บทที่ ๒

วิทยากรกับการพูด

การพูดเป็นวิธีการสื่อสารที่สำคัญที่สุดของคนเรา และเป็นทักษะที่จะเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญอย่างต่อเนื่องเพราะการพุดเป็นศิลปและปัจจัยที่จะส่งผลให้บุคคลนั้นประสบผลสำเร็จในการสื่อสาร ตลอดจนการแสดงถึงความคิดหรือบอกในสิ่งที่ตนเองคิดเพื่อให้ผู้รับฟังเกิดความเข้าใจ และพึงพอใจในที่สุด

วิทยากรเป็นผู้มีหน้าที่และบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ประสบการณ์ต่าง ๆ ให้ผู้เข้ารับการอบรม เพราะฉะนั้นการพูดจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับวิทยากร วึ่งวิทยากรจะต้องศึกษาหลักการ แนวคิดและวิธีการ พัฒนาการพูดตลอดถึงการฝึกหรือการสร้างประสบการณ์ให้กับตนเองให้มาก จนเกิดความชำนาญจะทำให้การปฏิบัติภารกิจในหน้าที่ของวิทยากรเกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

การพูดเป็น “ ศาสตร์ ” ที่สามารถศึกษาได้ การพูดเป็น “ ศิลป ” ที่สามารถฝึกฝนได้ ฉะนั้นผู้ที่ทำหน้าที่เป็นวิทยากรสามารถศึกษาหาความรู้ได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ศึกษาจากการอ่านหนังสือตำรารายการโทรทัศน์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฟังจากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ รายการวิทยุ วงสนทนา การประชุมสัมมนา การฝึกอบรม ฯลฯ และสามารถที่จะฝึกพูดและหาโอกาสพูเพื่อเป็นการฝึกประสบการณ์ให้เกิดความชำนาญ

เพื่อพัฒนาไปสู้ความสามารถในการพูดที่ดี วิทยากรควรให้ความสนใจกับหลักการและวิธีการต่าง ๆ เกี่ยวกับการพูด ซึ่งอาจจะสรุปเป็นสาระสำคัญที่น่าสนใจได้หลายประเด็นคือ

บุคลิกภาพและคุณสมบัติที่ดีของนักพูด

ขณะที่วิทยากรไปปรากฎกายต่อหน้าผู้เข้ารับการอบรมนั้น ความสนใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมมิได้อยู่ที่คำพูดหรือเนื้อหาที่วิทยากรกล่าวถึงแต่เพียงอย่างเดียว บุคลิกภาพของวิทยากรก็เป็นจุดสนใจอีกประการหนึ่งด้วยควบคู่ไปกับเนื้อหาสาระที่วิทยากรแสดงออกมาด้วยการพูด ดังนั้นวิทยากรจึงควรเอาใจใส่ในเรื่องของบุคลิกภาพของวิทยากรด้วย ในเรื่องนี้อาจพิจารณาถึงองค์ประกอบในด้านบุคลิกภาพและคุณสมบัติได้จากตารางต่อไปนี้

บุคลิกภาพ

คุณสมบัติ

๑ . รูปร่างหน้าตา

๑ . ความเชื่อม่นในตนเอง

๒ . การแต่งกาย

๒ . ความกระตือรือร้น / ตั้งใจ

๓ . การปรากฏตัว

๓ . ความรอบรู้

๔ . กิริยาท่าทาง

๔ . ความคิดริเริ่ม

๕ . การสบสายตา

๕ . ความจำ

๖ . การใช้น้ำเสียง

๖ . ความจริงใจ

๗ . การใช้ถ้อยคำภาษา

๗ . ปฏิภาณไหวพริบ

๘ . ความรับผิดชอบ

๙ . อารมณ์ขัน

นอกจากคุณสมบัติ ๙ ประการในตารางข้างต้นแล้ว นักพูดหรือวิทยกรที่ดียังควรมีคุณสมบัติอีก ๕ ประการ คือ “ เป็นนักฟัง ยังศึกษา ท้าวิจารณ์ งานริเริ่ม เติมความสุข “

ซึ่งขยายความให้สมบูรณ์ได้ว่า

๑ . เป็นนักฟังที่ดี

๒ . ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ

๓ . ยอมรับฟังคำวิจารณ์

๔ . เป็นตัวของตัวเอง

๕ . มีความสุขในการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น

ทฤษฎีการพูด

ทฤษฎีการพูดมีอยู่หลายทฤษฎีด้วยกัน แต่ที่น่าสนใจได้แก่ ทฤษฎี ๓ สบาย ของ รอ . ดร . จิตรจำนงค์ สุภาพ ซึ่งผู้เสนอทฤษฎีได้ให้ข้อสรุปของทฤษฎี ๓ สบาย (The Theory Of Three Pleasant Speech) หมายถึงการพูดที่ฟังสบายหู ดูสบายตา พาสบายใจ

ฟังสบายหู ได้แก่การพูดด้วยวจีสุจริต รู้จักการใช้ถ้อยคำภาษาที่ถูกต้องรู้จักใช้เสียงและการพุด ที่มีจังหวะถูกต้องเหมาะสม

ดูสบาย ได้แก่บุคลิกภาพมาตรฐานเบื้องต้น ศิลปการแสดง การพูดเบื้องต้น การแสดงท่าทางประกอบดี

พาสบายใจ ได้แก่การเลือกเรื่องดี การเตรียมการพูดที่ดี การจัดลำดับความคิด การสร้างโครงเรื่องดี

การพูดที่ฟังสบายหู ดูสบายตา และพาสบายใจนี้เจ้าของทฤษฎีได้เสนอไว้ด้วยว่าผู้พูดจะจ้องพูดจากหัวใจทั้งสี่ห้องคือ

พูดจากใจ คือการแสดงออกมาจากความจริงใจไม่เสแสร้ง มีความมั่นใจ แน่ใจในตัวผู้ฟัง

ที่ขึ้นใจ คือเข้าใจเรื่องที่พูดแย่างกระจ้างแจ้ง ถูกต้องไม่โมเมยกเมฆหรือเดา

ด้วยความตั้งใจ คือมีความอยากจะพุดกระตือรือร้น กระฉับกระเฉงไม่เฉื่อยชา หรือแสดงอาการลักษณะเบื่อเซ็ง

จนสุดใจ คือเปรียบเสมือนการสวมวิญญาณ ลงไปในคำพูดแต่ละคำอย่างมีชีวิตชีวา มีความรู้สึกเหมือนกับตัวเองอยู่ในสถานการณ์นั้นจริง ๆ

ผู้เขียนเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าที่สุดของการพูดทุกครั้ง ควรจะใช้ทฤษฎี ๓ สบาย ประกอบการพูดให้มากที่สุดและควรจะยึดบันได ๑๓ ขั้นที่นำไปสู้ความสำเร็จในการพูด ตามที่เจ้าของทฤษฎีเสนอแนะไว้ดังนี้คือ

๑ . เตรียมให้พร้อม

๒ . ซักซ้อมให้ดี

๓ . ท่าทีให้สง่า

๔ . หน้าคาให้สุขุม

๕ . ทักที่ประชุมไม่วกวน

๖ . เริ่มต้นให้โน้มน้าว

๗ . เรื่องราวกระชับ

๘ . ตากจับที่ผู้ฟัง

๙ . เสียงดังให้พอดี

๑๐ . อย่าให้มีเอ้อ อ้า

๑๑ . ดูเวลาให้พอครบ

๑๒ . สรุปจบให้จับใจ และ

๑๓ . ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดการพูด

หลักการพัฒนาการพูด

๑ . อ่านหนังสือ ได้ฟังหรือพบประโยคหรือวลี คำกลอน คำขวัญ สำคัญ ๆ ที่ดีมีคุณค่าจดไว้เป็นข้อมูล

๒ . จัดลำดับความคิดที่จะพุดให้สอดคล้องกันหรือร้อยรัดเหมือนเขียนเรียงความ

๓ . พูดจากหัวใจที่จริงใจด้วยความตั้งใจ

๔ . วิเคราะห์หรือหยั่งสถานการณ์การพูดการฟัง

๕ . ก่อนพูด เตรียมตัว เตรียมร่างกายให้พร้อม

๖ . เตรีนมเครื่องช่วยพูดให้พร้อม

๗ . ต้องพูดให้ได้เหมือนกับการเขียน

๘ . ระลึกเสมอว่าการพูดนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์

๙ . กำหนดหรือลำดับเรื่องไว้ในใจและจำให้ขึ้นใจ

ข้อพึงหลีกเลี่ยงในการพูด

๑ . อย่าออกตัว เช่น วันนี้เตรียมมาไม่พร้อมพูดไม่ดี

๒ . อย่าขออภัย เช่น การพูดอาจผิดพลาด

๓ . อย่าถ่อมตัว เช่น ผมไม่ใช่คนเก่งมีประสิทธิภาพน้อย

๔ . อย่าอ้อมค้อม เช่น บรรยายไปเรื่อย ๆ ขาดจุดเด่นที่น่าสนใจ

ถ้อยคำที่วิทยากรควรหลีกเลี่ยงในการขึ้นต้นหรือลงท้าย

“ ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาพูดในวันนี้ ”

“ เตรียมมาไม่เต็มที่ ดังนั้นหากผิดพลาดไป ขอโทษ ”

“ ผมพูดมาก็มากแล้วจึงขอจบเพียงเท่านี้ ”

“ ข้าพเจ้าไม่มีอะไรจะกล่าวอีกแล้ว จึงใคร่ขอยุติไว้เพียงแค่นี้สวัสดีครับ “

“ ที่พูดมาทั้งหมดนั้น หวังว่าคงเป็นประโยชน์แก่ท่านไม่มากก็น้อย ขอบคุณมากครับ สวัสดี ”

“ ความคิดของดิฉันก็มีเพียงเท่านี้แหละค่ะ ขอบคุณท่านทั้งหลายที่อุตส่าห์ฟังดิฉันพูดจนจบ ”

ข้อแนะนำสำหรับวิทยากร เมื่อลงจากเวทีแล้ว สิ่งที่ควรปฏิบัติคือ

๑ . ควบคุมจิตใจให้สงบ

๒ . อย่ารู้สึกเสียดายถ้อยคำบางคำที่ลืมพูด

๓ . ไม่หลงระเริงคำสรรเสริญเยินยอ

๔ . อดทนฟังคำวิจารณ์ของผู้อื่นอย่างสนใจ

๕ . บันทึกข้อบกพร่องเพื่อพิจารณาแก้ไขต่อไป

สรุป

การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ มนุษย์เกือบทุกคนพูดได้ตั้งแต่วัยเด็กและมีการพัฒนาการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารมาโดยตลอด แต่มิได้หมายความว่ามนุษย์ทุกคนจะพูดเป็น จึงมีคำพังเพยที่ว่า “ คารมเป็นต่อรูปหล่อเป็นรอง ” การเป็นวิทยากรที่ดีต้องประกอบด้วยบุคลิกภาพและคุณสมบัติหลายประการ รวมถึงการใช้พลังทั้งหมดประสานกัน ระหว่างกายกับจิต ปฏิภาณไหวพริบ ถ่ายทอดออกสู่ผู้ฟังโดยใช้ พลังจิต ภาษาพูด ภาษาท่าทาง ที่ได้รับการเตรียมการ ฝึกฝนมาอย่างดีย่อมจะก่อให้เกิดการประสบความสำเร็จสูง

พูดดี มีสาระ น่าศรัทธา

คิดให้รอบคอบ ชอบด้วยใจความ งดงามด้วยถ้อยคำ

จดจำด้วยสาระ เสริมทักษะด้วยคารม ประสมด้วยตัวอย่าง

กระจ่างด้วยเหตุผล แยบยลด้วยกลวิธี มีมนุษยสัมพันธ์

พูดจบแล้วนั้นประทับใจ

( สุนีย์ สินธุเดชะ )