เหตุการณ์ในอดีต

 

มกราคม | กุมภาพันธ์ | มีนาคม | เมษายน | พฤษภาคม | มิถุนายน
| กรกฎาคม | สิงหาคม | กันยายน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม |

 

เหตุการณ์ในอดีต

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต หลายเรื่องเป็นเรื่องที่น่าจะได้ทราบไว้เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ ในเรื่องนั้น ๆ และความสัมพันธ์เชื่อมโยงไปยังเรื่องอื่น ๆ ทำให้ได้รู้ถึงความเป็นมาและวิวัฒนาการของเรื่องนั้น ๆ จากอดีตมาสู่ปัจจุบัน และผลที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
การนำเสนอ จะไม่ใช้วิธีการเสนอตามระยะเวลาที่เกิดขึ้นก่อน แต่จะเสนอตามวงรอบของปี โดยแบ่งออกเป็นรายวันในแต่ละเดือน จนครบวงรอบปี

มกราคม

 

1 มกราคม 2423
วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงพระนามว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ พระองค์ได้รับสมัญญานามว่า "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า"

1 มกราคม 2435
หมอยอร์ช บี. แมคฟาร์แลน (อำมาตย์เอก พระอาจวิทยาคม) เริ่มกิจการโรงเรียนแพทย์ศิริราช ท่านยังมีเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย สมิทพรีเมี่ยร์ อันเป็นเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยเครื่องแรก และมีพจนานุกรม (ดิคชั่นนารี) อีก 2 เล่มคือ ฉบับภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และยังเขียนตำราแพทย์ให้นักเรียนใช้อีกด้วย

1 มกราคม 2454
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานธงประจำกอง (ธงชัยเฉลิมพล) แก่กรมทหารรักษาวัง พื้นธงสีแดงมีรูปช้างเผือกทรงเครื่อง ยืนบนแท่น มุมธงมีอักษรย่อ "วปร"

1 มกราคม 2469
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดสะพานพระรามที่ 6 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรก อยู่ตอนเหนือขึ้นไปใกล้จังหวัดนนทบุรี เขตตำบลบางกรวย

1 มกราคม 2484
เป็นวันเริ่มใช้วันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม เพื่อให้เหมือนกับนานาอารยประเทศ จากเดิมใช้วันที่ 1 เมษายน ในปี พ.ศ. 2483 จึงมีแค่ 9 เดือน คือนับตั้งแต่ 1 เมษายน 2483 สิ้นปี 31 ธันวาคม 2483

1 มกราคม 2488
ไทยได้ยินยอมลงนามในความตกลงสมบูรณ์แบบ เพื่อเลิกสถานะสงครามระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักร และอินเดีย รวมทั้งบันทึกแลกเปลี่ยนระหว่างไทยกับ ออสเตรเลีย เพื่อเลิกสถานะสงคราม ความตกลงสมบูรณ์แบบมี 24 ข้อ เน้นเรื่องการถอนกำลังทหารออกจากสหรัฐไทยเดิม และสี่รัฐมาลัย การคืนดินแดนให้อังกฤษ และไทยต้องส่งข้าวจำนวน 1.5 ล้านตันให้อังกฤษโดยไม่คิดมูลค่า

2 มกราคม 2482
โรงเรียนสอนคนตาบอดแห่งแรกในประเทศไทย กำเนิดขึ้นโดย มิสเจนีวีฟ คอลฟิลด์ (Genevieve Colfield) สตรีตาบอดชาวอเมริกัน ต่อมาใน พ.ศ. 2532 ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิคอลฟิลด์ เพื่อคนตาบอด

3 มกราคม 2521
ตั้ง ค่ายพระยอดเมืองขวาง ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองพันทหารราบที่ 3 จังหวัดทหารบกอุดร (ส่วนแยก 2 นครพนม) อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

4 มกราคม 2309
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขณะทรงเป็นพระยาวชิรปราการ ทรงสู้รบกับทหารม้าของพม่าที่บ้านพรานนก (อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) ได้ชัยชนะอย่างงดงาม

5 มกราคม 2316
พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัยยกทัพต่อสู้ โดยถือดาบ 2 เล่ม เข้าจ้วงพันพม่าอย่างไม่ลดละ จนดาบหักทั้ง 2 เล่ม และทัพพม่าแตกกระเจิงไป เกียรติคุณพระยาพิชัยจึงเลื่องลือ และได้รับนามว่า "พระยาพิชัยดาบหัก"

6 มกราคม 2532
กองทัพอากาศ ได้จัดสร้างพระมหาธาตุเจดีย์องค์หนึ่ง ขนาดกว้าง 50 เมตร สูง 60 เมตร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปบูชาจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้รับพระราชทานนามว่า พระมหาธาตุนภเมทนีดล และได้น้อมเกล้า ฯ ถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา ใน พ.ศ. 2530

7 มกราคม 2408
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเกล้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตที่วังหน้า พระชนมายุได้ 58 พรรษา หลังจากทรงประชวรมา 5 ปี

7 มกราคม 2456
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาโรงเรียนเพาะช่างขึ้น โรงเรียนแห่งนี้ได้พัฒนามาจากกองช่างแกะไม้ ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อตอนปลายรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พัฒนามาเป็นโรงเรียนหัตถกรรมราชบูรณะ และพัฒนามาเป็น โรงเรียนเพาะช่าง ตามลำดับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้า ฯ กรมเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนเพาะช่าง สนองพระกรุณาธิคุณ จนกระทั่งสิ้นพระชนม์

7 มกราคม 2484
เกิดกรณีพิพาทด้วยกำลังระหว่างไทยกับ ฝรั่งเศส รัฐบาลไทยได้ตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ใช้กำลังทหารปรับปรุงเขตแดนไทย และอินโดจีนฝรั่งเศส ผลปรากฎว่าไทยชนะ ได้ดินแดน 4 จังหวัด คือ เสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ และนครจำปาศักดิ์ กลับคืนมาเป็นของไทย โดยมีญี่ปุ่นอาสาเข้ามาไกล่เกลี่ย

8 มกราคม 2484
เครื่องบินไทยไปทิ้งระเบิดที่ พระตะบองและเสียมราฐ เป็นครั้งแรก

8 มกราคม 2484
ญี่ปุ่นบุกรุกไทยในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยยกพลขึ้นบกทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลาและปัตตานี โดยมีอีกส่วนหนึ่งขึ้นบกที่ทางจังหวัดสมุทรปราการ

9 มกราคม 2433
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีเปิดอู่หลวง เนื่องจากในเวลาดังกล่าวนั้นมีจำนวนเรือหลวงเพิ่มมากขึ้น อู่หลวงนี้สร้างขึ้นที่โรงหล่อซึ่งหมายถึงที่ว่าการกรมทหารเรือ อู่หลวงดังกล่าวเป็นแบบอู่ไม้ ต่อมาได้ขยายเป็นอู่คอนกรีตเมื่อปี พ.ศ. 2447 ค่าก่อสร้าง 500,000 บาท

9 มกราคม 2472
วันก่อฤกษ์ สร้างสะพานพุทธยอดฟ้า กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเป็นเจ้าหน้าที่ก่อสร้าง โดยมีนาย อี ฟอร์โน เป็นสถาปนิก สร้างตามแบบของบริษัท ดอร์แมนลอง ประเทศอังกฤษ ใช้งบประมาณ 4 ล้านบาท

10 มกราคม 2491
วันประสูติพระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ผู้ทรงใช้นามแฝงว่า น.ม.ส. ย่อจากอักษรท้ายพระนาม "รัชนีแจ่มจรัส" ท่านเป็นกวีที่ช่วยให้วรรณคดีในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รุ่งโรจน์

12 มกราคม 2385
มีการพิมพ์ปฏิทินภาษาไทย ขึ้นใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยหมอ บรัดเลย์

12 มกราคม 2476
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชนีนาถ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จประพาสยุโรป และประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ จนวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของพระองค์

13 มกราคม 2379
หมอบรัดเลย์ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน ได้ทำการผ่าตัดผู้ที่ถูกกระสุนปืนใหญ่ ระเปิดเข้าใส่ในงานฉลองวัดประยูรวงศาวาส ของเจ้าพระยาพระคลัง นับเป็นการเริ่มการผ่าตัดครั้งแรกในประเทศไทย

13 มกราคม 2452
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเปิดสถานีวิทยุโทรเลข ของทางราชการเป็นแห่งแรกในประเทศไทย (ขณะนี้เป็นอาคารที่ขึ้นทะเบียนโบราณสถานแห่งชาติแล้ว ตั้งอยู่ในพื้นที่โรงเรียนเตรียมทหาร กรมยุทธศึกษาทหาร)

13 มกราคม 2456
ร.6 เสด็จไปทรงกระทำพิธีเปิด สถานีวิทยุโทรเลขของทางราชการแห่งแรกในไทย

14 มกราคม 2429
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมงกุฏราชกุมาร นับเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

15 มกราคม 2471
กรมไปรษณีย์โทรเลขได้เปิดการสื่อสาร ทางวิทยุโทรเลขโดยตรงกับยุโรปโดยติดต่อกับกรุงเบอร์ลิน เป็นครั้งแรก

16 มกราคม 2336
ไทยเสียเมืองมะริด ทวาย และตะนาวศรี ให้แก่พม่า

16 มกราคม 2488
รัฐบาลซึ่งมีนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตราพระราชบัญญัติครูขึ้นเป็นฉบับแรก ด้วยความมุ่งหมาย 3 ประการ คือ
1 เพื่อประกอบพิธีระลึกถึงพระคุณครูอาจารย์
2 เพื่อส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู
3 เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน ทางราชการได้กำหนดให้วันนี้เป็น วันครู ขึ้นเป็นครั้งแรก

17 มกราคม 2466
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตรา กม. ว่าด้วย ประกาศจัดการตรวจรักษาของโบราณ นับเป็น กม. ฉบับแรกในเรื่องนี้

17 มกราคม 2488
การรบทางเรือที่เกาะช้าง และในวันนี้ของทุก ๆ ปี กองทัพเรือถือว่าเป็นวันสดุดี และบำเพ็ญกุศลแก่ผู้เสียชีวิตในการรบแห่งราชนาวี

18 มกราคม 2410
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่งราชทูตไปประจำ ณ กรุงปารีส

20 มกราคม 2411
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อยอดพระปฐมเจดีย์ ณ จังหวัดนครปฐม ถือกันว่าพระปฐมเจดีย์ เป็นพระเจดีย์ใหญ่และสูงที่สุดในประเทศไทย เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ภายใน

22 มกราคม 2400
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงประกาศแต่งตั้งพระยามนตรีสุริยวงศ์ เป็นราชฑูตไปลอนดอน เจ้าหมื่นสรรเพธภักดีเป็นอุปทูต จมื่นมณเฑียรพิทักษ์เป็นตรีฑูต ประกาศนี้ได้มอบสำหรับ พวกฑูตานุทูต ณ ท้องสนาม ในพระบรมมหาราชวัง

22 มกราคม
กองทัพบกได้ตั้งกองพลทหารอาสาสมัครผลัดที่ 1 ขึ้น มีพลตรี ทวี ดำรงหัด เป็นผู้บัญชาการกองพล กำลังส่วนนี้ได้เดินทางไปผลัดเปลี่ยน กรมทหารอาสาสมัครที่ไปทำการรบ ในสาธารณรัฐเวียตนามเมื่อเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม 2511

23 มกราคม 2431
พลตรีพระยาสุรศักดิ์มนตรี ได้เดินทางออกจากหลวงพระบางกลับกรุงเทพ ฯ หลังจากที่ได้จัดระเบียบการปกครองดินแดนต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว

23 มกราคม 2495
ไทยได้จัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนขึ้นเป็นครั้งแรก

24 มกราคม 2384
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นแม่ทัพเรือยกทัพไปตีเมืองบันทายมาศของญวน

24 มกราคม 2400
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชสาส์น ถึงสมเด็จพระนางวิกตอเรียมหาราชินีแห่งสหราชอาณาจักร อันได้แก่บริเตนใหญ่ ไอร์แลนด์และประเทศในอาณานิคม มีใจความว่า พระเจ้ากรุงบริตาเนียได้ส่งทูตานุทูตอังกฤษเข้ามาเจรจาทาง พระราชไมตรีกับกรุงสยามสองครั้งแล้ว ฝ่ายกรุงสยามควรจะให้ทูตานุทูตสยามออกไปคำนับให้ถึงพระเจ้ากรุง พระเจ้ากรุงบริตาเนีย

25 มกราคม 2135
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีได้ชัยชนะจาก สมเด็จพระมหารอุปราช พร้อมกับสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้ชัยชนะจากมางจาชโร ณ พื้นที่ระหว่าง ตำบลตระพังตรุ จังหวัดกาญจนบุรี กับ ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาทางราชการได้กำหนดให้วันดังกล่วาเป็น วันกองทัพไทย ตั้งแต่ปี 2524 เป็นต้นมา

25 มกราคม 2227
คณะฑูตไทยคณะที่ 2 ออกเดินทางจากกรุงศรีอยุธยา ไปยังประเทศฝรั่งเศส (คณะแรกสูญหายในระหว่างเดินทาง)

25 มกราคม 2485
รัฐบาลไทยภายใต้การนำของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ (บริเตนใหญ่) และสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ

25 มกราคม 2502
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงกระทำยุทธหัตถี มีชัยชนะแก่พระมหา อุปราชา

28 มกราคม 2456
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปทรงประกอบพิธีบวงสรวงสมโภชเจดีย์ยุทธหัตถีที่อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ถูกค้นพบเป็นครั้งแรก โดยเหลือซากแต่เพียงฐานสี่เหลี่ยมกว้าด้านละ 19.50 เมตร สูงจากพื้นดินถึงส่วนชำรุด 6.50 เมตร

28 มกราคม 2484
กรณีพิพาทอินโดยจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ยุติลงโดยญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทเป็นผู้ไกล่เกลี่ย มีการลงนามในข้อตกลงพักรบ

29 มกราคม 2382
หมอบัดเลย์ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน ได้ทำการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ เป็นครั้งแรกในเมืองไทย

29 มกราคม 2445
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ จบการศึกษา จากประเทศอังกฤษ เสด็จกลับคืนสู่พระนคร