ข้อพิจารณาในการสรุป

• การสรุป มิใช่การทบทวนเรื่องที่พูด

• การสรุป มิใช่ย่อความเรื่องที่พูดมาแล้วทั้งหมด

• การสรุป มิใช่กระทำเพราะสาเหตุของการหมดเวลา แต่

• การสรุปจบ คือการจบการพูดตามแบบแผนหรือโครงสร้างการพูดที่ได้วางไว้แล้วล่วงหน้า

การสรุปจบแบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ

• ส่วนสรุปจบหรือคำลงท้ายที่ไม่ได้ผล

• ส่วนสรุปจบหรือคำลงท้ายที่ได้ผลดีน้อย

• ส่วนสรุปจบหรือคำลงท้ายที่ได้ผลดีมาก

• การสรุปจบที่ไม่ได้ผล ซึ่งได้แก่

• ไม่มากก็น้อย

• คอยขอโทษ

• หมดแค่นี้

• ไม่มีเวลา

• หาลานบิน

• สิ้นชั้นเชิง

ขออธิบายเพียงคร่าว ๆ แต่ละข้อของการสรุปจบที่ไม่ได้ผลดังต่อไปนี้

ไม่มากก็น้อย เช่น ลงท้ายเป็นบทสรุปว่า

“ ผม ( ดิฉัน ) หวังว่าการบรรยายในวันนี้คงเกิดประโยชน์แก่ท่านสมาชิก

ทุกท่านไม่มากก็น้อย …” เป็นต้น

( ก็นั่นนะซี ไม่มากก็ต้องน้อย ไม่น้อยก็ต้องมากอยู่แล้ว ไม่บอกก็รู้จะไปพูดทำไม ?)

คอยขอโทษ เช่น

“ ผมต้องขออภัย ในวันนี้ ที่อาจพูดไม่ดีเท่าที่ควร เพราะไม่ค่อยสบายเอามาก ๆ ”

( ขอโทษเถอะ หากไม่สบายก็ไปพักผ่อนเสียจะดีกว่า ไม่น่ามานั่งยืนพูดแบบทรมานทั้งตัวเองและผู้ฟัง )

“ หากมีข้อผิดพลาดประการใดในการบรรยายครั้งนี้ ต้องขอประทานอภัย

เพราะเรื่องนี้ไม่ค่อยถนัดเลย …”

( ท่านรู้ไหม คนฟังเขาอยากฟังจากผู้สันทัดกรณีพูด ถ้ารู้ตัวว่าไม่ถนัดไม่สันทัดจริง ๆ ก็ไม่รับเชิญพูดก็หมดเรื่อง จะมาคอยขอโทษอยู่ใย )

หมดแค่นี้ นี่ก็อีกเช่นกัน ชอบใช้กันจริง เช่น

“ ผม ( ดิฉัน ) ไม่มีอะไรจะพุดจึงขอจบการบรรยายแต่เพียงแค่นี้ …”

( แน่นอน เมื่อไม่มีอะไรจะพูดก็จบไปเลย จะมาขอจบทำไม พิลึกคน )

ผมขอยุติการบรรยายในวันนี้แต่เพียงแค่นี้ หรือพระเทศน์ก็จบว่า

“ ในอวสานกาลที่สุดแห่งพระธรรมเทศนานี้ อาตมาขอสมมุติยุติลงแต่เพียงแค่นี้

เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ ”

- ถามหน่อยเถอะ ถ้าไม่ขอยุติจบไม่ได้หรืออย่างไร

- ยุติได้ก็ดีขืนพูดอีกก็วนไปมาจะหนักใหญ่

เทศน์จบก็เช่นกัน จบก็ฟังดูสละสลวยดีอยู่หรอก แต่ลองอ่านฟังอย่าง

พิเคราะห์ดูให้ดี ๆ เถอะ จะเห็นว่า ใช้คำซ้อนกันอย่างฟุ่มเฟือยมาก

ไม่มีเวลา ก็อยู่ในทำนองเดียวกัน เช่น

“ ความจริง ผม ( ดิฉัน ) ยังมีเรื่องที่จะพูดคุยอีกมาก วันนี้หมดเวลาแล้วเอา

ไว้โอกาสหน้าก็แล้วกัน …”

ท่านคิดหรือว่า วันหน้าเขาจะเชิญมาอีก ถ้าเขาไม่เชิญแล้วจะไปต่อให้ใครฟัง

“ เท่าที่พูดมาก็มากพอสมควรแก่เวลาแล้ว ติดการบรรยายที่อื่นอีกขอจบแค่นี้ … ขอขอบคุณ ”

( พูดที่นี่ก็มากแล้ว ไม่เหนื่อยหรืออย่างไร จะไปพุดที่อื่นจะไหวหรือ )

หาลานบิน เช่น

“ เรื่องที่ได้บรรยายมานี้ก็มีเท่านี้ มีใครจะถามอะไรบ้าง …”

ถ้าเขาไม่ถามก็ต้องจบใช่ไหม … ถ้าเกิดเขาถามมาก็ต้องตอบ ทำไมจึงว่าก็

มีเพียงเท่านี้ … นี่เขาเรียกว่า หาลานบินไม่เจอ

สิ้นชั้นเชิง เช่น

“ ในที่สุดก็ต้องขอขอบคุณท่านผู้ฟัง ที่ตั้งใจฟังผมตั้งแต่ต้นจนจบ …”

( รู้ได้อย่างไรว่าเขาตั้งใจฟัง )

“ สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทุก ๆ ท่าน …”( นี่ถ้าไม่ขอบคุณ เราคงจะไม่มาฟังอีก

แน่ เขาเรียกว่า เป็นการจบที่สิ้นท่า หาชั้นเชิงไม่ได้เลย เขาเรียกว่า ไม่มีฝีมือ

• การสรุปจบที่ได้ผลน้อย อันได้แก่

“ ถึงเวลาแล้วหรือยัง …”

“ คำโคลง กลอน ที่ผิดจากของจริง …”

“ การอ้างบทประพันธ์ ภาษิตที่ไม่มีที่มาหรืออ้างเจ้าของบทประพันธ์ข้อ

ความนั้น ผิด …” เป็นต้น วิธีการนี้ ดูออกว่าได้ผลแต่ได้ผลน้อย ขาดหลักการนักพูดจริง ๆ เขาไม่ทำแต่ถ้าเป็นนักพูดที่เพียงเริ่มค้นตำรับตำรามาพูดขาดประสบการณ์บนเวทีจริง ๆ และมาก ๆ นั้น จะใช้กันดาษดื่น เขาเรียกว่าขาดความพิถีพิถันฉะนั้น ผลดีออกมาจึงดีน้อยไป

• การสรุปหรือคำลงท้ายที่ได้ผลดีมาก

ตามหลักวิชาการ การสรุปจบที่ผลดีมาก จากการวิจัยมาแล้วมี 4 รูปแบบคือ

• สรุปความตามคมปาก

• สรุปความฝากให้คิด

• สรุปความสะกิดชักชวน

• สรุปความสำนวนขบขัน

• ตามคมปาก (Quatation) การสรุปวิธีนี้ ได้แก่ การอ้างสุภาษิต คำคม คำพังเพย

โคลง กลอน ที่มีมาที่ไปอย่างถุกต้องมาใช้ จะทำให้การพูดของเราเกิดรสชาติ มีคุณค่า เกิดความซึ้งในอารมณ์ผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง เช่น

กรณีพูดถึงการวางแผนวงการธุรกิจ

“ ไม่มีใครวางแผนที่ทำให้ธุรกิจล้มเหลว มีแต่ธุรกิจล้มเหลวก็เพราะไม่มีการวางแผน …”

ถ้าพูดถึงนักพูด เช่น

“ นักพูดที่ขาดประสบการณ์และวัตถุดิบใหม่ ๆ ไม่เอาไหนในอารมณ์ขัน

และการฝึกซ้อมเตรียมตัว นั่นคือการเกษียณตัวเอง …”

“ ยืนให้เด่น เน้นให้จำ ขำควรมี จบทันทีเมื่อหมดเวลา …”

“ นักพูดบางคนมีเวลา แต่ทว่าไม่มีโอกาส นักพูดที่ฉลาดควรเก็บเกี่ยวโอกาสและหาเวลา …”