ไทยกับสงครามมหาเอเซียบูรพา

การดำเนินการเจรจาทางการทูต

ได้ดำเนินการส่งทูตพิเศษไปเยือนประเทศต่าง ๆ ในภาคพื้นเอเซีย ส่งฑูตพิเศษไปเจรจากับรัฐบาลเยอรมัน เพื่อส่งเสริมการเรียกร้องดินแดนคืน โดยให้ฝรั่งเศสยับยั้งการรุกราน ได้เจรจาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต กับประเทศโซเวียตรัสเซีย เพื่อเปิดการเดินทางสายไซบีเรีย ในกรณีที่เกิดสงครามในยุโรป


ทางด้านประเทศญี่ปุ่น ได้ตั้งความหวังว่ากองทัพไทย จะได้ร่วมเป็นสมรมิตรกับญี่ปุ่น ในสงครามมหาเอเซียบูรพา โดยที่ญี่ปุ่นต้องการให้ไทยซึ่งเป็นประเทศที่เป็นเอกราชมาช้านาน เช่นเดียวกับญี่ปุ่น และมีพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่มี พระจักรพรรดิ์ ได้ช่วยกันขจัดอิทธิพลของชาวผิวขาว ที่มาครองอาณานิคมในอาเซียให้สิ้นสุดลง อย่างไรก็ตามทางญี่ปุ่นได้แสดงความไม่พอใจที่ไทยส่งคณะฑูตพิเศษ ไปติดต่อกับรัฐบาลรัสเซีย จึงต้องมีการชี้แจงเข้าใจว่า ไทยเพียงต้องการเปิดการคมนาคมทางรถไฟสายไซบีเรีย เพื่อให้คนไทยเดินทางไปมาระหว่างยุโรปกับตะวันออก ในระหว่างสงครามได้สะดวกเท่านั้น ไม่มีนโยบายอื่นได้อีก อนึ่งประเทศไทยก็เป็นประเทศเล็ก อยู่ห่างไกลจากรัสเซียมาก กับทั้งมีกฎหมายต่อต้านคอมมิวนิสต์อยู่ด้วย


ทางเอกอัครราชฑูตอังกฤษประจำมอสโคว์ได้แจ้งเรื่องที่ญี่ปุ่นเตรียมทำสงคราม โดยจะบุกลงทางใต้ในเอเซียอาคเนย์ ตลอดทั้งไทย พม่า มลายู จึงขอให้ไทยได้เตรียมการต้านทานร่วมกันกับอังกฤษ


ทางรัฐบาลไทยได้เสนอแผนการสงครามของญี่ปุ่นไปให้เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา และ อังกฤษทราบ ได้มีการประชุมระหว่างฝ่ายเสนาธิการของไทย กับทูตทหารของสองประเทศดังกล่าว สำหรับสหรัฐอเมริกานั้นแจ้งว่า ประธานาธิบดีรูสเวลท์ กำลังเจรจาเพื่อบีบบังคับญี่ปุ่นอยู่ และเชื่อว่าญี่ปุ่นคงไม่กล้าเข้าจู่โจม ทางฝ่ายอังกฤษรู้สึกวิตกกังวลมาก แต่ก็หวังความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา

ส่วนอาวุธยุทโธปกรณ์ตามที่ไทยได้ร้องขอไปนั้น ทางสหรัฐอเมริกายินดีจะส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดมาให้จำนวนหนึ่ง โดยจะส่งผ่านมาทางฟิลิปปินส์ ส่วนการสนับสนุนจากอังกฤษนั้น ฝ่ายอังกฤษตอบปฎิเสธมาว่า ประเทศอังกฤษต้องรบติดพันอย่างหนักอยู่ในสมรภูมิยุโรป จึงไม่มีอาวุธจะส่งมาสนับสนุนให้ได้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน จะมีก็เพียงปืนใหญ่สนาม และปืนสโตรกส์ ซึ่งมีจำนวนไม่มากนัก
นโยบายการต้านทาน และแผนการสงครามต่อญี่ปุ่นนั้น ทางสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ มีนโยบายไม่สอดคล้องกัน กล่าวคือตอนที่ กองทัพญี่ปุ่นเริ่มเคลื่อนกำลัง นายกรัฐมนตรี เชอร์ชิลส์แห่งอังกฤษ ได้เสนอร่างโทรเลขให้ประธานาธิบดีรูสเวลท์ แห่งสหรัฐอเมริกา ลงนามยื่นคำขาดต่อรัฐบาลญี่ปุ่น ร่วมกับประเทศในเครือจักรภพของอังกฤษ ในวันที่ ๕ ธันวาคม 2484 แต่ประธานาธิบดีรูสเวลท์ยังลังเล จึงไม่ยอมลงนามเพราะเกรงว่าทางรัฐสภาสหรัฐ ฯ จะไม่รับรอง กับทั้งยังได้ขอร้องอังกฤษยับยั้งการส่งทหาร เข้ามายันกองทัพญี่ปุ่นในดินแดนไทย เพราะเกรงจะถูกประนามว่า เป็นฝ่ายรุกราน อย่างไรก็ตามประเทศทั้งสองก็ได้แสดงความสนใจ ( GAEAT CONGER) ต่อสถานการณ์นี้
ทูตทหารบกของเยอรมัน ได้เสนอบันทึกลับต่อ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ให้เร่งรัดปรับปรุงกองทัพโดยเร่งด่วน เพื่อรับสถานการณ์สงครามขนาดใหญ่ ที่จะเกิดขึ้นในเอเซีย เพื่อใช้เป็นอำนาจในการรบ และการเจรจาทางการเมืองให้เป็นผลสำเร็จ กับทั้งมีความเห็นว่าควรจะหลีกเลี่ยงการสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่น เพราะจะทำให้เกิดความสูญเสียอย่างหนัก และประเทศไทยจะหวังพึ่งชาติอื่นไม่ได้เลย ก่อนที่กองทัพญี่ปุ่นจะบุกอาเซียอาคเนย์ 2 เดือน ทูตทหารเยอรมันประจำประเทศไทย ได้แจ้งให้ทราบเป็นการลับเฉพาะว่า ญี่ปุ่นจะบุกอินโดจีนผ่านประเทศไทยทางด้านอรัญญประเทศ เพื่อมุ่งไปโจมตรีพม่า และจะมีกำลังหนึ่งกองพลตรึงอยู่ที่กรุงเทพ ฯ ส่วนอีกสี่กองทัพใหญ่ จะกระจายขึ้นตามฝั่งทะเลภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ไปถึงโกตาบารู ซึ่งเป็นแผนการที่แน่นอน และย่ำว่าอย่าได้แจ้งรัฐบาลประเทศใดทราบว่า กระแสข่าวนี้มาจากทูตทหาร


จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เชิญทูตทหารบก และทูตทหารเรือญี่ปุ่น มาสอบถามก็ไม่ได้ความกระจ่าง โดยตอบว่าไม่ทราบเรื่อง แต่ได้ให้ความเห็นว่า ถ้ากองทัพญี่ปุ่นจะโจมตีสิงคโปร์จริง ก็น่าจะกระจายกำลังขึ้นตามฝั่งทะเลดังกล่าว
เมื่อได้แจ้งเรื่องนี้ให้ทูตทหารสหรัฐอเมริกา และอังกฤษทราบเป็นการด่วน ทั้งสองประเทศถือว่า เป็นข่าวสำคัญและเริ่มไหวตัว


การปฎิบัติของสหรัฐและอังกฤษ
ประธานาธิบดีรูสเวลท์ ได้มีสารส่วนตัวถวายสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์ญี่ปุ่น โดยให้ทรงยับยั้งแผนการบุกประเทศในอาเซียอาคเนย์ แต่มิไช่การยื่นคำขาด เพราะสหรัฐ ฯ เองก็ไม่ต้องการทำสงครามกับญี่ปุ่น ในย่านมหาสมุทรแปซิฟิค เพราะต้องเตรียมจะประกาศสงครามกับเยอรมัน ซึ่งจะต้องใช้กำลังมหาศาลในภาคพื้นยุโรป ส่วนทางด้านประเทศไทย ฝ่ายทหารของสหรัฐ ฯ เห็นว่า ถ้ากองทัพญี่ปุ่นยกกำลังเข้าบุก กองทัพไทยก็ไม่มีกำลังพอที่ต้านทานได้ และคงจะต้องยอมจำนนในเร็ววัน เพราะฉะนั้นจึงได้สั่งระงับการส่งเครื่องบินทิ้งระเบิด จำนวนหนึ่ง ซึ่งจอดรอคอยการรับมอบกันที่


ฟิลิปปินส์ให้กับกองทัพอากาศไทยนั้นเสีย
ส่วนอังกฤษได้เสริมกำลังในมลายูและขอให้ไทยเป็นกองระวังหลัง โดยอังกฤษได้เตรียมกำลังจากอินเดีย ซึ่งมีกรมรถรบและรถยนต์ กับได้ส่งทหารสองกรม และกำลังทหารจากออสเตรเลีย จำนวนสองกองพลน้อย ซึ่งเมื่อรวมกับกำลังของมลายู และของอังกฤษแล้วจะมีกำลังกว่า 80 กองพัน ในการประชุมกับทูตทหารอังกฤษ และฝ่ายเสนาธิการของไทย อังกฤษได้ขอร้องให้ไทยเป็นกองระวังหลัง เพื่อให้อังกฤษสามารถถอนกำลังออกจากมลายู ในกรณีที่ต้านทานกำลังญี่ปุ่นไว้ไม่ได้ และอังกฤษมิได้ให้ความช่วยเหลือในด้านอาวุธยุทโธปกรณ์แต่อย่างใด


การเตรียมการต่อสู้ภายในประเทศ
ทางรัฐบาลไทยได้ทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ด้วยการประกาศสู้ตาย และเผาผลาญทำลายบ้านเมือง ไม่ให้ข้าศึกได้ใช้ประโยชน์ได้

ในกรณีที่รุกรานแล้วสู้ไม่ได้
ต่อมาเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2484 ทูตทหารเยอรมันได้เข้าพบ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เพื่อแจ้งให้ทราบว่า กองทัพญี่ปุ่นได้เคลื่อนกำลังมุ่งสู่ทะเลใต้ ด้วยขบวนเรือลำเลียงกว่า 80 ลำ มีเรือรบคุ้มกันเป็นจำนวนมาก ผ่านทะเลจีนมุ่งสู่อ่าวไทย และตรงไปยังชายฝั่งจังหวัดทางภาคใต้ของไทย ตามจุดต่าง ๆ และกำลังทางบก ส่วนใหญ่มายันอยุ่ในเขตแดนเขมรกับประเทศไทย พร้อมที่จะเคลื่อนกำลังเข้าสู่ดินแดนไทย ตามคำสั่งแม่ทัพใหญ่ของญี่ปุ่น การดำเนินการทุกอย่าง เป็นไปตามที่ได้เคยรายงานไว้ เมื่อสองเดือนก่อนทุกประการ
จอมพล ป.พิบูลสงครามได้ทราบเรื่องแล้ว จึงได้รีบออกเดินทางไปอรัญประเทศ พร้อมด้วย พลโท จิระ วิชิตสงคราม เสนาธิการทหารบก และพลตรี จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ โดยมิได้มอบหมายสั่งการ และแจ้งให้ทราบ ว่าจะไปที่ใด กลับเมื่อใด กับทั้งมิได้มีเครื่องมือสื่อสารติดต่อกันได้กับกองบัญชาการทหารสูงสุด และทางคณะรัฐมนตรี
ในตอนบ่ายของวันที่ 6 ธันวาคม 2484 นักบินตรวจการณ์ของกองทัพออสเตรเลีย ได้บินตรวจอ่าวไทย พบเรือลำเลียงทหารของกองทัพญี่ปุ่น ซึ่งมีเรือรบคุ้มกันมาสองขบวน จึงได้รายงานไปยัง กองบัญชาการทหารสูงสุดที่สิงคโปร์ นายพลเพอร์ซิวัล ผู้บัญชาการทหารสูงสุดที่สิงคโปร์ ได้สั่งให้กำลังกองทัพเรือพร้อมทั้งเครื่องบิน ออกโจมตีทำลายการเคลื่อนที่ของกองทัพญี่ปุ่นในท้องทะเลหลวง แต่จอมพล เซอร์ โรเบิร์ท บรุค ป๊อปแฮม ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพอังกฤษภาคพื้นเอเซีย พิจารณาเห็นว่า ขบวนเรือของกองทัพญี่ปุ่นดังกล่าว มุ่งเข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง จึงไม่ใช่ธุระของอักฤษ ดังนั้นจึงเพียงแต่สั่งการเตรียมพร้อมอันดับหนึ่งไว้เท่านั้น
การดำเนินการของรัฐบาลไทย เมื่อญี่ปุ่นขอเดินทัพผ่านไทย


ในระหว่างวันที่ 6-7 ธันวาคม 2484 วงการทูตในประเทศไทย ได้มีการติดต่อกันทางโทรเลข และโทรศัพย์กันวุ่นวาย จากรายงานข่าวที่มีขบวนเรือลำเลียง และเรือรบของกองทัพญี่ปุ่น จำนวนประมาณ 80 ลำ ได้แล่นผ่านอ่าวคัมรานของญวนมุ่งหน้ามาที่อ่าวไทย
ตอนบ่ายวันที่ 7 เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ได้ขอเข้าพบ นายดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยแจ้งว่ามีเรื่องสำคัญที่สุดที่จะต้องปรึกษาโดยด่วน เกี่ยวกับเรื่องที่กองทัพญี่ปุ่น จะต้องขอผ่านประเทศไทย แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงว่า ไม่สามารถให้คำตอบได้ เพราะต้องรอนายกรัฐมนตรีซึ่งไปตรวจราชการต่างจังหวัดอยู่
ในคืนวันเดียวกัน พลตำรวจเอกหลวงอดุลย์ เดชจรัส รองนายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาข้อเรียกร้องของญี่ปุ่น

ซึ่งแยกประเด็นได้ ๔ ประการคือ
1. ขอให้กองทัพญี่ปุ่นผ่านประเทศไทย โดยจะเคารพอธิปไตยของไทย
2. ให้ประเทศไทย ทำสัญญาเป็นพันธมิตรร่วมกับญี่ปุ่น
๓. ให้ประเทศไทยเป็นภาคีประเทศอักษะ
๔. ไม่ตกลงอะไรเลยก็ได้


คณะรัฐมนตรีตกลงอะไรไม่ได้ จำเป็นต้องรอนายกรัฐมนตรี เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น พร้อมด้วยทูตทหารบก - เรือ กับนายทหารติดตามอีก 6 - 7 นาย ได้มานั่งคอยคำตอบอยู่ที่ตึกชั้นล่าง ของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แต่เมื่อยังไม่ได้รับคำตอบก็ต้องกลับไปก่อน และแจ้งว่าเวลา ๕ นาฬิกา จะกลับมาใหม่ เพื่อขอรับคำตอบโดยทันที หาไม่จะดำเนินการตามแผนการ
เช้าวันที่ 8 ธันวาคม 2484 เวลาประมาณ 6 นาฬิกา จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เดินทางมาถึงที่ประชุม คณะรัฐมนตรี พร้อมด้วยพลอากาศตรี พระเวชยันต์ รังสฤษดิ์ แม่ทัพอากาศ พลโท จิระ วิชิตสงคราม เสนาธิการทหาร และพลตรี จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ รัฐมนตรี เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นพร้อมทั้งคณะฑูตทหาร ได้ตรงเข้ามาห้อมล้อม และขอคำตอบโดยทันที แต่จอมพล ป.พิบูลสงคราม แจ้งเรื่องนี้เป็นเรื่องความเป็นความตาย ต้องปรึกษาและขออนุมัติคณะรัฐมนตรี และต้องเป็นคำตอบของรัฐบาล ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัว ในที่สุดเอกอัครราชทูตก็ตงลงให้เวลา 30 นาที สำหรับคำตอบ
ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้ขอให้ แม่ทัพบก แม่ทัพเรือ และแม่ทัพอากาศ ชี้แจงให้ทราบว่า กองทัพไทยจะสู้รบต้านทานกับกองทัพญี่ปุ่นได้เพียงใด ก็ได้รับคำตอบจากแม่ทัพบกและแม่ทัพอากาศ (แม่ทัพเรือ เข้ามาที่หลัง) แถลงว่าไม่มีทางที่จะต่อต้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา และอังกฤษไม่ได้ช่วยเหลือไทยแต่ประการใด ฝ่ายสหรัฐได้สั่งงดไม่ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิด จำนวนหนึ่งตามที่ตกลงไว้เดิม ฝ่ายอังกฤษมีกำลังกองทัพบก กองทัพเรือ และนาวิกโยธิน อยู่เป็นจำนวนมากที่พอจะรับมือกับกองทัพญี่ปุ่นได้ แต่กลับขอให้ไทยซึ่งมีกำลังอยู่ในภาคใต้เพียงไม่กี่กองพัน