ให้ประโยชน์และความรู้ตั้งแต่พื้นฐานแก่บุคคลทุกประเภท ในการพัฒนาการพูด เรียนรู้เทคนิคพูดอย่างไรให้คนสนใจฟัง ปัจจัยที่จะทำให้พูดได้ดีและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การสื่อสารอย่างผู้นำ
การพูด
แนะนำตัวเอง
ประชาสัมพันธ์
ประกาศ ข่าว , ข้อความ อื่น ๆ
สุนทรพจน์ , บรรยาย , อภิปราย
การประชุม
การสัมภาษณ์
การเสนอโครงการ
การจัดรายการ ( พิธีกร )
การจัดกิจกรรม , เกม , เพลง
การแสดงละคร , บทบาทสมมติ
การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า
แสดงไปโดยลำดับไม่ตัดลัดให้ขาดความ
อ้างเหตุผลให้ผู้ฟังเข้าใจ
ตั้งจิตปรารถนาดีต่อผู้ฟัง
ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ
ไม่แสดงธรรมกระทบตนเองและผู้อื่น
บุคลิกการพูดที่ดีตามหลักพระพุทธเจ้า
พูดถูกกาล
พูดคำจริง
พูดจาอ่อนหวาน
พูดมีประโยชน์
พูดด้วยจิตเมตตา
ศิลปะการพูดต่อที่ชุมชน
การพูดประกอบด้วยอะไรบ้าง
องค์ประกอบของการพูด
ผู้พูด
เนื้อหา ผู้ฟัง
ผู้พูด
ต้องรู้จักใช้ภาษา อากัปกริยา ท่าทาง และบุคลิกภาพของตน เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนทัศนคติของตน ไปสู่ผู้ฟังให้ดีที่สุด ให้เข้าใจง่าย ชัดเจน รวดเร็ว
เนื้อหา
ผู้พูดต้องรู้จักเลือกพูดในเรื่องที่ตนถนัด มีความเข้าใจ หัวข้อ เนื้อหา อย่างละเอียดลึกซึ้ง มีหลักเกณฑ์คือ คำนำ เนื้อเรื่องสรุป
ผู้ฟัง
ผู้พูดเป็นผู้กำหัวใจ ของผู้ฟังไว้ในมือผู้พูดควรจะได้เรียนรู้ว่าผู้ฟังของตนเป็นใคร อายุ เพศ อาชีพ ศาสนา ความเชื่อ ทัศนคติ หรือภูมิหลัง ตลอดจนสถานะทางสังคม
ผู้พูดที่ฉลาดต้องรู้จักวิเคราะห์ผู้ฟังของตนก่อนการพูดทุกครั้ง
เตรียมวิเคราะห์
อายุ
เพศ
ศาสนา และความเชื่อ
ฐานะและอาชีพ
การศึกษา
ความสนใจ
สถานที่
เวลา , โอกาส
ก่อนพูดต้องเตรียมอะไรบ้าง
เตรียมตัว
ภาษาและน้ำเสียง
ภาษาเป็นเครื่องสื่อความหมาย แสดงถึงรสนิยมที่ดีงามของผู้พูด ผู้พูดเก่ง พูดดีไม่จำเป็นต้องใช้ศัพท์แปลก ๆ ควรใช้ถ้อยคำที่มีความหมายชัดเจนถูกต้องตามหลักภาษาไทยเข้าใจง่าย
น้ำเสียงจะบ่งบอกถึงความสุภาพ หรือความไม่สุภาพถึงอารมณ์และความรู้สึกของผู้พูดได้เป็นอย่างดี น้ำเสียงที่ดี ควรแจ่มใสนุ่มนวลชวนฟัง การใส่คำว่า นะคะ ครับ นะครับ ท้ายประโยคการพูด เป็นการแสดงถึงความเคารพ ให้เกียรติ แต่อย่าใช้มาก
ท่าทางและใบหน้า
การแสดงออกทางสีหน้าเป็นสื่อที่ทำให้ผู้ฟังรับรู้ และเข้าใจความรู้สึก และอารมณ์ของผู้พูด รวมถึงการใช้มือ ท่าทางประกอบการพูดได้อย่างแนบเนียนเป็นธรรมชาติสอดคล้องเหมาสะมกับเนื้อหาที่จะพูด จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายได้อย่างชัดเจน
บุคลิกภาพและความมั่นใจ
การเลือกแต่งกาย ให้เหมาะสมกับบุคลิกโดยยึดหลักเหมาะสม สุภาพและเรียบร้อยย่อมแสดง
ออกถึงนิสัยใจคอ และรสนิยมของผู้พูด ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้พูด
สายตา
สายตาเป็นสื่อที่บอกให้ผู้ฟังรู้ว่า ผู้พูดสนใจมากน้อยแค่ไหน สบตาผู้ฟังบ้างเป็นครั้งคราว ไม่ถึงขนาดมองจ้องตลอดเวลา จะกลายเป็นเสียมารยาท
เดินและยืน
อย่าปล่อยตัวตามสบายจนเกินงาม เมื่ออยู่ต่อหน้าชุมชน แต่ไม่ถึงขนาดเกร็งจนเครียดหรือแข็งทื่อเหมือนหุ่นยนต์ ยืนให้สง่างาม หลังไม่โกง หน้าอกไม่ยื่นจนน่าเกลียด ไม่กระมิดกระเมี้ยนเหนียมอายจนน่าหมั่นไส้
ทางรวบรัดสู่การเป็นนักพูด
จงเตรียมเรื่องที่เรารู้ดีที่สุด
จงเตรียมตัวมาให้พร้อม
จงสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
จงแต่งกายสะอาดเหมาะสมเรียบร้อย
จงปรากฏกายอย่างกระตือรือร้น
จงใช้กิริยาท่าทางประกอบคำพูด
จงสบสายตากับผู้ฟัง
จงใช้น้ำเสียงให้เป็นธรรมชาติ
จงใช้ภาษาของผู้ฟัง
จงยกตัวอย่างหรือแทรกอารมณ์ขัน
ผู้นำยุคใหม่ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพูด ไม่ว่าจะเป็นระหว่างบุคคลหรือสาธารณชน
กำหนดจุดมุ่งหมายของการพูดให้แน่ชัด
(SET - UP OBJECTIVE)
จุดมุ่งหมายโดยทั่วไปมี ๕ ประการ
เพื่อเร้าใจ (TO STIMULATE)
เพื่อโน้มน้าว (TO CONVINCE)
เพื่อเร่งรัด (TO ACTULATE)
เพื่อบอกเล่า (TO INFORM)
เพื่อบันเทิง (TO ENTERTAIN)
ขั้นตอนในการดำเนินเรื่อง
บันได 5 ขั้น ร่วมกระทำ ACTION
เห็นภาพ VISUALIZATION
พอใจ SATISFACTION
ต้องการ NEED
สนใจ ATTENTION
ขั้นที่ 1 ดึงความสนใจของผู้ฟังทันที
ขั้นที่ 2 ทำให้ผู้ฟังเกิดความต้องการจะฟัง
ขั้นที่ 3 ทำให้ผู้ฟังเกิดความพอใจ
ขั้นที่ 4 ยกตัวอย่างข้อเท็จจริงให้ เห็นภาพ
ขั้นที่ 5 เรียกร้องให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
ปัจจัยที่เป็นส่วนประกอบ เพื่อช่วยสนับสนุน คำพูดของท่านเป็นปิยะวาจา อยู่หลายประการ
จริงใจ ท่านต้องมั่นใจว่าคำพูดทุกคำของท่านออกมาจากความจริงใจ
ไร้อารมณ์ ท่านต้องตัดอารมณ์โกรธ โมโห สงบสติพิจารณาเหตุผล
ชมก่อน การเริ่มต้นด้วยการชมจะช่วยลดแรงกระทบให้น้อยลง
ค่อยตำหนิ เมื่อท่านเปิดหัวใจเขาได้ เขาก็พร้อมที่จะฟังคำตำหนิจากท่านแต่ไม่ใช่ประเภทขวานผ่าซาก
พิศดู ขณะที่ท่านกำลังพูดอยู่กับเขาปฏิกิริยาของเขาเป็นอย่างไร
ปูทาง ค่อย ๆ พูด ค่อย ๆ จา การพูดแล้วทำให้คนฟังทำตามที่เราต้องการถือว่าเป็นสุดยอดของคำพูด
สร้างสัมพันธ์ ก่อสร้างสัมพันธ์ขึ้นมาก่อนเมื่อเริ่มต้นด้วยดีสิ่งดีก็จะตามมา
รายการตรวจสอบการเตรียมนำเสนอ
เตรียมเนื้อหาพร้อมพอเหมาะกับเวลา
ภาษาเข้าใจง่าย
อุปกรณ์ครบและชัดเจน
จัดเรียงเรื่องเป็นลำดับขั้นตอน
เตรียมคำพูดขึ้นต้นและสรุป
ฝึกซ้อมการนำเสนอผลงาน
มีคนช่วยวิจารณ์ เสนอข้อแก้ไข
ตัดทอนการพูดให้อยู่ในเวลาที่กำหนด
ฝึกการพูดให้กระชับ
เตรียมการตอบคำถามไว้ให้พร้อม |