คำคมบ่มชีวิต

ถ้าหากว่าการศึกษาจะมีผลทำให้คนเป็นพลเมืองดี อย่างน้อยที่สุดก็จะทำให้คนเหล่านั้นเป็นพลเมืองดีง่ายขึ้น
(ลอร์ด ไบรซ์)

การศึกษาเราจัดหลักสูตรไว้ครบ แต่ปฏิบัติไม่ค่อยครบ การพัฒนาคนจึงไม่สมบูรณ์
(รุ่ง แก้วแดง)

ท่านอย่าให้การศึกษาแก่คนเพียงการบอกในสิ่งที่เขาไม่รู้ แต่ทำให้เขาเป็นในสิ่งที่เขาไม่เป็น
(รัสกิน)

การศึกษาไม่ใช่การเรียนของคนในช่วยอายุหนึ่งเท่านั้น แต่การศึกษาคือการพัฒนาคุณภาพของคนทั้งมวล
(ประเวศ วะสี)

การศึกษาจะต้องไม่เพียงมุ่งให้เด็กคิดอะไร แต่ควรมุ่งให้เด็กคิดอย่างไร โดยเน้นการพัฒนาระบบความคิดเป็นสำคัญ
(กรรณิกา อินทรโยธิน)

ครูส่วนใหญ่ไม่สามารถโยงทฤษฎี หลักการที่ได้เรียนมาไปสู่ภาคปฏิบัติได้ ครูจึงเน้นการสอนด้านเนื้อหาเป็นสำคัญ
(กมล ภู่ประเสริฐ)

ไม่ว่าวัตถุและวิทยาการจะเจริญรุดหน้าสักเพียงไร น้ำคำและน้ำใจก็ยังคงเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นไม่ได้จากวิทยาการ
(เกษมสุข ภมรสถิตย์)

การศึกษาที่ดี คือการทำให้คนเราเห็นแก่ตัวน้อยลง
(สุพล วังสินธ์)

ในปัจจุบันครูของเราไม่ค่อยสอนให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ หรือมีความมั่นใจในตนเอง นักเรียนจะทำตามคำสั่งของครูแทบทั้งสิ้น
(โกวิท ประวาลพฤกษ์)

การศึกษาที่สมบูรณ์นั้น เกิดจากประสบการณ์ทางสังคม คนเราเรียนรู้ซึ้งกันและกัน ไม่มีบทเรียนใดที่สำคัญไปกว่าบทเรียนที่เราได้รับจากสภาพความเป็นจริงของชีวิต
(ประทีป สยามชัย)

การศึกษาต้องเริ่มต้นด้วยความสำคัญของนักเรียน และจบลงด้วยความสำคัญของนักเรียน
(ป๋วย อึ้งภากรณ์)

เราไม่ควรตีความหมายของการศึกษาว่าคือการรู้หนังสือ การศึกษามีความหมายลึกซึ้งยิ่งกว่านั้น การศึกษาต้องการจะปลูกฝังคุณธรรมให้แก่คน ต้องการถ่ายทอดวัฒนธรรม
(บรรจง ชูสกุลชาติ)

การศึกษาจะต้องเป็นกระบวนการที่มุ่งพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถเต็มตามศักยภาพ มีพัฒนาการที่สมดุลทั้งปัญญา จิตใจ ร่างกายและสังคม
(พยุงศักดิ์ จันทรสุรินทร์)

เด็กไม่ได้เรียนรู้จากครูเฉพาะในห้องเรียนในเวลาที่ครูสอน แต่เด็กเรียนรู้จากครูในพฤติกรรมของครูที่แสดงออกในโอกาสต่าง ๆ ด้วยการปลูกฝังค่านิยมและทัศนคติเรื่องความซื่อสัตย์ สุจริต จึงเป็นบทบาทของครูทุกคนในโรงเรียน
(พนม พงษ์ไพบูลย์)

เวลาที่ครูทำการสอน ผู้บริหารเดิน เยี่ยมเยียน ยิ้มแย้ม ยกย่อง และหยิบยื่นความช่วยเหลือให้แก่ครูบ้าง ครูก็จะสอนได้ยอดเยี่ยม ทำให้เกิดคุณภาพที่ยิ่งใหญ่แก่นักเรียนและการศึกษา
(รศ.บุญนำ ทานสัมฤทธิ์)

 

 


การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าในการพัฒนาประเทศ และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการศึกษาคือ "ครู" เพราะครูเป็นผู้มีอิทธิพลในด้านการเสริมสร้างความคิด พัฒนาสติปัญญา ความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยม ตลอดจนชี้แนะวิถีดำเนินชีวิตแก่ผู้เรียน
(สุรพงษ์ ปทานุกุล)

การศึกษามีความจำเป็นขึ้นมา ก็เพื่อตอบสนองความปรารถนาในการรับรู้ของมนุษย์
(ประสาน มฤคพิทักษ์)

การศึกษาในแต่ละประเทศ แต่ละยุค สะท้อนค่านิยมของชนชั้นปกครอง
(เจ เอฟ บราวน์)

การศึกษาพัฒนาวุฒิความสามารถของคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางจิตใจ เพื่อว่าคนสามารถชื่นชมความจริง ความงาม และความดี
อันเป็นความสุขที่สมบูรณ์ที่สุด
(อริสโตเติล)

การศึกษาเป็นการแนะนำและฝึกฝนพัฒนาคนให้รู้จักดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง เมื่อดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องก็มีความสุข การศึกษาที่ถูกต้อง จึงต้องทำให้คนมีความสุข หรือรู้จักที่จะทำตนให้มีความสุข
(ประยุทธ์ ปยุตโต)

สังคมใดครูเสื่อมจากสภาพความเป็นกัลยาณมิตรและความเป็นปูชนียบุคคล สังคมนั้นพึงถึงซึ่งหายนะ
(ศ.นพ.ประเวศ วะสี)

ทุกคนอยากเห็นนักการเมืองที่ดี อยากเห็นรัฐมนตรี อยากเห็นรัฐบาลที่ดี การศึกษาต้องเข้ามามีบทบาท โดยเริ่มสอนจริยธรรมการเมืองตั้งแต่เป็นเยาวชน
(วันมูหะมัดนอร์ มะทา)

การศึกษาในแต่ละประเทศ แต่ละยุค สะท้อนค่านิยมของชนชั้นปกครอง
(เจ เอฟ บราวน์)

ผู้เรียนเปรียบเหมือนดาวฤกษ์ที่ส่องแสงได้ด้วยตัวของมันเอง จึงต้องศึกษาหาความรู้และทำความเข้าใจโดยไม่ต้องใช้หนังสือตลอดเวลา แต่หากเราจำกัดว่าต้องอาศัยหนังสือเท่านั้นจึงจะได้ความรู้ ผู้เรียนก็จะเหมือนหลอดไฟที่ต้องรอกระแสไฟฟ้า ที่มีไ
ฟเท่าไรก็สว่างเท่านั้น
(ด.ช.พงษ์ศกร ธรรมวงศ์)
เราควรจะให้การศึกษามิใช่เพื่อเพียงแต่ให้ได้ชื่อว่าประเทศไทยมีคนรู้หนังสือร้อยละ 80-90 แล้ว หรือที่นักเศรษฐศาสตร์อ้างเสมอว่า เราจะต้องวางแผนพัฒนาการศึกษาให้ประสานเข้ารอยเดียวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจนั้น ผมก็ยังรู้สึกว่าพูดเกือบถูก แต่ยังไม่ถูกทีเดียว เพราะเขามิได้เพ่งเล็งถึงคุณธรรมและศักดิ์ศรีของมนุษย์ที่เป็นนักเรียนแต่ละคน
(ป๋วย อึ้งภากรณ์)

คนเก่งในอนาคต มิใช่คนที่รู้หรือจำข้อมูลได้มากมาย แต่เป็นคนที่รู้ว่าในสถานการณ์ใดจะต้องใช้ข้อมูลอะไร และจะไปหาข้อมูลนั้น ๆ ได้ที่ไหน
(ชัยวัฒน์ คุประตกุล)

ไม่ว่าเขาจะมาจากมุมที่มืดอับเพียงใดของสังคม ไม่ว่าเขาจะตั้งต้นทำช้าเพียงใด ไม่ว่าเขาจะมีความสามารถในการเรียนระดับใด การศึกษาไทยน่าจะให้โอกาสเขาได้เสมอ
(อมรวิชช์ นาครทรรพ)

การเรียนการสอนควรปลูกฝังความรู้ ความสามารถ รวมทั้งคุณธรรม สิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย
(สมหวัง พิธิยานุวัฒน์)