เหตุการณ์ในอดีต

 

มกราคม | กุมภาพันธ์ | มีนาคม | เมษายน | พฤษภาคม | มิถุนายน
| กรกฎาคม | สิงหาคม | กันยายน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม |

 


กุมภาพันธ์

1 กุมภาพันธ์ 2438
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชบัญญัติโรงจำนำ ร.ศ.114 ขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย มีผลบังคับใช้ทั่วพระราชอาณาจักร วันที่ 1 กรกฎาคม ร.ศ.120

3 กุมภาพันธ์ 2462
วันที่ระลึกและวันสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เป็นวันที่ระลึกทหารผ่านศึกสงครามโลก ครั้งที่ 1 ที่ประเทศไทยได้ประกาศสงครามกับเยอรมันนี ออสเตรีย และฮังการี เมื่อสงครามสงบลง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลาแก่ผู้พลีชีวิต นับตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ เป็นต้นมา

3 กุมภาพันธ์ 2485
ได้มีการลงนามในกิจที่เกี่ยวกับการยุทธร่วมกัน ระหว่างไทย กับญี่ปุ่น โดยผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย กับแม่ทัพกองทัพที่ 15 ของญี่ปุ่น ในฐานะผู้บัญชาการทหารบกญี่ปุ่นในไทย ร่วมกับผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือญี่ปุ่น ในฐานะผู้แทนจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น

4 กุมภาพันธ์ 2462
รัชกาลที่ 5 เสด็จ ฯ ทรงเปิดเดินเครื่องจักรโรงกษาปณ์สิทธิการ

5 กุมภาพันธ์ 2404

เริ่มสร้างถนนเจริญกรุง ซึ่งเป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชย ไปจนจรดแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนตก รวมความยาวทั้งสิ้น 8.575 กิโลเมตร ส่วนความกว้างไม่เท่ากันตลอดทั้งสาย บางตอนกว้างถึง 12.75 เมตร บางตอนกว้างเพียง 7 เมตร เป็นถนนเทคอนกรีต และลาดยางตลอดสาย

5 กุมภาพันธ์ 2428
ได้บรรจุการทำบัญชีเข้าในหลักสูตรการศึกษาของไทยเป็นครั้งแรก โดยประกาศกระแสพระบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เป็นวิชาหนึ่งในแปดอย่างของประโยคสอง ซึ่งเป็นวิชาชั้นสูงสุดของ รร. หลวงในสมัยนั้น

5 กุมภาพันธ์ 2496
วันสถาปนากองเรือตรวจอ่าว ซึ่งเป็นกองกำลังในสังกัดกองเรือยุทธการ กองทัพเรือ

6 กุมภาพันธ์ 2485
ประเทศอังกฤษได้ประกาศสงครามกับไทย โดยให้ถือว่ามีสถานะสงครามกับไทย ตั้งแต่ 23 ม.ค. 2485 และได้โทรเลขถึงข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำประเทศคานาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแอฟริกาใต้ แสดงความหวังว่าประเทศในเครือจักรภพจะดำเนินการอย่างเดียวกัน

7 กุมภาพันธ์ 2500
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท เขื่อนนี้เป็นเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีช่องระบายน้ำ 20 ช่อง กว้างช่องละ 25.50 เมตร ใช้ส่งน้ำตามโครงการชลประะทานเจ้าพระยา ในเนื้อที่ประมาณ 5,550,000 ไร่

7 กุมภาพันธ์ 2404
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทำสัญญาทางพระราชไมตรีกับประเทศรัสเซีย

9 กุมภาพันธ์ 2515
สมเด็จพระนางเจ้าอะลิซาเบธ แห่งอังกฤษ เสด็จเยือนประเทศไทย นับเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนมายังเอเซียเป็นครั้งแรก

10 กุมภาพันธ์ 2497
ออกพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ.2497 โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ ในวันนี้กำหนดให้เป็นวันอาสารักษาดินแดนเป็นประจำทุกปี

11 กุมภาพันธ์ 2460
&nbss; พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนชื่อ กองเสือน้ำ เป็น กรมราชนาวีเสือป่า สมาชิกของกรมราชนาวีเสือป่าได้แก่ ประชาชนทั่วไปที่มาสมัคร และมีนายทหารเรือชั้นสัญญาบัตร และชั้นประทวน

11 กุมภาพันธ์ 2485
รัฐบาลแอฟริกาใต้ประกาศสถานะสงครามกับไทย โดยให้มีผล ตั้งแต่ 25 ม.ค. 2485

11 กุมภาพันธ์ 2491
กระทรวงกลาโหมได้จัดตั้งกรมการรักษาดินแดนขึ้นเป็นส่วนราชการ ขึ้นตรงต่อกองทัพบกให้ทำหน้าที่ฝึกนักศึกษาวิชาทหารมาจนถึงทุกวันนี้

12 กุมภาพันธ์ 2446
ไทยเสียดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกของเมืองน่าน เมืองจำปาศักดิ์ และเมืองมโนไพร เป็นพื้นที่ปีะมาณ 62,500 ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อขอให้ฝรั่งเศสคืนจันทบุรีให้ไทย ซึ่งฝรั่งเศสได้ยึดตั้งแต่เหจุการณ์ ร.ศ.112 (พ.ศ. 2436)

13 กุมภาพันธ์ 2428
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จโดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช ไปเยี่ยมเรือรบอังกฤษ คือ เรือออเคเซียส เรืออะกาเมนอน เรือวิจิแลนด์ และเรือแดริง ซึ่งเดินทางมาจากฮ่องกง มาทอดสมออยู่ที่สันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา

13 กุมภาพันธ์ 2446
ไทยไทยตกลงทำสัญญายก จังหวัดตราด เกาะต่าง ๆ ตลอดแนวไปจนถึง เกาะกง เกาะกูด ให้แก่ฝรั่งเศส

14 กุมภาพันธ์ 2369
เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฎยกกองทัพจากเวียงจันทร์เข้ามายึดเมืองนครราชสีมาไว้ได้ และได้กวาดต้อนผู้คนไปเป็นชะเลยจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงส่งกองทัพออกไปปราบและจับตัวเจ้าอนุวงศ์ได้ ส่งตัวเข้ามากรุงเทพ ฯ เมื่อ 21 ธันวาคม 2370

16 กุมภาพันธ์ 2427
วันจัดตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก โดยมีบาทหลวงกลอมเบต์ ชางฝรั่งเศส อธิการแห่งโบสถ์อัสสัมชัญ รับเฉพาะนักเรียนชายล้วน

16 กุมภาพันธ์ 2496
ประกอบพระราชพิธีเปิดสะพานจุลจอมเกล้า ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำตาปี

16 กุมภาพันธ์ 2506
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่จังหวัดลพบุรี

17 กุมภาพันธ์ 2405
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงมีพระราชสาส์น ถึงสมเด็จพระราชาธิบดี เยอรมัน มีใจความว่า ขอเจริญทางพระราชไมตรีมายัง สมเด็จพระเจ้ากรุงปรุสเซีย และเรื่องการทำสัญญาทางพระราชไมตรีและทางค้าขาย

17 กุมภาพันธ์ 2409
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชทานเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

17 กุมภาพันธ์ 2462
เปิดการไปรษณีย์อากาศขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ระหว่างกรุงเทพ-จันทบุรี

17 กุมภาพันธ์ 2488
ประกาศใช้เครื่องแบบทหารเรือฉบับแรก

18 กุมภาพันธ์ 2375
อเมริกันส่งทูตการค้าคนแรก คือ นายเอ็ดมันต์ โรเบิร์ต เข้ามาประเทศไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และในสมัยประธานาธิบดี ยอร์ช วอชิงตัน ของสหรัฐอเมริกา

20 กุมภาพันธ์ 2500
เปิดถนนมิตรภาพ จากสระบุรีไปนครราชสีมา จากความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกา

20 กุมภาพันธ์ 2512
มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อเป็นเกียรติ และระลึกถึงความกล้าหาญของท่าน ที่ได้ต่อสู้กับโปสุพลา แม่ทัพพม่า จนดาบหักคามือ

21 กุมภาพันธ์ 2329
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ตีค่ายพม่าที่ท่าดินแดง กรมพระราชวังบวร ฯ ตีที่สามสบ รบอยู่ 3 วัน ไทยได้รับชัยชนะ

21 กุมภาพันธ์ 2410
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้จำลองปราสาทนครวัด ไว้ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อให้คนทั้งหลายเห็นว่าเป็นสิ่งอัศจรรย์

21กุมภาพันธ์ 2435
ไทยเริมเดินรถรางเป็นครั้งแรก ต่อมาได้กีดขวางการจราจร จึงได้เลิกเมื่อ พ.ศ. 2511

21 กุมภาพันธ์ 2455
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้เลิกใช้ ร.ศ. (รัตนโกสินทรศก) ซึ่งเริ่มใช้ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และให้ใช้ พ.ศ. (พุทธศักราช) แทน

21 กุมภาพันธ์ 2482
กองทัพเรือ จัดตั้งกรมนาวิกโยธิน โดยรวมกองพันนาวิกโยธิ ที่มีอยู่แล้ว 2 กองพันเข้าด้วยกัน

23 กุมภาพันธ์ 2453
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต
ให้ใช้พระราชวังเดิม เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ จากนั้นเป็นต้นมา พระราชวังเดิมก็เป็นสถานที่ทำการของ
ทหารเรือจนถึงปัจจุบัน (พระราชวังเดิมเป็นพระราชวังหลวง ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีปากคลองบางหลวงหรือคลองบางกอกใหญ่ และวัดอรุณราชวราราม ขนาบอยู่สองข้าง ตรงกลางมีป้อมวิชัยประสิทธิ์ตั้งอยู่)

23 กุมภาพันธ์ 2465
กองทัพเรือได้ออกข้อบังคับทหารเรือ กำหนดให้ใช้คำว่า ร.น. (ราชนาวี) ต่อท้ายนามของนายทหารสัญญาบัตร

24 กุมภาพันธ์ 2310
วันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระนามเดิม ฉิม ทรงเป็นพระราชโอรสองค์โต ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทั้งด้านการรบ และด้านศิลปะเป็นอันมาก ได้ทรงติดตามพระชนกนาถ ครั้งยังดำรงพระยศเป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกไปทำสงครามด้วยทุกครั้ง ได้ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่องต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องอิเหนา ซึ่งเป็นวรรณกรรมชั้นเลิศ ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ว่าเป็นบทละครในยอดเยี่ยม งานด้านการช่างประเภท แกะสลักด้วยฝีพระหัตถ์ อันเป็นผลงานของพระองค์ ซึ่งยังมีปรากฎอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ได้แก่ ภาพแกะสลักบานประตูโบสถ์วัดสุทัศน์เทพวราราม

24 กุมภาพันธ์ 2409
กองทัพบกได้มีคำสั่งจัดตั้ง ศูนย์สงครามพิเศษ ขึ้นที่ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี นับเป็นการจัดหน่วยรบพิเศษที่สมบูรณ์แบบ

24 กุมภาพันธ์ 2513
บก.ทหารสูงสุดได้อนุมัติการจัดตั้ง หน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขง (นปข. ) เพื่อป้องกันและปราบปรามผู้ก่อการร้ายในพื้นที่รับผิดชอบตามลำน้ำโขง ตั้งแต่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ไปถึงอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี รวมระยะทาง 850 กม.

24 กุมภาพันธ์ 2522
กองทัพอากาศยุบเลิกกรมการบินพลเรือน แล้วแปรสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจใช้ชื่อว่า การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย

25 กุมภาพันธ์ 2468
พระราชพิธีพระบรมราชรภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

26 กุมภาพันธ์ 2310
วันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

27 กุมภาพันธ์ 2327
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช อัญเชิญพระแก้วมรกต จากพระราชวังเดิมธนบุรี มาประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง

27 กุมภาพันธ์ 2514
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เขื่อนสิริกิติ์ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

28 กุมภาพันธ์ 2454
กระทรวงกลาโหมได้ส่งนายทหารสามนาย ออกเดินทางไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส นับเป็นชุดแรกที่ส่งออกไปศึกษา และได้สำเร็จการศึกษากลับมาถึงประเทศไทย เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2456

28 กุมภาพันธ์ 2510
คณะรัฐมนตรีลงอนุมัติ อนุมัติหลักการให้ความช่วยเหลือทางทหาร แก่รัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนาม โดยให้กองทัพบกจัดส่งหน่วยกำลังรบทางพื้นดิน ไปปฏิบัติการรบ กองทัพบกจึงจัดตั้งหน่วยรบเฉพาะกิจขึ้นในรูป กรมทหารอาสาสมัคร (กรม อสส.) ส่งไปร่วมรบกับชาติพันธมิตร ในประเทศเวียดนาม กรม อสส. นี้ได้รับสมญานามว่า จงอางศึก

29 กุมภาพันธ์ 2455
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งโรงไฟฟ้าขึ้นที่สามเสน