บทที่ ๓

วิทยากรกับการฝึกอบรม

ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมของประเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของประเทศรุดหน้าพร้อมทั้งเกิดปัญหาที่เนื่องมาจากการพัฒนาที่สลับซับซ้อนเพิ่มเติมขึ้นคู่ขนานกันไป การเตรียมทรัพยากรมนุษย์ให้พร้อมที่จะรับมือกับปัญหาต่าง ๆ อย่างรู้เท่าทันจึงตกเป็นภาระหน้าที่ของการจัดการศึกษาอย่างปฏิเสธไม่ได้ นอกจากการรับการศึกษาจากหลักสูตรปกติของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ แล้ว การจัดการฝึกอบรมก็เป้นอีกวิถีทางหนึ่งของการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้วิทยากรที่ดีจึงควรใส่ใจกับกระบวนการฝึกอบรมทั้งระบบ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถนำความรู้ความเข้าใจไปใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับบุคคลและสถานการณ์

การฝึกอบรมที่จะส่งผลให้บุคลากรที่รับการฝึกอบรมเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการทั้งในด้านบุคคล องค์การและกระบวนการการฝึกอบรมซึ่งจะได้กล่าวถึงเป็นลำดับดังนี้

การฝึกอบรมหมายถึงอะไร

การฝึกอบรม หมายถึง กระบวนการในการที่จะทำให้ผู้เข้ารับการอบรม เกิดความรู้ ความเข้าใจ เกิดความชำนาญ และเกิดทัศนคติที่เหมาะสม เกี่ยวกับเรื่องที่อบรม จนกระทั่งผู้เข้ารับการอบรมเกิดการเรียนรู้และสามารถเปลี่ยนแปลงความคิดหรือพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

การเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมของคน

การเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤตืกรรมของคนจากจุดหนึ่งที่เรายังไม่พอใจไปยังจุดที่เราพอใจนั้น ควรปฏิบัติดังนี้

1. ให้ความรู้ (Knowledge)

2. ให้เกิดความเข้าใจ (Understand)

3. ให้เกิดทักษะโดยการให้ลงมือปฏิบัติจริง (Skill)

4. ให้เกิดทัศนคติ (Attitude)

การฝึกอบรม คือการทำให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดการเรียนรู้และปฏิบัติได้จริงมิใช่เพียงทำให้ได้รับความรู้เท่านั้น

การทำให้เกิดการเรียนรู้ คือ กระบวนการจัดการเรียนการอน (Instrution) ไม่ใช่เพียงแต่การสอน (Teaching) หรือ การบรรยาย (Lecture) เท่านั้น

วิทยากรคือผืที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ ดังนั้นการเรียนรู้จึงเกิดจากิจกรรมของวิทยากรรวมกับกิจกรรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรมภายใต้สถานการณ์ที่วิทยากรเป็นผู้กำหนดและอำนวยการให้เป็นไปโดยยึดผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นศูนย์กลาง

หลักสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ มี 2 ประการคือ

1. วิทยากรเป็นผู้กระตุ้นและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการอบรม

2. ผู้เข้ารับการอบรมต้องทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

บทบาทผู้จัดการฝึกอบรม

ในการจัดการฝึกอบรมแต่ละครั้ง บุคลาการที่มีหน้าที่ในการจัดฝึกอบรมแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท บุคลาการเหล่านี้มีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันไปตามภารกิจแต่ก็ล้วนมีความสำคัญต่อการจัดการฝึกอบรมทั้งสิ้น อาทิ เช่น

ผู้บริหารองค์การ เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ เวลา ให้คำปรึกษา แนะนำ จัดบุคลากรให้รับผิดชอบงานได้อย่างเหมาะสม เห็นคุณค่า และความสำคัญของการฝึกอบรม

ผู้บริหารการฝึกอบรม เป็นผู้รับผิดชอบในการฝึกอบรมจะต้องมีความรู้ ความสามารถหลายด้าน เช่น การวางแผน กำหนดโครงการ และการบริหารงบประมาณได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนเข้าใจนวัตกรรมการฝึกอบรม เป็นต้น นอกจากนั้น ผู้บริหารงานฝึกอบรมเป็นบุคคลสำคัย จึงจำเป็นต้องพัฒนาตนเองและมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ คือ

1. มีความรู้ความสามารถในการฝึกอบรม มีความคิดริเริ่มและคิดกว้างไกล

2. เป็นนักประสานงานที่ดีสามารถทำงานกับทุกคนได้

3. เป็นนักวางแผนและนักปฏิบัติที่ดี

4. ศึกษาและมีความเข้าใจปรัชญา จิตวิทยาการฝึกอบรมจิตวิทยาผู้ใหญ่

5. มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ยิ้มแย็มแจ่มใส มีความเป็นกัลยาณมิตรกับทุกคน

6. มีความสามารถในการแก้ปัยหาได้ดี

7. เป็นผู้กระตุ้นที่ดีเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมตื่นตัวและมีความกระตือ

รือร้น

8. เป้นผู้คิดคำนึงถึงการให้มากกว่าการรับ และคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน

9. มีบุคลิกภาพและการแต่งกายที่ดี มีความเชื่อมั่นในตนเองและพูดมีศิลปะ

10. เป็นผู้ให้ความร่วมมือ ส่งเสริม สนับสนุน เสนอแนะให้วิทยากรปฏิบัติงานตามบทบาทและภารกิจได้อย่างเต็มที่

วิทยากร มีความสำคัญอย่างมากในเวทีการฝึกอบรม เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอด มีเทคนิคในการจัดสื่อ เครื่องมือตลอดจนการนำเสนอที่เหมาะสมกับเวลาและผู้เข้ารับการฝึกอบรม

ผู้เข้ารับการอบรม มีส่วนสำคัญในการทำให้การอบรมสำเร็จถ้ามีความสมัครใจ เต็มใจ กระตือรือร้น และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรม ตลอดจนการนำความรู้ไปพัฒนางาน

จะเห็นได้ว่าวิทยากรเป็นสื่อกลางที่มีบทบาทสำคัญมาก ในการทำให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และทัศนคติที่เหมาะสมเกี่ยวกับเรื่องที่อบรม จนกระทั่งเกิดการเรียนรู้และเป , ยนแปลงความคิดหรือพฤติกรรมตามที่ต้องการ