มกราคม | กุมภาพันธ์ | มีนาคม | เมษายน | พฤษภาคม | มิถุนายน
| กรกฎาคม | สิงหาคม | กันยายน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม |
ธันวาคม
1 ธันวาคม 2455
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินจังหวัดปราจีนบุรี เทศาภิบาลเมืองปราจีนบุรี ถวายรูปครุฑสัมฤทธิ์หุ้มทอง อันเป็นของโบราณที่ขุดได้ที่ตำบลโคกพระ ในดงพระศรีมหาโพธิ รูปครุฑนี้ต่อมาได้ใช้เป็นยอดธงประจำกองทัพบก คือ ธงมหาไพชยนต์ธวัช
1 ธันวาคม 2464
กระทรวงกลาโหม ได้ประกาศเปลี่ยนนามหน่วย กรมอากาศยานทหารบก เป็น กรมอากาศยาน และให้ส่วนราชการในสังกัดหน่วยนี้ตัดคำว่าทหารบกออก ด้วยพิจารณาเห็นว่ากำลังทางอากาศมิใช่มีเฉพาะ กำลังทหารบกเท่านั้น แต่มีเพื่อกิจการอย่างอื่นด้วย เช่น การพานิชยกรรม และการคมนาคม เป็นต้น
1 ธันวาคม 2486
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพสิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคชรา ที่วังวรดิส กรุงเทพ ฯ พระชนมายุ 81 ชันษา
2 ธันวาคม 2383
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้า ฯ ให้ลดหย่อนการรับราชการทหาร ให้เลขไพร่หลวงทั้งปวงเข้ารับราชการแต่เดือนหนึ่ง ออกไปทำมาหากินอยู่สามเดือน
2 ธันวาคม 2453
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานกำเนิด โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้รวมโรงเรียนมหาดเล็กหลวง และ โรงเรียนราชวิทยาลัย ซึ่งสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เข้าเป็นโรงเรียนเดียวกัน และพระราชทานว่า วชิราวุธวิทยาลัย
2 ธันวาคม 2461
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำพิธีปฐมกรรมในพระบรมมหาราชวัง และมีการชุมนุมทหารที่สนามหลวง ฉลองชัยชนะสงครามโลกครั้งที่ 1
พิธีปฐมกรรม เป็นพิธีที่พระมหากษัตริย์ในครั้งโบราณกระทำแก่ผู้ที่เป็นปรปักษ์ พิธีปฐมกรรมครั้งนี้ ทรงใช้น้ำสังข์สัมฤทธิ์ และน้ำพระเต้าประทุมนิมิตร์ ชำระพระบาทล้างมณฑิล ลงยังไม้ข่มนามให้ตกถึงพสุธา
3 ธันวาคม 2483
กองพันนาวิกโยธิน 4 กองพัน ในบังคับบัญชาของ นายนาวาตรี ทองหล่อ (ทหาร) ขำหิรัญ เดินทางจากสัตหีบไปจันทบุรี เพื่อจัดตั้งกองพลจันทบุรี
4 ธันวาคม 2454
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ เสด็จเลียบพระนครชลมารค ตามราชประเพณีเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
5 ธันวาคม 2397
ฉลองคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งขุดเสร็จเมื่อ ปี พ.ศ. 2495 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ
5 ธันวาคม 2470
วันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ณ โรงพยาบาลเมาท์ ออเบิร์น (Mount Auburn) เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเสท สหรัฐอเมริกา
5 ธันวาคม 2483
ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองความลับในราชการ พ.ศ. 2483
5 ธันวาคม 2488
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัติพระนคร หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
5 ธันวาคม 2520
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธี เฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
7 ธันวาคม 2483
ออกคำชี้แจงทหาร เรื่องการเรียกชื่อชนเชื้อชาติไทยในอินโดจีน ให้เรียก ญวน เขมร ลาว ว่าพี่น้องไทยในประเทศญวน พี่น้องไทยในประเทศลาว และพี่น้องไทยในแคว้นกัมพูชา
7 ธันวาคม 2484
กองพลรักษาพระองค์ของกองทัพญี่ปุ่นยกกำลังเข้าสู่ประเทศไทยทางบกทางด้านอรัญประเทศ และทางเรือได้ยกพลขึ้นบกที่บางปู จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเข้ายึดกรุงเทพ ฯ
7 ธันวาคม 2508
รัฐบาลได้จัดตั้งกองบัญชาการปราบปรามคอมมิวนิสต์ขึ้น ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นกองอำนวยการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์(กอ.ปค.)เมื่อปี พ.ศ.2512 และได้เปลี่ยนเป็นกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เมื่อปี พ.ศ. 2517 ประกอบด้วย พลเรือน ตำรวจ ทหาร (พตท.)
8 ธันวาคม 2484
กองทหารญี่ปุ่นบุกเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านอรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี และยกพลขึ้นบกในเขตจังหวัดชายทะเลของไทย ด้านอ่าวไทยรวม 7 จังหวัด คือ สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี ทหาร ตำรวจ ยุวชนทหาร และประชาชนได้ร่วมกันต่อสู้ต้านทานอย่างแข็งขัน แต่ในที่สุดรัฐบาลไทยต้องยอมให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทยได้
10 ธันวาคม 2475
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย
10 ธันวาคม 2484
เปิดธนาคารแห่งประเทศไทย ณ อาคารที่ทำการของธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ จำกัด ถนนสี่พระยา โดยการเช่าสถานที่จากธนาคารดังกล่าว ต่อมาจึงย้ายเข้าสู่วังบางขุนพรหม เมื่อปี พ.ศ. 2488
10 ธันวาคม 2485
ธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มดำเนินกิจการ โดยมี ม.จ.วิวัฒนไชย ไชยยันต์ เป็นผู้ว่าการองค์แรก โดยมีทุนเริ่มแรก 20 ล้านบาท จากรัฐบาล
11 ธันวาคม 2454
ยุบกรมยุทธนาธิการ ให้เสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นผู้บังคับบัญชาทหารบกทั่วไป และยกฐานะกรมทหารเรือขึ้นเป็น กระทรวงการทหารเรือ
12 ธันวาคม 2171
พระเจ้าทรงธรรมสวรรคต เมื่อพระชนม์พรรษาได้ 38 มีพระราชโอรส 3 องค์ คือ พระเชษฐาธิราชกุมาร พระพันปีศรีศิลป์ และพระอาทิตยวงศ์ แต่จดหมายเหตุ วันวสิตว่ามีราชโอรส 9 พระราชธิดา 8
15 ธันวาคม 2363
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้า ฯ ให้ยกทัพจากกรุงเทพ ฯ เป็น 2 กองทัพ ไปขัดตาทัพพม่าที่เมืองราชบุรี และเมืองกาญจนบุรี เนื่องจากได้ข่าวว่าพระเจ้าอังวะจักกายแมง เตรียมยกทัพมาตีไทย แต่ไม่ได้ยกเข้ามา
15 ธันวาคม 2444
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานธงชัยเฉลิมพล แก่ กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 2 รักษาวัง กรมทหารราบที่ 3 ฝีพาย และกรมทหารราบที่ 4 ทหารหน้า
15 ธันวาคม 2490
ตราพระราชบัญญัติให้อำนาจทหารเรือปราบปรามการกระทำผิด หรือมีเหตุอันควร สงสัยว่ามีการกระทำผิดบางอย่างในทะเล
16 ธันวาคม 2463
ได้มีการแก้ไขสนธิสัญญาที่ผูกมัดไทย ที่กรุงวอชิงตัน ให้ไทยมีสิทธิที่จะตั้งพิกัดอัตราภาษีของสหรัฐได้ตามที่ต้องการ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องได้รับความยินยอมจากประเทศอื่นๆ ที่มีสนธิสัญญากับไทย นอกจากนั้นยังยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของชาวอเมริกัน ในประเทศไทยโดยเด็ดขาด
16 ธันวาคม 2489
ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ อันดับที่ 55
16 ธันวาคม 2510
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการทูลเกล้า ฯ ว่ายเหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค ในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ณ สนามศุภชลาศัย ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ทางราชการได้กำหนดให้ วันที่ 16 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันกีฬาแห่งชาติ
17 ธันวาคม 2458
กระทรวงทหารเรือออกข้อบังคับว่าด้วยระเบียบการใช้คำนามรวมทั่วไปของทหารเรือเรียกว่า ราชนาวี เขียนเป็นอักษรย่อ ว่า ร.น. ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Royal Navy เขียนเป็นอักษรย่อว่า R.N.
17 ธันวาคม 2483
รัฐบาลไทยโดยมี จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ออกประกาศกำหนดให้ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2484 เป็นต้นไป เพื่อให้เหมือนสากลนิยม ดังนั้นปี พ.ศ. 2483 จึงมีเพียง 9 เดือน (เดิมใช้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่)
18 ธันวาคม 2522
ตั้งค่ายวชิรปราการ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองพันที่ 4 และกองพันที่ 5 กรมทหารราบที่ 4 จังหวัดทหารบกพิษณุโลก (ส่วนแยกจังหวัดตาก) อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดตาก
19 ธันวาคม 2466
วันสถาปนา กองเรือยุทธการมีหน่วยขึ้นตรงคือ กองเรือตรวจอ่าว กองเรือปราบเรือดำน้ำ กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยกพลขึ้นบกและบริการ กองเรือลำน้ำ และกองบินทหารเรือ
19 ธันวาคม 2523
ตั้งค่ายขุนผาเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรมทหารม้าที่ 3 จังหวัดทหารบกเพชรบูรณ์ และกองพันทหารช่างที่ 8 อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
20 ธันวาคม 2456
การไฟฟ้านครหลวงสามเสน เริ่มเปิดใช้งานเป็นปฐมฤกษ์
21 ธันวาคม 2413
เรือรบอิตาลีประเภทเรือคอร์เวตได้เดินทางมาเยือนประเทศไทย พร้อมด้วยราชทูตอิตาลี เพื่อมาเจรจา ทำสัญญาทางพระราชไมตรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
21 ธันวาคม 2484
ไทยและญี่ปุ่นได้ลงนามในกติกาสัญญาพันธไมตรีระหว่างประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่นได้กระทำพิธี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ลงนามแทนในนามรัฐบาลไทย และนายทสุโยกามิ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ลงนามแทนในนามรัฐบาลญี่ปุ่น
21 ธันวาคม 2484
กองบัญชาการทหารสูงสุดได้จัดตั้งกองทัพพายัพขึ้น มอบหน้าที่ให้เข้าไปปฏิบัติการในดินแดนสหรัฐไทยเดิม ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศไทย โดยสนธิกำลังจากหน่วยต่าง ๆ ทั่วประเทศ มี พลตรี จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เป็นแม่ทัพ
22 ธันวาคม 2228
ราชทูตไทย ชุดที่ 3 มีออกพระวิสูตรสุนทร คือโกษาปานเป็นราชทูต ออกเดินทางไปฝรั่งเศสได้เฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่พระราชวังแวร์ซายส์ เมื่อ 1 กันยายน 2229 เดินทางกลับถึงปากน้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ. 2230
22 ธันวาคม 2431
ไทยเสียแคว้นสิบสองจุไทย ให้แก่ฝรั่งเศสพื้นที่ 87,000 ตารางกิโลเมตร โดยฝรั่งเศสส่งกำลังทหารเข้ายึดไว้อ้างว่าไว้คอยปราบฮ่อ
22 ธันวาคม 2506
เปิดสำนักงานใหญ่ องค์การพุทธศาสนิกชนสัมพันธ์แห่งประเทศโลก (พ.ส.ล.) ในประเทศไทย
ตั้งอยู่ในบริเวณพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ถนนพระอาทิตย์ กรุงเทพ ฯ
23 ธันวาคม 2331
ราชทูตไทยชุดที่ 4 ได้เข้าเฝ้า สันตะปาปา อินโดเนเซนต์ที่ 11 ณ กรุงโรม
23 ธันวาคม 2431
กองทัพไทยกับฝรั่งเศส ได้ทำสนธิสัญญาว่าต่างจะไม่ล่วงเข้าไปในเขตแดนของกันละกัน และจะช่วยกันปราบฮ่อที่เป็นโจร
23 ธันวาคม 2437
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการให้ประกาศปันหน้าที่ กระทรวงกลาโหม มหาดไทย โดยแยกข้าราชการพลเรือน คือการบังคับบัญชาหัวเมืองภาคใต้ไปขึ้นอยู่กับมหาดไทย และจัดระเบียบการบริหาร ตลอดจนจัดหน่วยงานในกระทรวงกลาโหมใหม่ โดยรวมการบังคับบัญชาทางการทหารไว้ที่กระทรวงกลาโหม เพื่อให้กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบด้านการป้องกันประเทศ ด้วยกำลังทหารทั้งทางบกและทางเรือ
23 ธันวาคม 2484
ประกาศสนธิสัญญาระหว่าง ไทย-ญี่ปุ่น เรื่องสัมพันธไมตรี และบูรณภาพอาณาเขตแห่งกันและกัน
23 ธันวาคม 2528
ตั้งค่ายบดินทร์เดชา ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรมทหารราบที่ 16 อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
24 ธันวาคม 2223
ราชทูตไทยคณะแรก ที่ออกไปยังประเทศฝรั่งเศส และสันตปาปา ณ กรุงโรม คือ ออกญาพิพัฒน์ราชไมตรี กับผู้ช่วยอีก 2 คน คือ หลวงศรีวิสารสุนทร กับ ขุนนางวิชัย และคณะอีกกว่า 20 คน โดยมีบาดหลวงเกยเมอเป็นล่าม และเป็นผู้นำทางการเดินทางครั้งนี้ ออกเดินทางจากกรุงศรีอยุธยา และได้สูญหายไปเนื่องจากเรือถูกพายุอัปปางบริเวณเกาะมาดากัสต์
24 ธันวาคม 2484
กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้จัดตั้งกองทัพพายัพขึ้น มีนายพลโท จรูญ รัตนกุลเสรีเริงฤทธิ์ เป็นแม่ทัพ ประกอบด้วยกองพลทหารราบ 3 กองพล (กองพลที่ 2,3 และ 4) และกองพลทหารม้า 1 กองพล เพื่อเข้าปฏิบัติการในดินแดนสหรัฐไทยเดิม ตามคำร้องขอของกองทัพญี่ปุ่น ที่ต้องการให้ไทยส่งทหารไปร่วมรบกับญี่ปุ่นในพม่า
26 ธันวาคม 2452
เปิดโรงเรียนนายร้อยทหารบกที่ถนนราชดำเนินนอก
26 ธันวาคม 2453
รถยนต์แก้วจักพรรดิ์ เป็นรถพระที่นั่งคันแรก และต่อมามีผู้นำมาวิ่งในถนนมากขึ้น เห็นว่าจะเกิดอันตราย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ตรา พ.ร.บ.รถยนต์ขึ้นครั้งแรก
26 ธันวาคม 2511
ตั้งค่ายเพชรบุรีราชศิรินธร ซึ่งเป็นที่ตั้งกองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ที่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
ตั้งค่ายกาญจนบุรี ซึ่งเป็นที่ตั้งกองพลทหารราบที่ 9 จังหวัดทหารบกราชบุรี (ส่วนแยกกาญจนบุรี) ที่ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
ตั้งค่ายศรีโสธร ซึ่งเป็นที่ตั้งกองพันทหารช่างที่ 2 รักษาพระองค์ ที่อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
28 ธันวาคม 2515
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกประทับเหนือพระที่นั่งพุดตาน กาญจนสิงหาสน์ ณ ท้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคม ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร
28 ธันวาคม 2311
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ณ กรุงธนบุรี และทางราชการได้กำหนด ให้วันที่ 28 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
29 ธันวาคม 2456
ได้มีการบินทดลองเป็นครั้งแรก ที่ราชกรีฑาสโมสร ซึ่งเป็นสนามบินแห่งแรกของไทย ต่อมาเมื่อ 15 มี.ค. 2457 จึงย้ายไปอยู่ที่ดอนเมือง
|