ครูมิใช่ช่างปั้นอันวิจิตร
แต่ต้องคิดวาดวางกางแผนผัง
ครูมิใช่นายทุนหนุนกำลัง
ต้องเก็งทั้งขาดทุนตุนกำไร
ครูมิใช่พ่อค้านายพาณิชย์
ดีดลูกคิดคาดการณ์ด้านไหนไหน
แต่ยังเป็นผู้ค้าอย่างเต็มใจ
ยอมขาดทุนตลอดไปชั่วนิรันดร์
ครูมิใช่นักปกครองช่ำชองศึก
แต่ก็คึกคะนองปกป้องขั้น
ครูมิใช่นักวิชาการเชี่ยวชาญครัน
แต่โชกโชนด้วยผูกพันวิชาการ
ครูมิใช่นักแสดงโลกแสงสี
แต่สวมบททุกที่ด้วยอาจหาญ
ครูมิใช่ผู้กำกับผู้บงการ
แต่เฉียบขาดในแผนงานการบัญชา

ครูมิใช่นักพากย์ฝีปากจัด
แต่สัมผัสการพากย์ยากจะหา
ครูมิใช่ผู้ทรงศีลธรรมจรรยา
แต่เมตตาแผ่เผื่อเกื้อการุณย์
นี่แหละครูเป็นได้หลายสถาน

ทุกเหตุการณ์ช่วยฉุดช่วยอุดหนุน
ช่วยเผื่อแผ่แก้ไขช่วยค้ำจุน
ผู้มีคุณเปี่ยมแปรอย่างแท้จริง

* ผู้สร้างคน *
เป็นแสงธรรมนำทางสร้างชีวิต
เป็นผู้คิดสื่อสารงานศึกษา
เป็นผู้รู้ประสิทธิ์วิทยา
เป็นศาสตราคอยคุ้มครองผองเด็กไทย
ป็นแม่พิมพ์กำหนดบทบาทศิษย์
เป็นผู้ชี้แนวชีวิตที่ฝันใฝ่
เป็นผู้นำพาชาติปราศพิษภัย
ค่ายิ่งใหญ่เกินกล่าวขานคืองานครู

การไหว้ครูคิดถึงครูผู้สอนสั่ง
คุณครูยังฝังจิตศิษย์ไม่หาย
ด้วยมุ่งหมายให้ศิษย์ดีมีวิชา
การไหว้ครูคิดถึงครูเหนื่อยใจกาย
ดัวยมุ่งหมายให้ศิษย์ดีมีวิชา
การไหว้ครูคิดถึงครุผู้เมตตา
เจตนาเรามั่นในคุณครู
นับแต่นี้ศิษย์ฝึกตนตั้งต้นใหม่
สำรวมกายวาจาให้แน่นหนา
ไม่ให้ผิดต่อคุณครูผู้เมตตา
ขอสัญญาพุทธบุตรหยุดต่ำทราม

ศิลปทั้งผองต้องฝึกหัด
ตามบรรทัดฐานเห็นเป็นปฐม
วาทศิลป์เลิศล้ำคำนิยม
คมเหนือคมอาวุธใดในปฐพี
ครูอาจารย์การพูดพิสูจน์แล้ว
อันดวงแก้วแจ่มจำรัสรัศมี
แต่แรกมัวสลัวฝ้าเหมือนราคี
เช็ดขัดดีขึ้นมาจึงน่ายล

“ชีวิตของคนเรานั้น…ไม่ยาวเลย
สู้ก้อนกรวดก้อนหินยังไม่ได้
เกิดมาทั้งที ตั้งเข็มทิศให้กับชีวิต
กำหนดทิศทางของตัวเองให้ชัดเจน
จะเดินไปสู่จุดไหน ค้นหาตังเองให้ชัดเจน
จะเดินไปสู่จุดไหน ค้นหาตัวเองให้เจอ
และพยายามดำเนินมุ่งไปสู่จุดนั้นให้ได้
และที่สำคัญอย่าประมาท…
อย่าหลงตัวเองและอย่าหยุดยั้งการศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา”

อยู่อย่างไร
อยู่อย่างสัตว์นรก
อยู่อย่างอสูรกาย
อยู่อย่างเปรต
อยู่อย่างสัตว์เดรัจฉาน
อยู่อย่างมนุษย์
อยู่อย่างเทพ พรหม
อยู่อย่างพระอริยะ


คนทำงาน
พัฒนางาน
ทำงานด้วยความหลง = นรก
ทำงานด้วยความโลภ = เปรต
ทำงานด้วยความกลัว = อสูรกาย
ทำงานด้วยการบังคับ = เดรัจฉาน
ทำงานด้วยหน้าที่ = มนุษย์
ทำงานด้วยความดี = อริยบุคคล
- หัวไว - หันดูทีท่า
- ใจสู้ - เบิ่งตาลังเล
- หันเหหัวดื้อ
- งอมือจับเจ่า
-ไม่เอาไหนเลย
เป้าหมาย
ตนเอง ญาติ ชาวโลก


คนที่ไม่ต้องการ
คนพาลชอบเดินผิดทาง
วางผิดที่ ดีผิดทำ
กล้าผิดถิ่น กินผิดของ
มองผิดจุด หยุดผิดกาล
ค้านผิดเรื่อง เฟื่องผิดวัย ใหญ่ผิดวัด


หน้าที่ของครู
การศึกษาเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญยิ่งของมนุษย์ คนเราเมื่อเกิดมาก็ได้รับการสั่งสอนจากบิดามารดาอันเป็นความรู้เบื้องต้น เมื่อเจริญเติบโตขึ้นก็เป็นหน้าที่ของครูและอาจารย์ สั่งสอนให้ได้รับวิชาความรู้สูงและอบรมจิตใจให้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม เพื่อจะได้ เป็นพลเมืองดีของชาติสืบต่อไป งานของครูจึงเป็นงานที่สำคัญยิ่ง ท่านทั้งหลายซึ่งจะออกไปทำหน้าที่เป็นครู จะต้องตั้งมั่นอยู่ในหลักศีลธรรม และพยายามถ่ายทอดวิชาความรู้แก่เด็กให้ดีที่สุดที่จะทำได้ นอกจากนี้ จงวางตนให้สมกับที่เป็นครุให้นักเรียนมีความเคารพนับถือ และเป็นที่เลื่อมใสไว้วางใจของผู้ปกครองนักเรียนด้วย
พระบรมราโชวาท
๑๓ ธันวาคม ๒๕๐๕


ผู้สร้างคน
เป็นแสงธรรมนำทางสร้างชีวิต
เป็นผู้คิดสื่อสารงานศึกษา
เป็นผู้รู้ประสิทธิ์วิทยา
เป็นศาสตราคอยคุ้มครองผองเด็กไทย
เป็นแม่พิมพ์กำหนดบทบาทศิษย์
เป็นผู้แนวชีวิตที่ฝันใฝ่
เป็นผู้นำพาชาติปราศพิษภัย
ค่ายิ่งใหญ่เกินกล่าวขานคืองาน ครู


แม่ปูสอนลูกลูกปู
แม่ปูสอนลูกปูดูอย่างแม่
ทั้งที่แท้ตัวเดินเกเที่ยวเฉไฉ
ลูกจะเดินตรงทางอย่างไร
จะสอนใครเริ่มต้นสอนตนเอง !


ครูดี ๔ คุณลักษณะ
๑. รูปดี (รูปัปฺปมาณิกฺ )
๒. เสียงดี ( โฆสัปฺปมาณิกฺ )
๓. ประพฤติดี ( ลูขัปฺปมาณิกฺ )
๔. รู้ดี (ธัมฺมัปฺปมาณิกฺ )

เปิดของที่ปิด
หงายของที่คว่ำ
บอกทางแก่คนหลงทาง
จุดประทีปในความมืด
โวหาร ๔
๑. เทศนาโวหาร
๒. พรรณนาโวหาร
๓. สาธกโหาร
๔. อุปมาโวหาร

ศิษย์ ๔ ชนิด
๑. หัวไวใจสู้ - บัวพ้นน้ำ
๒. รอดูจังหวะ - บัวปริ่มน้ำ
๓. พอจะแนะนำ - บัวในน้ำ
๔. ต้อยต่ำจำยอม - บัวติดตม
( บัว ๔ เหล่า )

รักโรงเรียนเหมือนบ้าน
รักงานสอนเหมือนชีวิต
รักลูกศิษย์เหมือนลูกจริง

 

วิธีการสอน
๑. ชี้หลัก - สันทัสฺสนา - วิชาการ
๒. ชักชวน - สมาทปนา - พิธีกรรม
๓. ปลุกใจ - สมุตฺเตชนา - เกม
๔. ให้เพลิน - สัมฺปหังสนา - เพลง
( ๔ ส. )
๑. รู้จักเลือกที่สอน
๒. รุ้จักเลือกอุปกรณ์
๓. รู้จักเลือกคนสอน
๔. รู้จักเลือกเรื่องสอน
( ๔ สบาย )

หลักการสอน
๑. ปริยัติ ๐ สอนให้รู้จัก
๒. ปฏิบัติ ๐ สอนให้รู้จริง
๓. ปฏิเวธ ๐ สอนให้รู้แจ้ง
( เป้าหมาย )
๑.อิทธิปาฏิหาริย์๐ ปราบแล้วสอน
๒. อาเทสฺนาปากิหาริย์๐ ปลุกแล้วสอน
๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์๐ ประโลมสอน
(กลยุทธ์ )

พึ่งใคร
จะหวังพึ่งพ่อแม่ก็แย่จัด
จะพึ่งวัดพระก็แย่ยากแก้ไข
จะพึ่งครูครูก็เลวเหลวแหลกไป
จะพึ่งใครกันดีหนอ ?
( ท้อใจจริง ! )

นักสู้
นักสู้…ใครว่าเป็นกันได้ง่ายๆ มันต้องพร้อมทั้งใจและกายทีเดียว ทุคนมีทั้งความดีและความชั่วอยู่ในตัวด้วยกันทั้งนั้น เรามีหน้าที่เพียงทำเหตุเฉพาะหน้าให้ดีที่สุดเท่านั้น ส่วนผลก้จะเกิดขึ้นเองตามเหตุปัจจัย อย่าคิดว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นการทำเพื่อคนอื่น หรือ
เพราะคนอื่นไม่ทำ หรือเพราะคนอื่นใชให้ทำ ข้อสำคัญที่สุด อย่าคิดว่าที่ต้องทำหรือไม่ต้องทำนั้น เป็นเพราะคนอื่นจะพอใจหรือไม่พอใจ
ดังนั้นเป้าหมายของการเป็น นักสู้ คือ … ต้องหาทางออกที่ดีที่สุดให้ได้

ก้าวต่อไป
ก้าวต่อไปต่อไปอย่าได้หยุด
แม้สะดุดล้มลงไปอย่าใจฝ่อ
เป็นนักสู้ต้องสู้สิอย่ารีรอ
อย่าย่อท้อหนทางยาวที่ก้าวไป
โน่นจุดหมายปลายทางอยู่ข้างหน้า
จะเหินฟ้าข้ามเขาเอาให้ได้
มิหวั่นพลาดมิหวาดแพ้มิแคร์ภัย
มิหวั่นใจมิหวั่นจิตสักนิดเดียว

สังคมไทย
สังคมไทยจะดำรงคงอยู่ได้
เพราะคนไทยคอยปกปักเฝ้ารักษา
บำรุงชาติศาสน์กษัตริ์พัฒนา
รวมอาสาพัฒนาจิตใจไทยทั้งปวง
ปัญหาความยากจนคนยากไร้
ปัญหาความยากจนคนยากไร้
ปัญหาความเจ็บไข้ภัยใหญ่หลวง
ปัญหาศีลธรรมด้อยคอยหลอกลวง
น่าเป็นห่วงอนาคตหรือหมดทาง

แผ่นดินทอง
ต้องสร้างด้วย
แผ่นดินธรรม
ในแผ่นไทย
ที่มิใช่…
แผ่นดินทาส
ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้…
ไม่มีอะไรที่น่าเสียใจไปยิ่งกว่า…
การเสียเวลาไปทั้งวัน…
โดยตัวท่าน…
ไม่ได้ทำอะไรเลย…

* บันไดสู่ความเป็นดาว *
เตรียมให้พร้อม
ฝึกซ้อมให้ดี
ท่าทีให้สง่า
หน้าตาให้สุขุม
ทักที่ประชุมอย่าวกวน
เริ่มต้นให้โน้มน้าว
เรื่องราวให้กระชับ
ตาจับที่ผู้ฟัง
เสียงดังแต่พอดี
อย่ามีเอ้ออ้า
ดูเวลาพอครบ
สรุปจบให้จับใจ
ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดการพูด

อย่า…อย่า…อย่า
อย่าคิดว่าตัวท่านนั้นอ่อนแอ
หรือคิดแต่ท้อแท้และแพ้พ่าย
จงคิดว่าจะแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยไป
แกร่งทั้งกายและจิตใจไม่พรั่นพรึง
อย่าร้อนรนค้นหาความลำบาก
จนกว่าความทุกย์ยากจะมาถึง
ถ้าวิตกทุกข์ร้อนนอนรำพึง
เมื่อทุกข์ถึงทุกข์ทับทวีคุณ
อย่าแบกโลกเอาไว้ให้หนักบ่า
อย่ากลัวว่าอนาคตไม่สดใส
อยู่ให้สุขแต่ละวันผันผ่านไป
เก็บแรงใจไว้แก้ไขเมื่อภัยมา

ผู้นำ
นำรู้ นำทำ นำคิด คือชีวิตของเราผู้นำ
นำรู้ นำคิด นำทำ ๆ จะเป็นผู้นำต้องจำเอาไปคิด



นำตน นำคน นำงาน
พัฒนาการ สังคม เศรษฐกิจ
ทำอะไร อย่าให้หลงผิด ๆ
สำคัญที่จิตต้องมีคุณธรรม ( ซ้ำ )
ครองตน ครองคน ครองงาน
มีอุดุมการณ์อยู่เป็นประจำ
ทำอะไรอย่าให้ตกต่ำ ๆ
มีคุณธรรมประจำจิตใจ ( ซ้ำ )

 

แบ่งทำไม
แบ่งพวก ทำให้เสียรัก
แบ่งพรรค ทำให้เสียสามัคคี
แบ่งทั้งพวกทั้งพรรค เสียทั้ง
ความรักและความสามัคคี

จน ๔ อย่าง
๑. จนตรอกไม่มีทางไป
๒. จนใจไม่มีทางคิด
๓. จนแต้มไม่มีทางเดิน
๔. จนมุมไม่มีทางหนี

 

ผู้ชนะที่แท้จริง
ผู้ที่ชนะคนอื่นเป็น ๆ ในสงคราม
ไม่จัดว่าเป็นผู้ชนะที่แท้จริง
แต่ผู้ที่ชนะ (ใจ ) ตนเองได้
นับว่าเป็นผู้ชนะสงครามที่ยอดเยี่ยม
เราจะทำในสิ่งที่ผู้อื่น
เราจะอดทนในสิ่งที่ผู้อื่น ทำได้ยาก
เราจะสละในสิ่งที่ผู้อื่น สละได้ยาก
เราจะเอาชนะในสิ่งที่ผู้อื่น ชนะได้ยาก
ที่สำคัญคือ การชนะ ใจ ตนเอง

 

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
อตตา หเว ชิต เสยโย
“ ชนะตนนี้แลดีกว่า ”


การฟังที่ฉลาด
?
อย่าพึ่งเชื่อ
?
อย่าปฏิเสธ
?
จดจำ
?
ศึกษา , ค้นคว้า
?
หาข้อมูล , เหตุผล
?
ปฏิบัติ , ทดลอง
?
จนรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด