เหตุการณ์ในอดีต

 

มกราคม | กุมภาพันธ์ | มีนาคม | เมษายน | พฤษภาคม | มิถุนายน
| กรกฎาคม | สิงหาคม | กันยายน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม |


สิงหาคม

1 สิงหาคม2367
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์

1 สิงหาคม2445
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี ยกกำลังไปปราบเงี้ยวที่กบฎ จนเป็นผลสำเร็จ

1 สิงหาคม2484
ฝรั่งเศสถอนทหารออกจากดินแดน พระตระบอง จำปาสัก ดินแดนที่มอบให้ไทยตามสัญญาสันติภาพ

2 สิงหาคม2402
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองตะวันตกดยทางเรือกลไฟ

3 สิงหาคม2354
ตราพระราชกำหนดห้ามสูบและขายฝิ่น ในสมัยปลายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ฝ่าฝืนมีโทษเฆี่ยนหลัง 90 ที ให้ตระเวนบก 3 วัน ตระเวนเรือ 3 วัน ริบราชบาตรทรัพย์สินบุตรภรรยาเป็นของหลวง แล้วส่งตัวไปเป็นตะพุ่นหญ้าช้างผู้รู้เห็นเป็นใจมินำเอาความมาแจ้ง ให้เฆี่ยนหลัง 60 ที

3 สิงหาคม2436
ไทยยอมรับคำขาดของฝรังเศส ทำให้ฝรั่งเศสประกาศยกเลิกปิดอ่าว รวมเวลาที่ฝรั่งเศสปิดอ่าวเป็นเวลา8 วัน

4 สิงหาคม2424
ดวงตราไปรษณียากร ได้นำออกจำหน่ายครั้งแรก มีอยู่ 5 ชนิด ตั้งแต่ราคา1 โสฬส จนถึง 1 สลึง และยังมีไปรษณียบัต ราคา 1 อัฐ อีกด้วย

4 สิงหาคม2426
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งกรมไปรษณีย์โทรเลข

5 สิงหาคม287
ประกาศให้ประชาชนทำการปลูกฝี ป้องกันไข้ทรพิษเป็นครั้งแรก

5 สิงหาคม2430
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งโรงเรียนนายร้อย จปร. โรงเรียนนายร้อยที่ข้างวังสราญรมย์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งกรมแผนที่ทหาร เป็นการรวมโรงเรียนคาเดททหารมหาดเล็ก และโรงเรียนคาเดททหารหน้าเข้าด้วยกันถือเป็นกำเนิดของสถาบัน

6 สิงหาคม2445
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) เป็นแม่ทัพไปปราบเงี้ยว ได้ยกทัพออกจากกรุงเทพ ฯ ในวันนี้

7 สิงหาคม2508
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ได้กำหนดเป็นวันเสียงปืนแตก อันหมายถึงวันแห่งการใช้อาวุธปืน เพื่อการปฏิวัติจากป่าล้อมเมือง โดยได้ยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรจังหวัดนครพนม ได้รับบาดเจ็บสาหัส จากนั้นได้ขยายตัวไปสู่ภาคต่างๆ และได้ประกาศจัดตั้ง กองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย (ทปท.) เมื่อ 1 มกราคม 2512

8 สิงหาคม2453
ประกาศยกเว้นภาษีอากร แก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน ไม่ต้องเสียเงินรัชชูประการ ปีละ 6 บาท

8 สิงหาคม2494
พระราชทานชื่อค่ายทหาร คือ
ค่ายวชิราวุธ ที่นครศรีธรรมราช
ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่พิษณุโลก
ค่ายพิชัยดาบหัก ที่อุตรดิตถ์
ค่ายประจักษ์ศิลปาคม ที่อุดรธานี

8 สิงหาคม2510
มีการประชุมระหว่างชาติ ที่แหลมแท่นจังหวัดชลบุรี ได้ตั้งสมาคมอาเซียน มีสมาชิก 5 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์

9 สิงหาคม2498
แยกการรถไฟเป็นองค์การอิสระ เป็นรัฐวิสาหกิจ เพื่อความคล่องตัวในการบริหาร สนับสนุนเศรษฐกิจและการทหารในยามสงคราม

9 สิงหาคม2514
เริ่มกิจการ "ลูกเสือชาวบ้าน"

10 สิงหาคม2393
เซอร์ เจมส์ บรุค ฑูตอังกฤษเดินทางมาไทย เพื่อขอเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาฯ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การค้า ของอังกฤษมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

10 สิงหาคม 2431
ให้ทหารเลิกจัดสายตรวจรักษาการตามถนนในพระนคร โดยมอบหน้าที่ให้ตำรวจ

11 สิงหาคม 2112
เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งแรก เนื่องจากพระยาจักรีเป็นไส้ศึก

11 สิงหาคม 2230
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงประกาศสงครามกับบริษัทอินเดีย ของอังกฤษ

11 สิงหาคม 2406
เขมรตกเป็นของฝรั่งเศส

11 สิงหาคม 2454

ประกาศหลักสูตรในโรงเรียนข้าราชการพลเรือน มีวิชาเรียน 10 อย่าง ซึ่งมีวิชาทหารอยู่ด้วย

11 สิงหาคม 2509
เศษเครื่องปั้นดินเผาที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เริ่มพบและสนใจโดยนักวิชาการ

11 สิงหาคม 2518
พระธาตุพนมบรรจุพระอุรังคธาตุ (หน้าอก) ล้มทลายลง องค์พระธาตุสูง52 เมตร ยอดฉัตรเป็นทองคำหนัก 10 กิโลกรัม

12 สิงหาคม2444
ตรา พ.ร.บ. คุ้มครองวรรณกรรมศิลปกรรม พ.ศ. 2474

12 สิงหาคม2475
วันพระราชสมภพสมด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ และเป็นวันแม่แห่งชาติ

13 สิงหาคม2413
เริ่มใช้คำบอกแถวทหาร เป็นภาษามคธ แทนคำบอกภาษาอังกฤษ เช่น วันทยาวุธ วันทยาหัตถ์

14 สิงหาคม2229
วันทีคะทูตไทยถวายพระราชสาส์น แด่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ณ พระราชวังแวซายส์

14 สิงหาคม2394
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้านายศึกษาภาษาอังกฤษ เป็นครั้งแรก

14 สิงหาคม2395
ขุดคลองผดุงกรุงเกษมเสร็จ

14 สิงหาคม2454
เฉลิมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ที่ทุ่งส้มป่อย ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สร้างขึ้นใหม่ ส่วนตำหนักจิตรลดาอยู่ที่มุมลานพระบรมรูปทรงม้าเป็นพระตำหนักเดิม พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ต่อมาเป็นพระราชวังสวนจิตรลดา

14 สิงหาคม2488
รถไฟสายท่าจีน-แม่กลอง หมดสัมปทาน โอนกิจการเป็นของการรถไฟ รถไฟสายท่าจีน-แม่กลองเปิดเดินเมื่อ 15 ส.ค. 2448 ระยะทางเมื่อเปิดเดินครั้งแรก 33 ก.ม.

15 สิงหาคม2417
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน

15 สิงหาคม2442
ตัดถนนราชดำเนิน

15 สิงหาคม2488
ญี่ปุ่นยอมประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรโดยไม่มีเงื่อนไข

16 สิงหาคม2417
ประกาศตราตระกูลสำหรับพระราชวงศ์ คือ ตราจุลจอมเกล้า มี 351 ดวง

16 สิงหาคม2485
ยกฐานะเมืองปราณบุรีเป็น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามนามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไว้

16 สิงหาคม2487
ได้มีพระบรมราชโองการประกาศสันติภาพ มีใจความว่า การประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่ เป็นโมฆะ ไม่ผูกพันกับประชาชนชาวไทย เนื่องจากการประกาศสงครามครั้งนั้นเป็นการกระทำอันผิด จากเจตจำนงของประชาชนชาวไทย และขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายบ้านเมือง ประเทศไทยได้ตัดสินใจให้กลับคืนมา ซึ่งสัมพันธไมตรีอันเคยมีมากับสหประชาชาติ เมื่อก่อนวันที่ 8 ธ.ค. 2484 บรรดาดินแดนซึ่งญี่ปุ่นได้มอบให้ไทยครอบครอง ประเทศไทยไม่ปรารถนาที่จะได้ดินแดนเหล่านั้น และพร้อมที่จะจัดการส่งมอบคืนให้ดังเดิม

16 สิงหาคม2488
พระบรมราชโองการประกาศสันติภาพ ไทยจพมีพันธมิตรทุกประเทศ

17 สิงหาคม2474
พลตรี เจ้ามหาพรหมสุรธาดา (เจ้าน้อยมหาพรหม ณ น่าน) ผู้ครองนครน่านถึงแก่พิราลัย ในวันนี้ มีอายุ 85 ปี เจ้ามหาพรหมสุรธาดา ได้เป็นเจ้านครน่าน เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2462 เป็นองค์สุดท้าย ต่อมาไม่มีเจ้าผู้ครองนคร

18 สิงหาคม2411
เกิดสุริยุปราคาหมดดวงที่ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปทอดพระเนตร จนทรงได้รับเชื้อมาลาเรียเป็นเหตุให้เสด็จสวรรคตเมื่อ 1 ตุลาคม 2411 ภายหลังได้กำหนดวันนี้เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

19 สิงหาคม2483
เริ่มการแปลพระไตรปิฎก จากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย ณวัดเบญจมบพิตรฯ

19 สิงหาคม2488
รัฐบาลสหรัฐอเมริกา และรัฐบาลอังกฤษประกาศรับรองการประกาศสันติภาพของไทย หลังจากสงครามมหาเอเซียบูรพายุติลง โดยการยอมจำนนของญี่ปุ่นต่อฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อ14 สิงหาคม 2488 และรัฐบาลไทยได้ประกาศ เมื่อ 16 สิงหาคม 2488

19 สิงหาคม2489
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จ ฯ ไปทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

20 สิงหาคม2434
เปิดประภาคารที่เกาะสีชัง

20 สิงหาคม2436
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปทรงศึกษาในยุโรป

20 สิงหาคม2477
เลิกการประหารชีวิตด้วยวิธีตัดศีรษะ วันนี้เป็นการตัดศีรษะรายสุดท้าย ที่วัดหนองจอก อำเภอมีนบุรี นักโทษเป็นหญิงชื่อ นางล้วน มีลูกอ่อนอายุ1 เดือน

20 สิงหาคม2486
ไทยกับญี่ปุ่น ได้ลงนามในสนธิสัญญา มอบดินแดนของไทยที่ญี่ปุ่นตีได้ จากอังกฤษ คือ รัฐเชียงตุง รัฐเมืองพาน และรัฐมาลัย (กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี และปาลิส) ให้แก่ไทย ณ ทำเนียบสามัคคีชัย

21 สิงหาคม2441
ประกาศเงินตราอย่างไหนเรียกว่า สตางค์

21 สิงหาคม2447
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชพร้อมกับเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช รัชกาลที่ 6 ทรงลาผนวช 11 ธันวาคม 2447 เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช ทรงลาผนวช 13 ธันวาคม 2447

22 สิงหาคม2205
สังฆราชแห่งเบริตกับบาทหลวงอีก 2 คน ได้เดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยา นับเป็นชาวฝรั่งเศสพวกแรกที่เดินทางมายังประเทศไทย

22 สิงหาคม2408
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ ประกาศเลิกการห้ามส่งข้าว ออกนอกพระราชอาณาจักร

23 สิงหาคม2358
เมืองมอญ เมาะตะมะ หนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร

23 สิงหาคม2371
คณะมิชชันนารีพวกแรกเป็นชาวอเมริกัน นำคริสต์ศาสนาโปรเตสแตนต์เข้ามาเผยแพร่ในไทย

24 สิงหาคม2485
ได้มีการลงนามในข้อตกลงระหว่างผู้บัญชาการทหารเรือไทย กับทูตทหารเรือญี่ปุ่นประจำกรุงเทพฯ เกี่ยวกับการปฏิบัติการของกองทัพเรือไทย กับ จักรพรรดินาวีญี่ปุ่น ในบริเวณอ่าวไทยและน่านน้ำภาคใต้ของอินโดจีนฝรั่งเศส

25 สิงหาคม2461
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ได้อภิเษกสมรส (กับพระองค์เจ้ารำไพพรรณี) ณ พระที่นั่งวโรภาสพิมาน พระราชวังบางปะอิน

25 สิงหาคม2469
ลงนามในสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส กำหนดเส้นเขตแดนตั้งแต่จังหวัดเชียงราย ถึงอุบลราชธานี สัญญาฉบับนี้ไม่ได้ถือร่องน้ำลึกเป็นเส้นเขตแดน ฉะนั้นเกาะทุกเกาะจึงเป็นของอินโดจีน ฝรั่งเศสให้สัตยาบัน เมื่อ 29 มิถุนายน 2470

27 สิงหาคม2457
ตรา พ.ร.บ. กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 ยกเลิก พ.ร.บ. กฎอัยการศึก ฉบับ พ.ศ. 2450

29 สิงหาคม2411
ไทยโดย พระสยาม ฯ ลงนามในสัญญาทางพระราชไมตรีระหว่างไทย กับ เบลเยี่ยม

29 สิงหาคม2448
ตรา พ.ร.บ. ลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ. 124 เป็นฉบับแรก ซึ่งสอดคล้องกับการประกาศเลิกทาสเมื่อ 1 เมษายน 2448 และปรับการเรียกเก็บเงินค่าราชการจากชายฉกรรจ์ที่ไม่ได้เป็นทหารคือ เงินรัชชูปการ ปีละ 6 บาท พ.ร.บ.นี้ ให้สิทธิแก่ผู้เสียภาษีอากรมากมีสิทธิที่จะขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารแก่คนในห้างร้าน หรือครอบครัวได้ชั่วคราวเป็นปีๆ ไป

29 สิงหาคม2491
เกิดกบฎในภาคใต้เรียกกันว่ากบฎแบ่งแยกดินแดน มีการก่อวินาศกรรมในปัตตานี สายบุรี เบตง เพื่อจะตั้งสหพันธรัฐมลายู ขึ้นใน 4 จังหวัดภาคใต้ โดยการสนับสนุนของชาวมุสลิมในต่างประเทศ พล.ท.หลวงกาจสงคราม ซึ่งทางคณะรัฐบาลได้ส่งไปปราบ ใช้เวลาดำเนินการอยู่เกือบหนึ่งเดือนจึงสำเร็จ จับหัวหน้าผู้ก่อการคือหะยีมไฮยิดดิน ได้

30 สิงหาคม2112
เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก แก่บุเรงนอง (มอญ) เหตุเพราะแตกความสามัคคีระหว่างคนไทยข้าราชการผู้ใหญ่เอาใจเข้ากับข้าศึก

30 สิงหาคม2415
จีนแห่จ้าวมาจากสำเพ็ง มายังวัดมหรรณพ์ ตั้งศาลจ้าวใหม่ คือ ศาลเจ้าพ่อเสือ