การพูดนำเสนอข้อมูล

คุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับผู้นำเสนอ

• มีการเตรียมพร้อม

• มีความเชื่อมั่นในตนเอง

• มีความเป็นกันเอง

• มีความกระตือรือร้น

• มีอารมณ์ขัน ข้อควรระมัดระวังต้องไม่ใช่เรื่องหยาบคาย ลามก อนาจาร , ตัวอย่างสั้น ๆ , อย่าให้เรื่องขำขันทำให้ผู้ฟังเสื่อมศรัทธาผู้นำเสนอ อย่านำเรื่องชนชาติศาสนาหรือชนกลุ่มน้อยมาเป็นเรื่องตลก , ถ้าคิดว่าเรื่องที่จะพูด ผู้ฟังไม่ขำ อย่าพูดดีกว่า

• มีไหวพริบปฏิภาณ

• มีการสังเกตจดจำ

• เป็นผู้ตรงต่อเวลา

• เป็นผู้มีจริยธรรม ผู้นำเสนอที่มีจริยธรรม พึงระมัดระวัง สิ่งต่อไปนี้

- ต้องมีความรู้เป็นอย่างดีในเรื่องที่นำเสนอ

- ต้องนำเสนอข้อเท็จจริงไม่บิดเบือน และแสดงความคิดเห็นอย่างถูกต้องไม่มีอคติ

- ต้องเปิดเผยแหล่งที่มาของข้อมูลเพื่อเป็นการให้เกียรติ

แนวปฏิบัติในการนำเสนอผลงาน

สิ่งที่ควรทำ

• ซ้อมพูดและซ้อมการใช้อุปกรณ์ให้คล่อง

• แต่งกายให้เรียบร้อย กลมกลืน

• เดินตรงไปสู่ที่พูดด้วยความเชื่อมั่น

• ยืนให้มั่นคง หันหน้าเข้าหาผู้ฟัง พร้อมกับสบสายตา

• ปล่อยอริยาบทให้เคลื่อนไหวอย่างอิสระ

• เตรียมคำพูดขึ้นต้นและลงท้ายจำให้ได้และให้ถูกจังหวะ

• กล่าวนำเรื่องที่กำลังจะพูด

• ออกเสียงให้ชัดเจน และดังพอกับผู้ฟัง

• ใช้อุปกรณ์ให้ถูกจังหวะเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง

สิ่งที่ไม่ควรทำ

• อย่าเริ่มต้นด้วยการออกตัว ถ่อมตัว

• อย่าอ่าน หรือพูดจากต้นฉบับ

• อย่าเดินขวักไขว่ไร้จุดหมาย

• อย่าจ้องหน้า หรือคอยโต้ตอบผู้ฟังอยู่คนเดียว

• อย่าพูดเรื่อยเปื่อย โดยไม่สนใจผู้ฟัง

• อย่ายืนตรงที่มีสิ่งเร้าอื่นแย่งความสนใจ

• อย่าทำหน้าหรือท่าทางเล่นล้อกับเพื่อน

• อย่าพูดเกินเวลาที่กำหนด

• อย่าจบด้วยคำพูดที่ปราศจากความหมาย

ข้อพึงระวังในการนำเสนอ

• การปรากฏตัว

• เดินอืดอาด

• เดินลุกลี้ลุกลน

• เดินเกร็งแข็งทื่อ

• เดินแกว่งแขนไปมา

• เดินเอาแขนแนบลำตัวอย่างผิดธรรมชาติ

• เดินจ้ำอ้าวเกือบจะวิ่งไปพูด

• แต่งกายมองแล้วขัดเขิน

• การยืน

• หลุกหลิก

• แข็งนิ่ง

• โงนเงน

• จ้องจังก้า

• ยืนเอียงข้าง

• ยืนย่อเท้า

• หันรีหันขวาง

• การมอง

• มองข้ามศรีษะผู้ฟัง

• มองหนักไปด้านหนึ่ง

• มองเฉพาะแถวหน้า

• มองคนเดียวตลอดเวลา

• ก้มมองพื้นหรือรองเท้าตนเอง

• เงยหน้ามองเพดาน

• มองออกนอกประตูหน้าต่าง

• ท่าทาง

• งุ่มง่ามเคอะเขิน

• มืออยู่ไม่สุข

• ท่าซ้ำซาก

• อยู่ในท่า ล้วง แคะ แกะ เกา หาว ยัก โยก ถอน ค้อน กระพริบ

• การพูดออกตัว

• เริ่มต้นด้วยการของอภัย ขอตัว

• เยิ่นเย้อ

• ถ่อมตัวจนน่าหมั่นไส้

• ยกตนข่มท่าน

ศิลปะการสร้างโครงเรื่อง

สาระสำคัญในบทนี้ ผู้เขียนจะชี้ให้เห็นว่า จะรบทั้งทีต้องมีอาวุธ จะพูดทั้งทีต้องมีศิลปะ

เราจะนำท่านสู่วิธีต่อสู้ด้วยปากกันแล้วนะคราวนี้ ถ้าเป็นเรือเป็นรถก็เท่ากับเรากำลังจะติดเครื่องแล้ว หลังจากที่เราไหว้ครูกันมานานพอสมควร

บทแรกหรือฉากแรก เราต้องรู้โครงสร้างการพูด 3 ประการ ด้วยกัน ซึ่งเราเรียกว่า Main Outline

จากการวิจัยของบัณฑิตนักพูดทั้งหลายว่า มีความถูกต้องที่สุดในปัจจุบันคือ

1. ส่วนหัว หรือ คำนำ คำเริ่มต้น (Introduction)

เรียกว่า ต . 1 = ต้องตื่นเต้น

2. ส่วนกลางหรือส่วนตัวเป็นเนื้อหาสาระ

เรียกว่า ต .2 = ต้องกลมกลืนกับเรื่องที่เปิดไว้

• ส่วนหางหรือสรุปจบ (Conclusion)

ใครมี 3 ต . นี้ ประกอบอยู่ทุกครั้งในการพูด แม้ว่าจะสั้น จะยาว ( พูดน้อยพูดมาก ) ได้ชื่อ

พูดถูกหลักแล้ว ถูกส่วนผสมถ้าเป็นแกงคงมีรสชาติดี ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น ผู้พูดต้องแต่งแต้มเติมสีสันลงไปเอง แกงก็เติม หวานนิด เค็มหน่อยใส่ชูรสเข้าไปอีก มีหรือการพูดจะไม่ออกรสชาติ

ดูในรายละเอียดต่อไปเลย

• ส่วนหัวหรือคำนำ (Introduction)

ท่านเชื่อไหมว่า คำขึ้นต้นก็เหมือนลิเกออกแขก ลิเกสนุกหรือไม่อยู่ที่กี่

ออกแขก การพูดจะสนุกหรือไม่ ก็ดูที่การกล่าวนำร่องหรือคำขึ้นต้นก็ไม่ผิดเท่าไรนัก

นักพูดมือชั้นครูท่านเล่าว่า การโปรยหัวเองนั้นก็เหมือนพ่อค้าที่เสนอขา

สินค้าของเขาในตู้โชว์ สินค้านั้นต้องมีสีสันสะดุดตา ฝีมือการจัดต้องเนี๊ยบนิ้งเป็นระบบมีระเบียบ คนเห็นคนมอง ดูแล้วอยากซื้อ แล้วเดินเข้าไปดูสินค้าตัวนั้นในร้านอย่างตั้งอกตั้งใจฉันใด

การพูดนำร่องในหัวข้อเรื่องก็ต้องมีรูปแบบการขึ้นต้น ซึ่งเราเรียกว่าเป็น

การโชว์ลวดลายและสีสันเหมือนกันฉันนั้น แล้วลักษณะสีสันการขึ้นต้นนั้นเป็นอย่างไร

และกระหายใคร่จะฟังเราพูดมี 5 ประการ

• การพาดหัวข่าว (Headline)

• ตั้งคำถาม (Asking Question)

• ชวนสงสัย (Interest Arousing)

• อ้างบทกวี (Quotation)

• ให้สนุกสนาน (Entertainment)

ส่วนในหนังสือ การพูดระบบธรีซาวด์ ของร้อยเอก ดร . จิตรจำนงค์ สุภาพ กล่าวว่ามี 7 ประการ คือ

• พาดหัวข่าว (Headline)

• กล่าวคำถาม (Asking Question)

• ความสงสัย (Interest Arousing)

• ให้รื่นเริง (Intertaining)

• เชิงกวี (Example)

• มีตัวอย่าง (Example)

• ช่างบังเอิญ (Happening)

คราวนี้ เรามาดูตัวอย่างไปพร้อม ๆ กันทั้ง 2 ความเห็นกันเลยดี

• พาดหัวข่าว (Headline)

แน่นอนที่สุด การพาดหัวข่าว ต้องทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ เรื่องง่าย ๆ ให้ดูเป็นเรื่องสำคัญ มันจะถึงมันในอารมณ์คนอ่าน หมายความว่านำผลมาพูดก่อนแล้วย้อนเหตุภายหลัง เช่น

• โป๊ะล่มคนจมหายคนตายเพียบ ( ไทยรัฐ )

• ต . ช . ด . เจออริใหม่ กองทัพอุบาทว์ ( ไทยรัฐ )

• ปรนสวาท มอมยา กามวิตถาร ( อาชญากรรม )

• เลือกตั้ง กทม . เหงาคนใช้สิทธิ์โหรงเหรง ( ประชาธิปไตย )