา แผนก มัธยมศึกษา และ แผนก ฝึกหัดครู พ.ศ. 2482 แผนก มัธยมศึกษา เหลือเพียง ชั้นมัธยมปีที่ 1-6 ส่วนแผนก ฝึกหัดครู เปิดสอนหลักสูตร ประโยคครูประถม (ป.ป.) 1 ปี รับจาก ผู้สำเร็จการศึกษา ชั้นมัธยมปีที่ 6 ให้มาเรียน แบบอยู่ประจำ ทั้งประเภทใน บำรุง และ นอกบำรุง
พ.ศ. 2483 แผนก ประถมศึกษา เปิดสอนชั้น เตรียมประถม แต่ปีต่อมาก็ยุบไป เปิดสอนที่ โรงเรียน ละอออุทิศ
พ.ศ. 2486 ขยายการรับ นักเรียนในบำรุง จากต่างจังหวัด ทกจังหวัด โดยจังหวัด เป็นผู้สอนคัดเลือก นักเรียนส่งเข้าม เรียนอยู่ประจำ จังหวัดละ 2 คน
พ.ศ. 2490 รับเฉพาะ นักเรียนในบำรุง มีทั้ง จากส่วนกลาง และ ส่วนภูมิภาค
พ.ศ. 2491 รับโอน นักเรียน ประถมจาก โรงเรียน ละอออุทิศ มาไว้
พ.ศ. 2495 เปิดสอน หลักสูตร ประโยคครูประถม แผนก การงานสันทัด เช่น งานประดิษฐ์ งามไม้ งานพิมพ์ งานไฟฟ้า งานเสื้อผ้า ฯลฯ
พ.ศ. 2496 เปิดสอน หลักสูตร ประโยคครูมัธยม (ป.ม.) 2 ปี แผนก การงานสันทัด รับจาก ผู้จบ ป.ป. การงานสันทัด
พ.ศ. 2498 เลิกหลักสูตร ป.ป. และ ป.ม. การงานสันทัด แล ะ เปิดสอน ฝึกหัดครู หลักสูตร ประกาศนียบัตร วิชาการศึกษา (ป.กศ.) 2 ปี รับจาก ผู้สำเร็จ การศึกษา ชั้นมัธยมปีที่ 6 เริ่มจากคิด คะแนน แบบหน่วยกิต แทนแบบร้อยละ
พ.ศ. 2500 เปิดสอน ฝึกหัดครู หลักสูตร ป.กศ. รอบบ่าย เพื่อแก้ไข ปัญหานักเรียน ที่สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 แล้ว ไม่มีที่เรียน รับ นักเรียน ฝึกหัดครูชาย เป็นครั้งแรก และ เริ่มมีนักเรียน ทั้ง ประเภท อยู่ประจำ และ ประเภท เดินเรียน เนื่องจาก ไม่มี หอ นอนเพียงพอ
พ.ศ. 2501 เปิดสอน ฝึกหัดครู หลักสูตร ประกาศนียบัตร วิชาการศึกษา ชั้นสูง (ป.กศ. ชั้นสูง ) รับจากผู้สำเร็จ การศึกษา ป.กศ. แล ะกระทรวง ศึกษาธิการ อนุมัติ ให้ยก ฐานะ โรงเรียน สวนสุนันทาวิทยาลัย เป็น วิทยาลัยครู สวนสุนันทา จัดการ เรียนการสอน เป็น 3 ฝ่ายคือ ฝ่ายอุดมศึกษา ฝ่ายมัธยมศึกษา และฝ่ายประถมสาธิต
พ.ศ. 2510 เปิดสอน ฝึกหัดครู หลักสูตร ป.ป. แบบเร่งรัด รับนักเรียน ที่สำเร็จชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 หรือ เทียบเท่า มาเรียน 1 ปี
พ.ศ. 2511 เปิดสอน ภาคนอกเวลา หลักสูตร ป.กศ. ด้วยในปี ต่อมา
พ.ศ. 2517 เปิดสอน ระดับ ปริญญาตรี 2 ปี โดยใช้ หลักสูตร ของ วิทยาลัย วิชาการศึกษา
พ.ศ. 2518 กระทรวง ศึกษาธิการ อนุมัติให้ วิทยาลัยครู สวนสุนันทา เป็น สถาบัน การศึกษา ระดับ อุดมศึกษา ตาม พระราชบัญญัติ วิทยาลัยครู แบ่ง สายงาน การปฏิบัติ ราชการ ออกเป็น - สำนักงานอธิการ - คณะวิชา - ภาควิชา และ ยังคงมี โรงเรียน ประถมสาธิต และมัธยมสาธิต เช่น เดิม
พ.ศ. 2519 สอนระดับ ปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี โดยใช้ หลักสูตร ของกรมการ ฝึกหัดครู
พ.ศ. 2520 งดรับนักศึกษา ภาคนอกเวลา
พ.ศ. 2521 เปิดรับ นักเรียน ระดับปริญญาตรี 2 ปี ตาม โครงการอบรมครู และ บุคลากร การศึกษา ประจำการ (อ.ค.ป.)
พ.ศ. 2523 เปิดสอน ระดับปริญญาตรี 4 ปี โดยรับจาก นักเรียนที่สำเร็จชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ก่อน พ.ศ. 2523 ) หรือ มัธยมปีที่ 6
พ.ศ. 2525 รับนักศึกษา ป.กศ. ชั้นสูง ภาคต่อเนื่อง และ ภาคสมทบ (แทนภาคนอกเวลาเดิม)
พ.ศ. 2526 เปิดสอน หลักสูตร เทคนิคอาชีพระดับ ป.กศ. ชั้นสูง 2 ปี รับจาก ผู้สำเร็จ มัธยมปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
พ.ศ. 2527 มี พระราชบัญญัติ วิทยาลัยครู ฉบับที่ 2 กำหนดให้ วิทยาลัยครู เปิดสอนได้ 3 สาขา คือ สาขาวิชาการศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์ สาขาศิลปศาสตร์ ทั้งระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี 4 ปี และ ปริญญาตรี หลังอนุปริญญา วิทยาลัยครูสวนสุนันทา ยังเปิดสอน ระดับอนุปริญญ วิทยาศาสตร์ 8 วิชาเอก และ อนุปริญญา ศิลปศาสตร์ 4 วิชาเอก
พ.ศ. 2528 เลิกโครงการ อ.ค.ป. เปลี่ยนเป็น โครงการอบรม การศึกษาบุคลากร ประจำ (กศ.บป.) สอน ทั้งระดับอนุปริญญา และปริญญาตรี สาขา วิชาการศึกษา และ สาขาวิชาการอื่น ใน กรุงเทพมหานคร เป็น สหวิทยาลัย รัตนโกสินทร์
พ.ศ. 2529 เปิด สอนระดับ ปริญญาตรี หลักสูตร ปริญญาตรี 4 ปี และ ปริญญาตรี หลัง อนุปริญญา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ เพิ่มเติมจาก สาขาวิชาการศึกษา ที่มีอยู่เดิม
พ.ศ. 2530 สภาการ ฝึกหัดครู ได้พัฒนาหลักสูตร ทุกระดับ และ ทุกสาขาวิชา วิทยาลัยจึงเปิดสอนหลักสูตรใหม่นี้
พ.ศ. 2534 สภาการฝึกหัดครู อนุมัติ โปรแกรม วิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ และ โปรแกรม วิชาวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี การอาหาร วิทยาลัย จึงเปิดรับนักศึกษา ในโปรแกรม ดังกล่าว
พ.ศ. 2535 วิทยาลัยครู ได้รับพระราชทานนาม จากพระบาทสมเด็จพร ะเจ้าอยู่หัว เป็น สถาบันราชภัฏ
พ.ศ. 2538 ถึง ปัจจุบัน วิทยาลัยครู ได้เปลี่ยนเป็น สถาบันราชภัฏ โดยได้ตรา เป็น พระราชบัญญัติ ซึ่ง พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงลง พระปรมาภิไธย ในวันที่ 19 มกราคม 2538 ในปัจจุบัน สถาบันราชภัฏ สวนสุนันทา เปิดสอน ภาคปกติ และ ภาค กศ.บป. ในระดับ อนุปริญญา และ ปริญญาตรี 3 สาขาวิชา ได้แก่ 1. สาขา ศึกษาศาสตร์ เปิดสอน 16 โปรแกรมวิชา 2. สาขา วิชาวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี เปิดสอน 11 โปรแกรมวิชา 3. สาขา ศิลปศาสตร์ เปิดสอน 14 โปรแกรมวิชา ทั้งยังมี การบริการ วิชาการแก่บุคคลทั่วไป หลายโดครงการ เช่น โครงการ อบรมภาษาอังกฤษ อบรมภาษาญี่ปุ่น อบรมการถ่ายภาพ อบรมคอมพิวเตอร์ อบรมนาฎศิลป์ ซัมเมอร์แคมป์ อบรมการพิมพ์ การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร
ปรัชญา
ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม
วิสัยทัศน์
มหาวิทยาลัยคุณภาพชั้นนำ เพื่อความเป็นไทของปวงชน
พันธกิจ สถาบันมีภารกิจในการ
1. ผลิตบัณฑิตทุกสาขาตามความต้องการของสังคม
2. ผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพ
3. สร้างองค์ความรู้เพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษย์
4. พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยเชื่อมโยงภูมิปัญญาท้องถิ่นกับสากล
5. บริการความรู้และวิทยาการเพื่อความสันติและยั่งยืนของสังคม
6. อนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมไทยให้เอื้อต่อสังคมโลก
7. อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิตของทุกคน
|