เหตุการณ์ในอดีต

 

มกราคม | กุมภาพันธ์ | มีนาคม | เมษายน | พฤษภาคม | มิถุนายน
| กรกฎาคม | สิงหาคม | กันยายน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม |

พฤศจิกายน

 

1 พฤศจิกายน 2432
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งโรงพยาบาลคนเสียจริต ขึ้นที่ปากคลองสาน
เป็นโรงพยาบาลเพื่อผู้ป่วยทางจิตแห่งแรกของประเทศไทย รับผู้ป่วยไว้รักษาครั้งแรก 30 คน ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา

2 พฤศจิกายน 2400
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชหัตเลขา ถึงราชทูตไทยในกรุงลอนดอน ให้แสวงหาเครื่องทำเงินตรา (เหรียญกษาปณ์)

3 พฤศจิกายน 2346
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระนามเดิม บุญมา เป็นพระอนุชาธิราชของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สิ้นพระชนม์ด้วยโรคนิ่ว
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ ในปี พ.ศ. 2325 พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเป็น พระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
พระองค์ได้ทรงทำศึกสงครามกับพม่าหลายครั้ง จนเป็นที่ครั่นคร้ามแก่อริราชศัตรู สงครามครั้งที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ คือสงครามเก้าทัพ ณ ตำบลลาดหญ้า แขวงกาญจนบุรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์ทรงสามารถยับยั้งข้าศึกไว้ได้ โดยใช้ทหารเพียงสามหมื่นสกัดกั้น กำลังของข้าศึกที่มีถึงเก้าหมื่น

3 พฤศจิกายน 2428
พ.อ.เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิมแสงชูโต) ผู้บังคับการกรมทหารม้า เป็นแม่ทัพกองทัพฝ่ายเหนือ (ซึ่งต่อมาคือ จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ผู้บัญชาการทหารบกคนแรก) ไปปราบพวกฮ่อในแคว้นหัวพันห้าทั้งหก ได้ใช้เมืองซ่อนเป็นฐานปฏิบัติการ ซึ่งในการยกทัพไปครั้งนี้ พระวิภาคภูวดล (เจ้ากรมแผนที่คนแรก) ได้เขียนแผนที่แสดงพระราชอาณาเขตของไทย ทางภาคเหนือจนถึงแคว้นสิบสองจุไทย และได้มอบแผนที่ให้ พันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ เพื่อเป็นหลักฐานกรณีโต้แย้งกับฝรั่งเศส

4 พฤศจิกายน 2453
กองทัพเรือได้ทูลเกล้า ถวายเครื่องแบบจอมพลเรือ แด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยุ่หัว ณ. พระที่นั่ง จักรีมหาปราสาท

5 พฤศจิกายน 2479
ประเทศไทยได้เสนอไปยังนานาประเทศ ขอทำสัญญาทางพระราชไมตรี การค้าขาย และการเดินเรือใหม่ โดยถือหลักความมีสัมพันธไมตรีความเสมอภาค การถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ หลักความเป็นธรรม และหลักผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน

6 พฤศจิกายน 2310
ทำลายค่ายโพธิ์สามต้น สุกี้แม่ทัพใหญ่ตาย อยุธยากลับมาเป็นของไทย ภายหลังเสียไป 7 เดือน

7 พฤศจิกายน 2493
กองทหารไทยรุ่นแรก เดินทางไปถึงประเทศเกาหลี เพื่อร่วมเป็นกองกำลังของฝ่าย โลกเสรีในสงครามเกาหลี อันเนื่องจากเกาหลีเหนือ ยกกำลังเข้ารุกรานเกาหลีใต้

8 พฤศจิกายน 2436
วันพระราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 76 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นพระชนมายุได้ 12 พรรษา ได้รับพระราชทานพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระนาม พร้อมกับดำรงพระเกียรติยศเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ฯ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชาทรงขึ้นครองราชสมบัติ สืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเชษฐาธิราช เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2468 นับเป็นรัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 พระองค์ได้พระราชทาน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามเป็นฉบับแรก เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ครั้นต่อมาปรากฎว่า ได้เกิดความคิดเห็นทางการเมืองขัดแย้งกันระหว่างพระองค์ กับรัฐบาล และสภาผู้แทนราษฎร จึงทรงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2477 และเสด็จไปประทับที่ประเทศอังกฤษ เสด็จสวรรคตด้วยโรคพระหทัยพิการ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2484 สิริรวมพระชนมายุ 48 พรรษา ในปี 2536 เป็นวาระครบรอบ 100 ปี ของพระองค์

8 พฤศจิกายน 2471
เครื่องบินจากสายการบินฮอลันดา ซึ่งเป็นประเทศแรกในยุโรปที่เปิดสายการบินจากยุโรปสู่เอเซีย ได้มาลงที่ดอนเมือง เพื่อเดินทางไปปัตตาเวียในชวาต่อไป

8 พฤศจิกายน 2474
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้รวมกระทรวงทหารเรือ เข้ากับกระทรวงกลาโหม เพราะมีหน้าที่เตรียมการป้องกันพระราชอาณาจักร และลดฐานะกระทรวงทหารเรือเป็น กรมทหารเรือ
8 พฤศจิกายน 2529
ตั้งค่ายพระปกเกล้า ฯ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 5 อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
ตั้งค่ายประเสริฐสงคราม ซึ่งเป็นที่ตั้งของ จังหวัดทหารบกร้อยเอ็ด และกองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 16 อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

9 พฤศจิกายน 2461
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานธงชัยเฉลิมพล แก่กองพันทหารบก และกองทหารบกรถยนต์ เพื่อจัดส่งไปให้หน่วยทหารไทย ที่ไปร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1

11 พฤศจิกายน 2402
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชสาส์น ถึงพระราชาธิบดีเดนมาร์ค มีใจความว่า ขอเจริญทางพระราชไมตรี มายังสมเด็จพระเจ้าเฝรเดอริก ที่ 7 และเรื่องการค้าขาย

11 พฤศจิกายน 2416
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเถลิงราชสมบัติ มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก แต่เนื่องจากพระองค์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งขณะนั้นมีบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ จึงรับหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

11 พฤศจิกายน 2451
วันพระราชพิธี วางศิลาฤกษ์พระที่นั่งอนันตสมาคม

11 พฤศจิกายน 2461
วันที่ระลึกทหารอาสา เป็นวันสงบศึกสงครามโลก ครั้งที่ 1 ระหว่างกลุ่มมหาอำนาจ ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี บัลแกเรีย และตรุกี ฝ่ายหนึ่งกับกลุ่มประเทศพันธมิตรรวม 25 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา และไทย เป็นต้น อีกฝ่ายหนึ่ง
12 พฤศจิกายน 2410
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้เรือพระที่นั่งอรรคเรศรัตนาสน์ ออกไปรับผู้ว่าราชการเมืองมาเก๊า ซึ่งได้เชิญพระราชสาสน์ และเครื่องราชบรรณาการของกษัตริย์โปรตุเกสมาถวาย จากสันดอนแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามายังกรุงเทพ ฯ

12 พฤศจิกายน 2484
ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง จอมพล หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม) เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ให้มีอำนาจสิทธิขาด บังคับบัญชาแม่ทัพบก แม่ทัพเรือ แม่ทัพอากาศ และแต่งตั้งข้าราชการได้ตามที่ท่านเห็นสมควร

13 พฤศจิกายน 2450
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแวะเยี่ยมเมืองตราด เมื่อเสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้งที่ 2 และเสด็จเมืองจันทบุรีเมื่อ 158 พฤศจิกายน 2450 เพื่อเป็นการปลอบขวัญชาวเมือง เนื่องจากดินแดนส่วนนี้ได้กลับมาเป็นของไทยอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ฝรั่งเศสถอนกำลังออกไปจากเมืองตราด เมื่อเดือน กรกฎาคม 2450

13 พฤศจิกายน 2451
พระราชพิธีประดิษฐานและสมโภชพระบรมรูปทรงม้า 3 วัน (11-13 พ.ย. 2451)

13 พฤศจิกายน 2480
มีการลงนามในสนธิสัญญาเสมอภาค ระหว่างไทย กับสหรัฐ ฯ ในเรื่องการจัดเก็บภาษีอากรและทางศาล

13 พฤศจิกายน 2483
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ตั้งพลตรี หลวงพิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด และแม่ทัพบก พลเรือตรี หลวงสินธุ์สงครามชัย ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นแม่ทัพเรือ นาวาอากาศเอก หลวงอธึกเทวเดช รองผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นแม่ทัพอากาศ เพื่อเตรียมรับสถานการณ์กรณีพิพาทอินโดจีน

13 พฤศจิกายน 2495
รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติป้องกัน การกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เนื่องจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ได้เริ่มมีบทบาทเด่นชัดขึ้น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง

14 พฤศจิกายน 2532
ตั้งค่ายสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองพลทหารราบที่ 11 อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
ค่ายอภัยบริรักษ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองพันที่ 5 กรมทหารราบที่ 15 กองพันทหารช่างที่ 402 อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

15 พฤศจิกายน 2416
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอีกครั้ง เมื่อพระองค์ทรงบรรลุพระราชนิติภาวะแล้ว และทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ นับจากนั้นมาก็ทรงพระราชอำนาจเด็ดขาด ในการบริหารราชการแผ่นดิน

15 พฤศจิกายน 2457
การประปาเริ่มบริการน้ำใช้ในกรุงเทพ ฯ เป็นวันแรก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

16 พฤศจิกายน 2446
กองทัพบกได้จัดทำ คทาจอมพลขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในพระราชพิธี ทวีธาภิเษก ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท นับเป็นครั้งแรกที่มีคทาจอมพลขึ้นในประเทศไทย
พระราชพิธีทวีธาภิเษก เป็นพระพิธีการสมโภช ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ครองราชสมบัติยืนนาน มาเป็น 2 เท่า ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถ

16 พฤศจิกายน 2524
ตั้งค่ายศรีสองรัก ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองพันที่ 1 และกองพันที่ 4 กรมทหารราบที่ 8 จังหวัดทหารบกอุดร ( ส่วนแยกที่ 3 จังหวัดเลย ) อยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดเลย

17 พฤศจิกายน 2454
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้มีพระราชพิธีถวายบังคมและสัการะพระบรมรูปทรงม้า เป็นปีแรก

17 พฤศจิกายน 2489
ฝรั่งเศสกับไทย ได้ลงนามในความตกลงระงับกรณีพิพาทต่อกัน มีสาระที่สำคัญ คือ ไทยต้องคืนดินแดน 4 จังหวัดให้แก่ฝรั่งเศส คือ พระตะบอง พิบูลสงคราม จำปาศักดิ์ และลานช้าง

19 พฤศจิกายน 2430
พลตรี พระยาสุรศักดิ์มนตรี ยกกองทัพออกจากกรุงเทพ ฯ ไปปราบพวกฮ่อเป็นครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย

20 พฤศจิกายน 2449
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงเรียนนายเรือ ที่พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี กองทัพเรือได้ถือวันนี้ เป็นวันกองทัพเรือ (navy day) ตั้งแต่ พ.ศ. 2486

21 พฤศจิกายน 2437
รถรางเปลี่ยนจากใช้ม้าลากมาเป็นใช้ไฟฟ้า และโอนกิจการให้แก่รัฐบาล พ.ศ. 2493 เลิก 1 ต.ค. 2511

23 พฤศจิกายน 2353
วันที่เจ้าพระยาบดินทรเดชา เป็นแม่ทัพยกไปปราบเขมร-ญวน ให้สิ้นเสี้ยนหนาม ศึกครั้งนี้ใช้เวลา 15 ปี

23 พฤศจิกายน 2370
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ทรงสถาปนาคุณหญิงโม เป็นท้าวสุรนารี

23 พฤศจิกายน 2483
ในกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส เครื่องบินฝรั่งเศสจำนวน 8 เครื่อง บินล้ำเขตแดนไทยทางด้านนครพนม ฝ่ายไทยส่งเครื่องบินขับไล่ขึ้นสะกัดกั้น

25 พฤศจิกายน 2453
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาพระอิสริยยศสมเด็จพระราชชนนี คือสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง

25 พฤศจิกายน 2468
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมายุ 45 พรรษา ดำรงอยู่ในราชสมบัติ 16 ปี ในรัชสมัยของพระองค์ ได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ คือ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งกองเสือป่าและลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2445 นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นนักประพันธ์ และนักปราชญ์อีกด้วย จึงทรงได้รับถวายสมญานามว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ในวันนี้ของทุกปี ส่วนราชการและประชาชนจะนำพวงมาลาไปถวายบังคม พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประดิษฐานอยู่หน้าสวนลุมพินี

26 พฤศจิกายน 2468
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเสวยราชสมบัติ

26 พฤศจิกายน 2483
ฝรั่งเศสส่งเครื่องบินล้ำเข้ามาในเขตแดนไทย ทิ้งระเบิดบริเวณ จังหวัดนครพนม เนื่องจากฝรั่งเศสปฏิเสธข้อเสนอของรัฐบาล พลตรี หลวงพิบูลสงคราม (ที่จะไม่รุกรานประเทศไทย) ขอให้ฝรั่งเศสปรับปรุงเส้นเขตแดน ระหว่างประเทศไทย กับ อินโดจีนฝรั่งเศส โดยให้ถือแนวร่องน้ำลึกของแม่น้ำโขง เป็นเส้นเขตแดนไทย-อินโดจีนฝรั่งเศสตามแนวสากล ตลอดจนให้ฝรั่งเศส คืนดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ฝั่งตรงข้ามหลวงพระบางปากเซ รวมถึงดินแดนแหลมอินโดจีน ที่พ้นจากการปกครองของฝรั่งเศสแล้วให้กับไทย กรณีพิพาทจึงได้เริ่มขึ้นตามบริเวณชายแดนไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส

27 พฤศจิกายน 2461
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้รวมกองบัญชาการกองสุขศึกษา กองสาธารณสุข กองยาเสพติดให้โทษ กองโอสถศาลารัฐบาล กองบุราภิบาล เข้าด้วยกันแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงสาธารณสุข และทางราชการได้กำหนดให้วันที่ 27 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันสาธารณสุข

28 พฤศจิกายน 2483
ตั้งหน่วยตำรวจสนามในกองทัพบกสนาม โดยมี พลตำรวจตรี หลวงอดุลเดชจรัส เป็นผู้บังคับตำรวจสนาม และพันตำรวจตรี หลวงวิทิตกลชัย เป็นรองผู้บังคับตำรวจสนาม ขึ้นตรงต่อกองบัญชาการทหารสูงสุด ประกอบด้วย กองตำรวจสนาม 13 จังหวัด

28 พฤศจิกายน 24832
อินโดจีนฝรั่งเศสได้ส่งเครื่องบิน 5 เครื่องมาโจมตี และทิ้งระเบิดเหนือจังหวัดนครพนม พร้อมกับใช้ปืนใหญ่ซึ่งตั้งอยู่เมืองท่าแขก ยิงข้ามแม่น้ำมาตกหลังตลาด เครื่องบินฝ่ายไทยได้ขึ้นสกัดกั้น ขณะเดียวกัน ปตอ. บนพื้นดินยิงต่อต้านอย่างรุนแรง เครื่องบินฝรั่งเศสถูกยิงตก 3 เครื่อง

29 พฤศจิกายน 2483
อินโดจีนฝรั่งเศสส่งทหารมาทางเรือ จะเข้ายึดจังหวัดตราด ตำรวจสนามที่คลองใหญ่ได้ต้านทานไว้ ส่วนทางด้านท่าแขก สุวรรณเขต มีการสู้รบทางอากาศ

29 พฤศจิกายน 2503
วันสถาปนากรมยุทธศึกษาทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด (ยศ.ทหาร บก.ทหารสูงสุด) เดิมใช้ชื่อหน่วยว่า กรมการศึกษาวิจัย และกรมการศึกษา ตามลำดับ

30 พฤศจิกายน 2476
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนชื่อ กรมทหารเรือ เป็น กองทัพเรือ เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม