พระพุทธรูปประจำวัน

 

พระพุทธรูปประจำวันอาทิคย์

เป็นพระพุทธรูปปางถวายเนตร มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปยืน ลืมพระเนตร พระหัตถ์ทั้งสองประสานกันไว้ที่พระเพลา โดยที่พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย
พระพุทธรูปปางนี้มีที่มาจากการที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ควงไม้ศรีมหาโพธิ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลคยาสีสะ ประเทศมคธ ในสมัยนั้น ซึ่งคือ พุทธคยาในปัจจุบัน เมื่อตรัสรู้แล้ว พระพุทธองค์ได้ทรงเปลี่ยนพระอริยาบท ประทับยืนเพ่งพระเนตร ไปยังพระโพธิบัลลังก์ ตลอดระยะเวลาเจ็ดวัน
ตามคติโบราณกำหนดให้มีคาถาบูชาพระพุทธรูปปางถวายเนตรนี้ เป็นคาถาพระยานกยูงทอง ที่มีมาในชาดก นอกเหนือจากทศชาติชาดก มีข้อความดังนี้

 

บทสวดบูชาประจำวันอาทิตย์

ค อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณนัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตะวา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ

พระอาทิตย์ผู้เป็นดวงตาของโลก ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์นี้ เสด็จอุทัยขึ้นทรงพระรัศมีสีทองสาดส่องปฐพี ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าขอนมัสการพระอาทิตย์ผู้ทรงรัศมีสีทองสาดส่องปฐพีพระองค์นั้น พระองค์ได้คุ้มครองข้าพระองค์ในวันนี้แล้ว ขอให้ข้าพระองค์มีชีวิตยั่งยืนอยู่ตลอดวัน พระพุทธเจ้าเหล่าใดทรงรู้แจ้งธรรมทั้งปวง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ขอพระพุทธเจ้าเหล่านั้น จงคุ้มครองข้าพเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าผู้หลุดพ้นแล้ว ขอนอบน้อมแด่วิมุตติธรรม เมื่อนกยูงนั้นสาธยายพระปริตรอย่างนี้แล้ว จึงออกแสวงหาอาหาร

พระพุทธรูปประจำวันจันทร์


เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปยืน พระหัตถ์ซ้าย ทอดลงข้างพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ ฝ่าพระหัตถ์แบไปด้านหน้า แสดงกิริยาห้ามให้หยุด
พระพุทธรูปปางนี้ มีที่มาจากพุทธประวัติตอนหนึ่ง เป็นเหตุการณ์หลังจากที่ พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้ว มีอยู่สมัยหนึ่งพระกษัตริย์แห่งโกลิยะวงศ์ ซึ่งเป็นพระประยุรญาติ ทางฝ่ายพระพุทธมารดา กับพวกกษัตริย์แห่งศากยวงศ์ ซึ่งเป็นพระประยูรญาติ ทางฝ่ายพระพุทธบิดา ต่างแย่งน้ำกัน โดยต่างฝ่ายต่างก็ให้ทดน้ำจากแม่น้ำโรหิณีเข้านาของฝ่ายตน เนื่องจากปีนั้นฝนน้อย น้ำไม่พอทำนา เกิดการวิวาทกันขึ้นจนถึงขึ้นใกล้จะทำสงครามกัน
พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณ จึงได้ทรงเสด็จไป ณ ที่ซึ่งทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากัน และตรัสถามว่าวิวาทกันด้วยเรื่องอะไร ทั้งสองฝ่ายทูลตอบว่า วิวาทกันเรื่องน้ำ พระองค์จึงตรัสถามต่อไปว่า น้ำกับกษัตริย์ อย่างไหนสำคัญและจะมีค่ามากกว่ากัน ทั้งสองฝ่ายก็ทูลตอบว่า กษัตริย์สำคัญ และมีค่ามากกว่า พระพุทธองค์จึงได้เทศนาให้ทั้งสองฝ่ายฟัง เหตุการณ์จึงสงบลงได้ด้วยดี
ตามคติโบราณกำหนดให้มีคาถาบูชาพระพุทธรูปปางห้ามญาติ มีข้อความดังนี้

 

บทสวดบูชาประจำวันจันทร์

ค ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
ค ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
ค ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
ขอลางร้าย สิ่งที่เป็นอัปมงคล เสียงนกที่น่าหวั่นเกรง เคราะห์ร้าย และฝันร้ายที่ไม่ต้องการ จงพินาศไปด้วยพุทธานุภาพ
ขอลางร้าย สิ่งที่เป็นอัปมงคล เสียงนกที่น่าหวั่นเกรง เคราะห์ร้าย และฝันร้ายที่ไม่ต้องการ จงพินาศไปด้วยพุทธานุภาพ
ขอลางร้าย สิ่งที่เป็นอัปมงคล เสียงนกที่น่าหวั่นเกรง เคราะห์ร้าย และฝันร้ายที่ไม่ต้องการ จงพินาศไปด้วยพุทธานุภาพ

พระพุทธรูปประจำวันอังคาร


เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปนอนตะแคงด้านขวา พระพาหาขวาวางอยู่บนพระเขนย พระหัตถ์หนุนพระเศียร พระหัตถ์ซ้ายวางทอดไปตามพระวรกาย พระบาทซ้ายวางอยู่บนพระบาทขวาเสมอกัน หลับพระเนตร เรียกว่า ท่าสีหไสยาสน์
พระพุทธรูปปางนี้มีที่มาจากพระพุทธประวัติตอนที่ พระพุทธองค์ใกล้จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ ใต้ควงไม้รัง เมืองกุสินารา เมื่อวันเพ็ญเดือนหก ดวงจันทร์เสวยวิสาขฤกษ์ พระพุทธองค์ทรงประทับนอนในอิริยาบทนี้
ตามคติโบราณกำหนดให้มีคาถาบูชาพระพุทธรูปปางไสยาสน์ มีข้อความดังนี้

 

บทสวดบูชาประจำวันอังคาร

 

ค ยัสสานุภาวะโต ยักขา เมวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง
ยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต
สุขัง สุปะติ สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ
เอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ

เหล่าเทวดาย่อมไม่แสดงสิ่งที่น่ากลัว เพราะอานุภาพของพระปริตรใด อนึ่งบุคคลผู้ไม่เกียจคร้าน เจริญพระปริตรใดทั้งกลางวันและกลางคืน ย่อมหลับสบาย เมื่อหลับย่อมไม่ฝันร้าย ขอเราทั้งหลายจงสวดประปริตรนั้น อันประกอบด้วยคุณอย่างนี้เป็นต้นเถิด