เรื่องของไทยในอดีต

 

เรื่องของไทยในอดีต

พ.ศ.๑๔๕๘
พระเจ้าพังคราช ครองราชย์อาณาจักรโยนกเชียงแสน

พ.ศ.๑๔๖๔
พระเจ้าพรหมโอรสองค์ที่สองของพระเจ้าพังคราช ประสูติ

พ.ศ.๑๔๗๓
พระเจ้าพังคราช โปรดให้สร้างวัดพระธาตุจอมกิตติ เพื่อบรรจุพระบรมธาตุบนเนินเขานอกกำแพงเมืองเชียงแสน เป็นเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง

พ.ศ.๑๔๗๙
พระเจ้าพรหม โอรสพระเจ้าพังคราช ยกทัพมาขับไล่ขอม ออกไปจากอาณาจักรโยนกเชียงแสน แล้วเชิญเสด็จพระเจ้าพังคราชให้กลับมาปกครองดังเดิม ส่วนพระองค์ไปตั้งเมืองใหม่คือ เวียงไชยปราการ

พ.ศ.๑๕๔๑
พระเจ้าพรหม สวรรคต

พ.ศ.๑๕๕๘
อาณาจักรโยนกเชียงแสน ถูกน้ำท่วมจมลง

พ.ศ.๑๖๖๓
ขุนเจื๋อง โอรสขุนจอมธรรม ครองราชย์ทางแคว้นพะเยา

พ.ศ.๑๗๙๒
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เสวยราชย์ที่กรุงสุโขทัย

พ.ศ.๑๘๐๔
พญาเม็งราย โอรสพญาลาวเม็งและนางเทพคำขยาย ทรงครองเมืองเงินยางเชียงราย

พ.ศ.๑๘๒๒
พระยาบาลเมือง ครองราชย์

พ.ศ.๑๘๒๒ - ๑๘๔๑
พ่อขุนรามคำแหง ฯ ครองราชย์ที่สุโขทัย

พ.ศ.๑๘๒๖
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประดิษฐ์อักษรไทย (ลายสือไทย)

พ.ศ.๑๘๓๕
พญายีบา กษัตริย์เมืองหริภุญไชย สืบจากพระนางจามเทวี พ่ายแพ้เสียเมืองแก่พญาเม็งราย

๑๒ เมษายน ๑๘๓๙
เป็นวันตั้งเมืองเชียงใหม่ ตามปรากฏในศิลาจารึกวัดเชียงมั่น ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖

พ.ศ.๑๘๔๑
พระยาเลอไทย ครองราชย์

๓๐ เมษายน ๑๘๕๗
วันพระราชสมภพสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง วันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ สวรรคต พ.ศ. ๑๙๑๒

๕ กันยายน ๑๘๖๓
ที่กลางเวียงเชียงใหม่ เกิดฟ้าผ่าต้องพ่อขุนเม็งราย สวรรคต รวมพระชนมายุ ๘๑ พรรษา

พ.ศ.๑๘๙๐
พระยางั่วนำถุม ครองราชย์

พ.ศ.๑๘๙๐ - ๑๙๑๑
พระยาลิไทยหรือพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ครองราชย์