กล่าวคำถาม (Asking Question)
การขึ้นต้นลักษณะของคำถาม ต้องเป็นคำถามที่แปลก ๆ น่าคิด น่าสนใจ น่าติดตามหาคำตอบ ถามผู้ฟังสักประโยคสองประโยคที่น่าทึ่ง ก็จะได้ผลดีมากเช่น
ท่านเชื่อหรือไม่ว่า ปัจจุบันโลกเรากำลังก้าวสู่ยุคใด ยุคธรรม ยุคทองหรือยุคของเทคโนโลยีกันแน่
ท่านเคยฟังธรรมภาษิตบทนี้ไหม มาตา มิตฺตํ สเก ฆเร มารดาเป็นมิตรในเรือนตน
ท่านเชื่อหรือไม่ว่า หากมือเราแบวางอยู่อย่างนี้ โลกจะหยุดทันทีทุกแห่งหน หากเราร่วมมือกันอย่างนี้ทุกคน ความสุขจะเริ่มต้นตามมือเราเป็นต้น
จุดสำคัญในการเปิดเรื่อง ต้องให้มีความใกล้ชิดและสัมพันธ์กับเรื่องที่เราจะพูดนั้น เป็นสิ่งสำคัญมาก
ความสงสัย (Interest Arousing)
ท่านเชื่อไหมว่า มนุษย์เราเป็นคนขี้สงสัยมาแต่ไหนแต่ไรแล้วแม้แต่หูของคนเรายังตั้งเป็นคำถามอยู่ตลอดเวลามิใช่หรือ
สงสัยเมื่อไรก็ถามเมื่อนั้น การเปิดเรื่องด้วยคำถามและด้วยความสงสัยเกือบจะแยกกันไม่ออก บางครั้งเราก็ผสมกันก็มี
การเปิดเรื่องหรือเริ่มต้นด้วยความสงสัย เป็นการท้าทายได้ไม่น้อย ท้าทายความรู้สึกของผู้ฟังเพื่อจะหาคำตอบว่าจะเป็นอย่างไร เช่น
เป็นไปได้ไหมครับที่คนเราจะรวยจากสิ่งที่มองไม่เห็น
ท่านทราบไหมครับว่า ระยะเพียงที่ผมลุกจากเก้าอี้มาบนเวที เกิดการสูญเสียขึ้นแล้ว 2 ล้านบาท
ท่านเคยเฉลียวใจบ้างไหม การกินอาหารตามภัตตาคารใหญ่ ๆ ทำให้อายุสั้น
ผมไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่าผมขึ้นมาพูดจะเคราะห์ร้าย แต่มันก็เกิดขึ้นจริง ๆ
ท่านเชื่อหรือไม่ว่าเทคโนโลยีเจริญมาก ๆ จะทำให้ลูกแก่กว่าพ่อแม่
ให้รื่นเริง (Entertaining)
การขึ้นต้นแบบนี้ มุ่งหมายเพื่อคลี่คลายบรรยากาศในห้องประชุมให้เบิกบานแจ่มใสทั้งผู้พูดและผู้ฟัง ถือว่าเป็นการสร้างอารมณ์ขันก่อนเปิดฉากพูด แถมให้ความเป็นกันเองอีกโสตหนึ่งด้วย ถือว่าผู้พูดไม่เอาตัวออกห่างจากผู้ฟังมากนัก เช่น
วันนี้ผมตั้งใจจะไม่พูดอะไรเลย แต่รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัวคล้ายจะไม่สบาย จะขอพูดอะไรบางอย่าง
ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ ผมมีโอกาสมาพูดที่นี่ ผมใช้สินค้าบริษัทของท่านมานานแล้ว วันนี้พูดแล้วจะขอถอนทุนคืนบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ จะมีอะไรอ๊ะเปล่า
สวัสดี ข้าพเจ้าทั้งหลาย บัดนี้ได้เวลาเป็นมงคลแล้วขอกราบเรียนเชิญท่านประธาน ขึ้นสู่ยอดเสา บัดนี้ เป็นต้น
เชิงกวี (Quatation and Poem)
การขึ้นต้นแบบนี้บางทีก็เรียกว่าการอ้างเอาวาทะของผู้มีชื่อเสียง
มากล่าว ซึ่งวาทะนั้น ๆ เป็นที่ยอมรับและรู้จักกันดีในวงการเช่น
โบราณว่า สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น
อันน้ำจืด รสสนิท ดีกว่าจิตจืด
ถึงเย็นชืด ลิ้มรส หมดกระหาย
แต่จิตจืด รสระทม ขมมิวาย
มักทำลาย มิตรภาพ ให้ราบเตียน
พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา
6. มีตัวอย่าง (Example)
การขึ้นต้นแบบมีตัวอย่าง ควรเป็นตัวอย่างที่มีจริงและสามารถนำเข้ามา
ประยุกต์ผสมผสานกับเรื่องที่เราจะพูดได้อย่างกลมกลืนเช่น
เราจะพูดถึงมารยาทของคนในสังคมเมืองหลวง
ท่านเชื่อไหมครับว่า ขณะนี้ผมก้าวขึ้นรถโดยสารประจำทางต้นสายปลาย
ทางสี่พระยา นั่งมาถึงราชเทวีมีสตรีท้องแก่ก้าวขึ้นมาหาที่นั่ง ด้วยความสำนึกในความเป็นสุภาพบุรุษ ผมก็ลุกให้เธอนั่ง ก่อนนั่งเธอมองผมด้วยสายตาที่ประหลาด ทันใดเธอก็ควักผ้าเช็ดหน้า ขึ้นมาเช็ดเก้าอี้ก่อนที่จะนั่งปากของเธอไม่พูดอะไรกับผมสักคำ ผมนึกอยู่ในใจว่านี่หรือคนเมืองหลวงที่ว่ามีการศึกษาดี
ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ ขณะที่ผมขึ้นเวทีใหม่ ๆ ใคร ๆ ก็วิจารณ์ผมว่าใน
เวลาเพียง 2 นาที ผมพูดมี เอ้อ อ้า ละก็ แบบว่า รวมแล้ว 20 ครั้ง แต่บัดนี้ ผมไม่มีพูดเอ้อ อ้า ละก็ แบบว่า อีกแล้ว ทั้งนี้เพราะ
ช่างบังเอิญ (Happening)
ผมได้รับเชิญไปเป็นพิธีกรงานแต่งงานของอาจารย์คู่หนึ่งที่โรงแรมแม่น้ำ
ถนนเจริญกรุง หลังจากผมนำร่องแขกเนื่องในการจัดงานในวันนั้นพอท้วม ๆ แล้วก็เชิญประธานฝ่ายเจ้าสาวขึ้นมาให้โอวาท ท่านกล่าวว่า
ท่านผู้มีเกียรติ เจ้าบ่าวและเจ้าสาวที่เคารพรักคะ ( ตาท่านก็เหลือบไปเห็น
รูปหัวใจช้อนกัน มีจุดสีขาวเป็นแรเงาอยู่ตรงกลางหน้าเวที )
การแต่งงานก็คือการเป็นพาสเนอร์ ( ท่านหยอด ) ดิฉันมิได้หมายถึงการ
เป็นคนเสริฟอาหารและหากินกลางคืน แต่ดิฉันหมายถึง การเป็นหุ้นส่วนชีวิต ผู้ชายโบราณให้เป็นช้างเท้าหน้า หญิงเป็นช้างเท้าหลัง เท้าหลังอยู่บ้านก็อย่าอยู่เฉย ๆ ช่วยพี่เขาทำงาน เขากลับมาจากทำงานช้าก็อย่าหน้าบึ้ง ต้องให้เวลาและช่องว่างเขาบ้างดุจรูปหัวใจที่ซ้อนกันอยู่และมีช่องว่าง ฉะนั้น นี่เป็นตัวอย่างความบังเอิญระหว่างการพูดที่มีสัญลักษณ์อะไร ๆ ที่นำมาผสมผสานการพูดได้
อีกเรื่องผู้เขียนเองมีโอกาสไปทำบุญเทศน์มหาชาติแทนท่านผู้อำนวยการ
ในฐานะผู้ประสานงานดรงเรียนกับวัด ที่วัดอรุณราชวราราม ฝั่งธนบุรี พระท่านพูดกับญาติโยมที่มาฟังเทศน์ในวันนั้นอย่างเสียงดังฟังขัดเจน
ญาติโยมท่านสาธุชนทั้งหลาย วันนี้เป็นวันสุดท้ายการเทศน์มหาชาติ
พรุ่งนี้เป็นวันทำบุญตักบาตรแต่เช้ามืดใครจะมาทำบุญตักบาตรที่วัดยามอรุณที่วัดแจ้ง หรือจะมาแจ้งที่วัดอรุณก็ย่อมได้นะโยมนะ ( ญาติโยมฮาตึง เพราะวัดอรุณกับวัดแจ้งเป็นวัดเดียวกัน )
นี่ก็เป็นวิธีบังเอิญเช่นเดียวกัน ทั้งนี้สุดแต่ว่าผู้พูดจะใช้ไหวพริบค้นหาคำ
พูด ถ้าไม่มีหรือนึกไม่ออกจะใช้วิธีนี้ก็หันไปใช้วิธีอื่นก็แล้วกัน
ดังกล่าวมา 7 ประการนี้ คือวิธีการเปิดเรื่องหรือการขึ้นต้นการพูดนักพูด
ฝีปากดี ๆ ในปัจจุบันเขานิยมใช้กัน แล้วท่านล่ะลองทำหรือยัง
ส่วนตัวหรือส่วนกลาง (Main Body)
เราเรียกว่า ส่วนสาระ (Content) ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งอาจเรียก
ว่า เป็นพระเอกของเรื่องก็ว่าได้ ใครพูดน้ำท่วมทุ่งก็ขาดส่วนนี้ไป พูดแล้วต้องให้มีความกลมกลืนกับเรื่องที่เปิดไว้ด้วยแปลว่า ต้องเรื่องดี
อาจารย์ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ ท่านเขียนเรื่องนี้ ไว้ในหนังสือ พูดได้พูดเป็น ว่า
พูดไปตามลำดับเหตุการณ์หรือเวลา อย่าวกวนกลับไปกลับมาจับต้นชนปลายไม่ถูก
เป็นจุดหมายของเรื่องเพียงจุดเดียว อย่ายกเหตุผลค้านกันเองในตัว ผู้ฟังจะไม่เข้าใจว่าจะเอาอย่างไรกันแน่
เร้าความรู้สึกของผู้ฟังให้มากขึ้น ๆ คามลำดับ โดยเรียงลำดับเหตุการณ์หรือยกตัวอย่าง อุทาหรณ์ที่เบา ๆ ไว้ตอนต้นและหนักขึ้น ๆ เรื่องที่คิดว่าจะเร้าความสนใจได้สูงสุดให้เก็บไว้ตอนท้าย ๆ ไม่ใช่นึกเรื่องใดได้ก่อนก็พูดออกมาก่อน อาจกลายเป็น ตอนแรก ๆ ก็สนุกดี ตอนหลังก็เซ็งเป็นบ้าเลย
อย่าออกไปนอกประเด็น หรือนอกเรื่องที่ตั้งไว้ในขณะเตรียมต้องเหลือบดูหัวข้อบ่อย ๆ ว่ากำลังพูดถึงเรื่องอะไรอยู่
พร้อมที่จะตัดตอนหรือเพิ่มเตอมขยายความได้ในกรณีจำเป็นโดยเนื้อความไม่เสีย วิธีการคือ จดเฉพาะหัวข้อเพื่อช่วยความจำ จะขยายความมากหรือน้อยแล้วแต่เวลาและเหตุการณ์เฉพาะหน้า
คราวนี้ เรามาดูข้อคิดเห็นของนักพูดนักสอนเจ้าของทฤษฎีธรีซาวด์
อาจารย์ รอ . ดร . จิตรจำนงค์ สุภาพ ในเรื่องนี้ดูบ้างว่าท่านมีความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่าอย่างไรผมขอย่อมาแต่เฉพาะข้อความใหญ่ ๆ เท่านั้นเขียนว่า
ตอนกลางหรือส่วนสาระของเรื่องต้อง
เรียงลำดับ (Ordering)
จับประเด็น (Limting)
เน้นตอนสำคัญ (Emphasizing)
บีบคั้นอารมณ์ และ (Exppressing)
เหมาะสมเวลา (Appropriate Timing) ผมขอจับหลักอธิบายไปตามความรู้ความคิดเห็นแต่ละเรื่องพอสังเขปดังต่อไปนี้
เรียงลำดับ (Ordering) หมายถึง การเรียบเรียงสาระของเรื่องที่เราจะพูดให้เป็น
ลำดับเป็นขั้นเป็นตอน จะพูดอะไรก่อน อะไรหลัง อะไรกลาง อะไรสุดท้าย ไม่กระโดดข้ามมาจนหาจุดจบไม่ได้ พูดง่าย ๆ ว่า ไม่มีลานบินที่จะลง ว่างั้นเถอะ สิ่งสำคัญในหลักข้อนี้คือ
ควรเรียงความง่ายไปยาก
ดึงเอาสิ่งน่าสนใจไว้ตอนหลังหรือตอนแรก
เรียงลำดับไปตามหมวดหมู่ของเรื่อง
เรียงข้อใหญ่ไปหาข่อย่อยหรือข้อย่อยไปหาข้อใหญ่
เรียงจากเหตุไปหาผลหรือจากผลไปหาเหตุ
เสนอปัญหาก่อนแล้วย้อยถึงการแก้ปัญหา
จับประเด็น (Limiting) หลักข้อนี้ ขอพูดเป็น 2 ข้อ คือ
การกำหนดประเด็น
การพูดในประเด็น
2.1 การพูดที่ไหน ๆ ไม่ว่าเรื่องอะไรเราต้องกำหนดประเด็นในตัว
สาระก่อนว่า จะพุดประเด็นใด กำหนดให้น้อยประเด็นได้จะเป็นการดี เพราะจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้ง เช่น จะพูดเรื่อง ประชาธิปไตย ก็ควรควรขยายในประเด็นหลักคือกระบวนการนิติบัญญัติการบริหารการเลือกตั้งและพรรคการเมือง เป็นต้น เพียงแค่นี้ก็คงพอ
การพูดอยู่ในประเด็น หมายความว่า เราจะไม่ขยายความมาก
จนเกินขอบเขตจนทำให้ประเด็นพร่ามัว หาจุดจบไม่ได้ เรียกว่าไม่พูดนอกประเด็นจนกลับบ้านไม่ถูก กล่าวคือ เข้าหาประเด็นเดิมไม่ได้นั่นเอง เกี่ยวกับเรื่องนี้ถ้าหากหวังผลในทางโน้มน้าวหรือจูงใจผู้ฟังแล้ว ควรพูดเพียงประเด็นเดียวเท่านั้น
เน้นตอนสำคัญ (Empphaszing) ความสำคัญของตอนนี้ ถ้าจะเปรียบลิเกก็คง
จะได้แก่ตอนออกรบ หนังก็ฉากตามล่า ละครก็คงเป็นตอนเข้าด้ายเข้าเข็มนั่นแหละ การพูดเรื่องใดตอนใดที่สำคัญ ๆ เราต้องอาศัยศิลปะการแสดงออกให้มาก หนักทั้ง
เสียง
ลีลา
ท่าทาง
น้ำหนักของการพูด
จะเป็นการพูดซ้ำ ๆ หรือหยุดนิ่งเพื่อเรียกร้องความสนใจย่อมทำได้เป็นพิเศษ
บีบคั้นอารมณ์ (Expressing) เราพึงเข้าใจว่า ผู้ฟังที่นั่งฟังเราอยู่เขาให้เกียรติเรา
อย่างมาก อย่าพึงถือว่า อาหารหู เราจะป้อนเขาอย่างไรก็ได้นั่นคือ การคิดผิดถนัด
เราต้องปรุงรสด้วยเนื้อหาสาระ และวิธีการพูดให้เขาติดตามได้อย่าง
กระชั้นชิด และไม่ผิดหวัง การลงเอยของเรื่องต้องลงอย่างที่ผู้ฟังคาดคิดไม่ถึง คือ เดาไม่ออกเลยว่าจะมาในแง่มุมไหน พึงพยายามดึง พยายามนำอารมณ์เขาไปด้วยลีลาการพูดอย่างสูงสุด บีบคั้นอารมณ์เขาด้วย
เรื่อง
เสียง
ท่าทาง
แล้วแตกบึ้ม ( จบ ) ลงเป็นตอนที่เปิดเผยความจริงออกมา อารมณ์ที่คั่งค้างสงสัยก็คลี่คลายออกมา
เหมาะสมเวลา (Apriate Timing)
เวลาเป็นเรื่องสำคัญของนักพูดนักพูดบางคนพูดติดลมบนลงเวทีไม่ได้
แสดงว่าไม่ไล่ไม่เลิกอย่างนั้นก็ไม่ได้ เสียทั้งมารยาท จิตวิทยา และสัญญาประชาคมเอามาก ๆ
การพูดให้เหมาะสมกับเวลามีค่าที่สุด นั่นคือ เราต้องเตรียมต้องซ้อมมา
ก่อน อย่ามาตายเอาดาบหน้า มาหาข้อมูลบนเวทีนั่นคือ การพูดที่จะเกินเวลาไปทุก ๆ สถานที่ การแถมนิดแถมหน่อยนั้นน่าเบื่อหน่าย ถ้าพูดดีก็ดีหน่อย ถ้าพูดดีน้อยก็ไปเลย
อาจารย์วัลลภ มณีแสง วิทยากรฝึกอบรมจิตวิทยาการพูด ท่านกล่าวว่า
นักพูดที่ดีนั้นต้อง
ยืนให้เด่น
เน้นให้จำ
ขำควรมี
จบทันทีเมื่อหมดเวลา
ทั้งหมดนี้ว่าด้วยลักษณะส่วนกลางหรือส่วนตัว ส่วนที่เป็นสาระ (Content) ส่วนนี้แหละที่นักพูดทั้งหลายกลัว เมื่อกลัวต้องเตรียมให้ดี การเตรียมมากนั้นดี แต่ถ้าเตรียมมาก พูดมากนั้นไม่ดี เตรียมมากพูดน้อยนั้นดีเปรียบเทียบได้กับคำกล่าวของอับบราฮัม ลินคอลป์ ที่ว่า
ข้าพเจ้าจะซื้อม้าสักตัว ข้าพเจ้าไม่ต้องการอยากทราบว่า ขนที่หาม้ามีกี่เส้น ต้องการทราบเพียงลักษณะสำคัญ ๆ ของม้าเท่านั้น
ท่านว่า มีใครบ้างไหมที่จะขายม้าไปนับขนหางม้าแล้วขายม้า ฉันใดก็ดี คนฟังเราพูดคงไม่ต้องการละเอียดเหมือนกับนับหางม้ากระมังฉันนั้น
อีกส่วนหนึ่งมีผู้เปรียบเทียบการพูดกับการเพาะพันธุ์ไม้ว่า
นักปลูกพันธ์ไม้ที่ดี จะต้องเพาะพันธุ์ไม้ไว้ในแปลงเพาะเป็นหมื่น ๆ ต้น แต่เวลาจะปลูกเขาจะตัดเอาเฉพาะต้นที่แข็งแรงเพียงไม่กี่ต้นไปปลูกในแปลงหนึ่ง ๆ เท่านั้น การเพาะพันธุ์ไม้หมื่นต้น แล้วนำไปปลูกทั้งหมื่นต้นในนแปลงเดียวกันนั้นไม่ใช่นักปลูกพันธุ์ไม้ชั้นดี
ผมเข้าใจว่า คำเปรียบเทียบนี้คงจะชัดเจนพอแล้ว ไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติม
ส่วนหางหรือส่วนสรุป (Conciusion)
การสรุปจบเป็นการเรียกร้องความน่าสนใจ ทำให้เกิดรอยประทับใจแก่ผู้
ฟังได้เป็นอย่างดี มีหลักอยู่ว่า
ต้องมีความหมายชัดเจน ไม่เลื่อนลอย
สัมพันธ์กับเนื้อเรื่องและหัวข้อเรื่อง
กระทัดรัดไม่เยิ่นเย้อ
พุ่งขึ้นสู่จุดหมายสุดยอดของการพูดทุกชนิด
การสรุปจบดี เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ให้เกิดความประทับจิตประทับใจเป็นหน้าที่ของส่วนสรุปจบหรือคำลงท้ายอย่าทำให้เข้าตำราว่า
เรือล่มเมื่อจอด
ตาบอดเมื่อแก่ หรือ
พอถึงเส้นชัยก็นอนแหง๋แก๋ เป็นต้น ซึ่งน่าเสียดายมาก นั่นก็หมายความว่า เราต้องนึกอยู่เสมอว่าการสรุปจบนั้น
ต้องยาวพอที่จะคลุมส่วนสำคัญอันพึงสงวนอย่างมิดชิด แต่ต้องสั้นพอที่จะเรียกร้องความสนใจได้ สรุปให้สั้นอีกนิดว่า
สั้นแต่ครอบคลุมสาระส่วนที่สำคัญอย่างมิดชิด นั่นเอง |