เหตุการณ์ในอดีต

 

มกราคม | กุมภาพันธ์ | มีนาคม | เมษายน | พฤษภาคม | มิถุนายน
| กรกฎาคม | สิงหาคม | กันยายน | ตุลาคม | พฤศจิกายน | ธันวาคม |

มิถุนายน

๑ มิถุนายน๒๓๐๑
เจ้าฟ้าอุทุมพร (กรมขุนพรพินิต) กษัตริย์อยุธยาองค์ที่ ๓๒ เสวยราชย์ได้๒ เดือนเศษ ได้ถวายราชสมบัติให้กับเจ้าฟ้าเอกทัศน์ (กรมขุนอนุรักขมนตรี) พระเชษฐา ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา เป็นเวลา ๙ ปี ทั้งสองพระองค์เป็นโอรสพระเจ้าบรมโกศ กษัตริย์อยุธยาองค์ที่ ๓๑ ก่อนเสด็จสวรรคตได้ทรงตั้งเจ้าฟ้าอุทุมพรเป็น รัชทายาท ไม่ตั้งเจ้าฟ้าเอกทัศน์ผู้พี่ ซึ่งทรงเห็นว่าโฉดเขลา จะรักษาบ้านเมืองไว้ไม่ได้

๑ มิถุนายน๒๔๕๑
ประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ร.ศ.๑๒๗ และ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗ นับเป็นประมวลกฎหมาย (CODE) ฉบับแรกของไทย

๑ มิถุนายน๒๔๖๘
วันทำพิธีเปิด โรงเรียนนายเรือ ปัจจุบันคือ สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง

๑ มิถุนายน๒๔๘๑
วันจัดตั้งหน่วยบินทหารเรือขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกว่าหน่วยบินทะเล ขึ้นตรงกับกองเรือรบ

๑ มิถุนายน๒๕๑๖
ไทนสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับโรมาเนีย

๒ มิถุนายน๒๓๕๘
วางหลักเมือง เมืองนครเขื่อนขันธ์ พระประแดง ขณะนั้นมีมอญ ๔๐,๐๐๐อยู่ที่เมืองปทุมธานี และให้มอญ ๓๐๐ คน มาอยุ่ที่นครเขื่อนขันธ์

๒ มิถุนายน๒๔๔๕
ประกาศห้ามจับปลาในฤดูวางไข่ในที่น้ำนิ่ง ระหว่าง ๑ กรกฎาคม ถึง ๑๕ กันยายน(เฉพาะในมณฑลกรุงเก่า)

๒ มิถุนายน๒๕๒๔
กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือประกาศเปลี่ยนแปลงเวลามาตรฐานซึ่งใช้อยู่ปัจจุบันให้ใกล้เคียงกับเวลาจริงตามธรรมชาติ(เวลาที่ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนไปจริง)

๓ มิถุนายน๒๓๙๔
แก้พระนามพระพุทธรูป ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามคือ "พระพุทธเลิศหล้าสุราลัย" เป็น "พระพุทธเลิศหล้านภาลัย"

๓ มิถุนายน๒๔๑๐
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการประกาศตั้ง เซอร์ยอน เบาริง เป็นราชทูตวิสามัญ และอัคราชทูตผู้มีอำนาจเต็มฝ่ายไทยประจำยุโรป และได้ตั้งให้เป็น พระยาสยามานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ เมื่อ ๓๑ สิงหาคม ๒๔๑๐

๓ มิถุนายน๒๔๕๘
ตั้งยศนายพลเสือป่าเป็นครั้งแรก พระราชทานแก่ พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพไกรฤกษ์)

๓ มิถุนายน๒๔๘๔
ถวายพระเพลิง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประเทศอังกฤษ

๔ มิถุนายน๒๔๓๕
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ กองทัพเรือสนับสนุนกรมป่าไม้ เพื่อจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลด้านป่าชายเลน และป้องกันควบคุมการบุกรุกทำลายป่าชายเลน ตลอดแนวน่านน้ำไทย

๕ มิถุนายน๒๔๖๑
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ฉบับแรกของไทย

๕ มิถุนายน๒๔๘๑
เรือดำน้ำของไทย ๔ ลำ ออกเดินทางจากประเทศญี่ปุ่นมาถึงไทย

๖ มิถุนายน๒๔๕๘
แก้ระเบียบสวดมนต์ไหว้พระสำหรับทหาร ให้มีบทปลุกใจ "ชาติของเราเป็นไทยอยู่ได้จนถึงตัวเราคนหนึ่งนี้..."และมีการแก้เพลงชาติเสียใหม่

๗ มิถุนายน๒๔๓๐
ชาวเมืองไลเจาและพวกฮ่อจากแคว้นสิบสองจุไท ได้ยกทัพเมืองหลวงพระบาง ภายหลังที่กองทัพเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ยกทัพกลับออกจากเมืองหลวงพระบางเมื่อ ๒๗ เมษายน ๒๔๓๐

๗ มิถุนายน๒๔๔๗
ตราข้อบังคับอัตราเบี้ยกันดารทหารบก ร.ศ.๑๒๓

๘ มิถุนายน๒๔๕๗
เปลี่ยนชื่อเมืองนครเขื่อนขันธ์เป็น พระประแดง

๙ มิถุนายน๒๓๘๒
ให้เมืองพังงาเป็นเมืองใหญ่ เอาเมืองถลาง เมืองตะกั่วทุ่ง เมืองตะกั่วป่า มาขึ้นกับเมืองพังงา

๙ มิถุนายน๒๔๓๕
เรือกลไฟเริ่มเดินในลำแม่น้ำมูลระหว่างเมืองอุบลท่าช้าง เป็นเที่ยวแรก

๙ มิถุนายน๒๔๕๓
ตั้งเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวา

๙ มิถุนายน๒๔๘๙
พระบาทสมเด็จพระอนันทมหิดล เสด็จสวรรคต

๙ มิถุนายน๒๔๘๙
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์

๙ มิถุนายน๒๕๑๔
ตั้งกองพลที่ ๙ ที่จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วยกรมทหารราบที่ ๙ และ ๑๙ กองพลที่ ๙ เคยตั้งอยู่ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา แล้วยุบเลิกไปเมื่อ ๓๐พฤษภาคม ๒๔๗๑

๑๐ มิถุนายน๒๔๐๐
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชสาส์นถึงประธานาธิบดีอเมริกามีใจความว่าขอเจริญทางพระราชไมตรีมายัง แฝรงกลินเปียศปริศเดน ผู้บังการแผ่นดินยุไนติศเตศอเมริกาและเรื่องการขอแก้สัญญาเก่าในทางไมตรี และการค้าขายในแผ่นดินสยาม ที่ได้เคยทำกันมาตั้งแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

๑๐ มิถุนายน๑๔๐๐
มีการฉายภาพยนตร์ครั้งแรกในไทยที่โรงละคร หม่อมเจ้าอลังการ์

๑๐ มิถุนายน๒๔๒๕
บริษัท เดอลอง ของฝรั่งเศส ขอขุดคอคอดกระ แบบเดียวกับการขุคคลองสุเอช แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบ่ายเบี่ยง เพราะต้องพิจารณาประโชยน์ของฝ่ายไทยก่อน เพราะถ้าผิดพลาดจะเสียความสัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับอังกฤษ

๑๐ มิถุนายน๒๔๓๙
การไฟฟ้านครหลวง เปิดบริการแก่ประชาชนในพระนคร

๑๐ มิถุนายน๒๔๘๐
ตรา พ.ร.ก. ประกาศแนวถนน ๔๑ สาย

๑๐ มิถุนายน๒๔๘๖
ตั้งมณฑลทหารเรือที่ ๒ ที่สัตหีบ แล้วยุบลงเหลือเป็นสถานีทหารเรือสัตหีบเมื่อ ๑๔ กรกฎาคม ๒๔๙๔

๑๑ มิถุนายน๒๔๒๑
พระศรีวิชัย (ครูบาศรีวิไชย) พระภิกษุผู้มีชื่อเสียงแห่งลานนาไทย เกิดที่บ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นพระภิกษุนักบุญผู้สร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ เมืองเชียงใหม่ โดยแรงศรัทธา ใช้เวลาเพียง๕ เดือน พระศรีวิไชย มรณภาพ เมื่อ ๒๒ มีนาคม ๒๔๘๑

๑๑ มิถุนายน๒๔๔๓
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือจากอังกฤษเป็นพระองค์แรก เสด็จกลับถึงกรุงเทพ ฯ แล้วทรงโปรดเกล้า ฯ พระราชทานยศเป็นนายเรือโท พระองค์ได้ทรงบากบั่นก่อสร้างกองทัพเรือไทยให้แข็งแกร่งขึ้น ทรงพระวิริยะอุตสาหะอย่างแรงกล้า ที่จะให้คนไทยมีความสามารถในกิจการทหารเรือ จนได้รับการขนานนามจากกองทัพเรือเมื่อ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ ว่า พระบิดาของกองทัพเรือไทย

๑๒ มิถุนายน๒๔๓๗
กองทัพเมืองเชียงใหม่ของพระเจ้ากาวิละ ยึดเมืองเชียงแสนได้ในวันนี้ เมืองเชียงแสนอยู่ในท้องที่จังหวัดเชียงราย ริมแม่น้ำโขง ขณะนั้นยังอยู่ในอิทธิพลพม่า

๑๒ มิถุนายน๒๔๖๙
ให้รวมโรงเรียนมหาดเล็กหลวงที่กรุงเทพ ฯ (ถนนซังฮี้) กับโรงเรียนราชวิทยาลัยที่บางขวาง เป็นโรงเรียนเดียวกันเรียกว่า โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย และให้ยุบโรงเรียนมหาดเล็กหลวงที่เชียงใหม่ด้วย"โรงเรียนมหาดเล็ก" ต่อมาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "โรงเรียนมหาดเล็กหลวง"คือ วชิราวุธวิทยาลัย

๑๒ มิถุนายน๒๔๘๓
รัฐบาลไทยได้ลงนามในกติกาสัญญา ไม่รุกรานกันกับอังกฤษและฝรั่งเศส ในห้วงระยะเวลาที่เกิดสงครามโลก ครั้งที่ ๒

๑๒ มิถุนายน๒๔๘๓
รัฐบาลไทยได้ลงนามในสนธิสัญญา ว่าด้วยการจำเริญสัมพันธไมตรี และเคารพต่อบูรณภาพแห่งกันระหว่างไทย กับญี่ปุ่น ก่อนเกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา

๑๒ มิถุนายน๒๕๑๕
กองทหารไทยรุ่นสุดท้ายที่ร่วมรบในสงครามเกาหลี เดินทางออกจากประเทศเกาหลีกองทหารไทยรุ่นแรกเดินทางไปถึงประเทศเกาหลี เมื่อ ๗ พฤษจิกายน ๒๔๙๓

๑๓ มิถุนายน๒๓๒๕
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงกระทำพิธีปราบดาภิเษก เป็นกษัตริย์พระบรมราชจักรีวงศ์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

๑๔ มิถุนายน๒๓๑๐
พระเจ้ากรุงธนบุรี เข้ายึดเมืองจันทบุรี

๑๔ มิถุนายน๒๔๕๖
ตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทยทุน ๑ ล้านบาท

๑๕ มิถุนายน๒๔๐๑
หมอบลัดเล ซื้อลิขสิทธิ์หนังสือนิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัย เป็นการซื้อลิขสิทธิ์ครั้งแรกในเมืองไทย

๑๕ มิถุนายน๒๕๐๕
ศาลโลก (WORLD COURT JUSTICE) ที่กรุงเฮก พิจารณาคดีเขาพระวิหาร ระหว่างไทยกับกัมพูชา โดยตัดสินให้เขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยคะแนน ๙ ต่อ ๓ เหตุที่ไทยแพ้คือ กฎหมายปิดปาก (การยอมรับในสมัยนั้น) ที่ทางกัมพูชานำมาอ้าง

๑๖ มิถุยายน๒๓๖๓
เกิดอหิวาตกโรคระบาดในกรุงเทพ ฯ ในสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกว่าห่าปีระกามีผู้เสียชีวิต ๓๐,๐๐๐ คน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ให้ตั้งราชพิธีอาพาธพินาศที่พระที่นั่งดุสิตาทำคล้ายพิธีตรุษคือยิงปืนใหญ่รอบพระนครตลอดรุ่ง ๑ คืน แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบรมธาตุออกเวียนรอบพระนครมีพระราชาคณะในขบวนแห่ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ทั้งทางบกและทางเรือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงรักษาอุโบสถศีลพร้อมพระวงศานุวงศ์ ข้าราชการทั่วไปได้รับพระบรมราชานุญาติให้รักษาศีลทำบุญให่ทานตามใจสมัคร ไม่ต้องเข้าเฝ้า และทำราชการที่ไม่จำเป็น

๑๖ มิถุนายน๒๓๒๙
เกิดอหิวาตกโรคระบาดในพระนคร ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกว่า "ห่าปีระกา"

๑๗ มิถุนายน๒๓๒๕
ตรากฎหมายลงโทษข้าราชการที่กินเหล้า เล่นเบี้ย โดยใช้เฆี่ยนหลัง ๓ ยก (๙๐ที)

๑๗ มิถุนายน๒๔๔๑
ประกาศโครงการศึกษา ร.ศ.๑๑๗ ขณะนั้นมีพลเมือง ๖ ล้าน เด็กในเกณฑ์เรียน๔๙๐,๐๐๐ คน

๑๘ มิถุนายน๒๔๖๒
กงสุลฝรั่งเศส ทูลทาบทามพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอทหารไทย ๕๐๐ คน ไปช่วยฝรั่งเศสรบในตังเกี๋ย ซึ่งพระองค์ทรงบ่ายเบี่ยง

๑๘ มิถุนายน๒๔๕๕
ขึ้นระวางเรือเสือคำรณสินธุ์ เรือรบของไทยที่ต่อจากประเทศญี่ปุ่น เป็นเรือลำแรกที่ทหารไทยนำเรือเดินทางจากญี่ปุ่น

๑๘ มิถุนายน๒๔๘๐
ตราพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดิน เพื่อสร้างสถานีเกษตรกลาง ถนนกรุงเทพ- ดอนเมือง

๑๙ มิถุนายน๒๔๖๐
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชสาส์นถึงพระราชาธิบดีฮอลันดา มีใจความว่าขอเจริญทางพระราชไมตรีมายังสมเด็จพระเจ้าวิเลียมที่สาม พระเจ้าแผ่นดินกรุงนิเทอร์แลนด์ ทรงย้ำถึงทางพระราชไมตรีของสองพระนครที่จะยั่งยืนสืบไปนาน และคนของทั้งสองฝ่ายจะค้าขายต่อกันโดยสุขสวัสดิ์

๑๙ มิถุนายน๒๔๒๘
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเทวะวงศ์ ฯ ทรงประกอบพิธีเปิดสำนักงานกระทรวงการต่างประเทศซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า ศาลาการต่างประเทศนับเป็นกระทรวงแรกที่มีสำนักงานขึ้นต่างหากจากที่เคยใช้วังหรือบ้านเสนาบดีกระทรวงนั้นๆ เป็นที่ทำการ

๑๙ มิถุนายน๒๔๕๗
จดทะเบียนบริษัทภาพยนตร์แห่งแรกของเมืองไทย คือ บริษัทภาพยนตร์พัฒนากร

๑๙ มิถุนายน๒๔๖๑
ไทยส่งกำลังอาสาสมัครไปรบในยุโรปในสงครามโลกครั้งที่ ๑ เดินทางโดยเรือเอมไพร์ไปถึงท่าเรือมาร์แซย์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ ๓๐ กรกฎาคม ๒๔๖๑ เมื่อฝึกเสร็จแล้วก็ได้ไปเข้าประจำฐานทัพที่เมืองตรัวส์และได้เข้าไปปฏิบัติการในพื้นที่การรบบริเวณเมืองชาร์ลอง

๒๐ มิถุนายน๒๓๐๙
วันค่ายบางระจันแตก

๒๑ มิถุนายน๒๔๑๖
เกิดอหิวาตกโรคในพระนคร ระบาดอยู่ ๓๐ วัน คนตายมาก

๒๑ มิถุนายน๒๔๓๒
ทหารสามารถกวาดต้อนพวกอั้งยี่ในกรุงเทพ ฯ ที่เกิดวิวาทกันเองแล้วยกกำลังเข้าต่อสู้กันที่โรงสีปล่องเหลี่ยมบางรัก มีการตั้งสนามเพลาะเพื่อสู้รบกันบนถนนเจริญกรุง กระทรวงนครบาลไม่สามารถปราบปรามได้ จึงต้องใช้กำลังทหารบก และทหารเรือเข้าปราบ

๒๒ มิถุนายน๒๔๑๖
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนธรรมเนียมหมอบคลานเข้าเฝ้าเป็นยืนเฝ้า

๒๒ มิถุนายน๒๔๕๕
แต่งตั้ง เลื่อนยศทหาร ให้เป็นนายทหารพิเศษของกองทัพบก

นายพันเอก เจ้าบุญวาทย์วงศามานิต เป็น นายพลตรี
เจ้าแก้วนวรัฐ เป็น นายพันเอก
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เป็น นายพันเอก
นายพันโท เจ้าอุปราชเมืองนครน่าน เป็น นายพันเอก
เจ้าราชบุตรเมืองนครเชียงใหม่ เป็น ร้อยเอก
เจ้าอุปราชเมืองนครลำปาง เป็น นายร้อยเอก
เจ้าราชวงศ์เมืองนครเชียงใหม่ เป็น นายร้อยเอก
การแต่งตั้งยศทหาร ให้เป็นนายทหารพิเศษของกองทัพบก ไม่ทราบว่าเริ่มเมื่อใดแต่ปรากฎในทำเนียบทหารบก ร.ศ.๑๒๒ (พ.ศ. ๒๔๔๖) มีเจ้านายฝ่ายเหนือและใต้ได้รับยศทหารแล้วคือ
นายพันเอก เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้านครเชียงใหม่ พระบิดาของเจ้าดารารัศมี
นายพันโท พระยาเสนีณรงค์ฤทธิ์ รายามดา เมืองไทยบุรี
นายพันตรี เจ้าราชบุตร เมืองเชียงใหม่
นายร้อยเอก เจ้าไชยสงคราม เมืองนครเชียงใหม่
นายร้อยตรี น้อยสมพมิตร เมืองนครเชียงใหม่

๒๓ มิถุนายน๒๑๕๕
เรือสำเภาอังกฤษชื่อ โกลบ เดินทางมาถึงปัตตานี นับเป็นเรืออังกฤษลำแรกที่เดินทางมาไทยในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ

๒๔ มิถุนายน๒๓๒๙
เกิดอหิวาตกโรคระบาดในกรุงเทพ ฯ ระหว่าง ๑๗ มิถุนายน ถึง ๑๕ กรกฎาคม๒๓๒๙ วันนี้เป็นวันที่มีคนตายมากที่สุดถึง ๗๐๐ ศพ เฉพาะที่เผาที่วัดสระเกศ วัดสังเวช วัดบพิตธพิมุข

๒๔ มิถุนายน๒๔๗๕
คณะราษฎร์ได้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศสยาม ให้พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ

๒๔ มิถุนายน๒๔๘๒
เปลี่ยนชื่อประเทศสยาม เป็นประเทศไทย เป็นครั้งแรกที่เริ่มมีรัฐนิยมคือ การชี้นำในเรื่องการนิยมไทย ครั้นถึง ๗ กันยายน ๒๔๘๘ จึงเปลี่ยนกลับไปใช้คำว่า "ประเทศสยาม" ตามเดิม

๒๔ มิถุนายน๒๔๘๓
กำหนดให้ วันที่ ๒๔ มิถุนายน เป็นวันชาติ

๒๔ มิถุนายน๒๔๘๕
มีพิธีเปิด อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ที่บริเวณต้นทางหลวงประชาธิปัตย์ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นทางหลวงพหลโยธิน เพื่อเป็นอนุสรณ์ของผู้ที่กล้าหาญของชาติ ที่ได้เสียชีวิตไปในการรบ เรียกร้องการปรับปรุงเส้นเขตแดนกับอินโดจีนฝรั่งเศส ชื่อของวีรชนไทยดังกล่าวจำนวน ๑๖๐ คน ได้จารึกไว้ ณ อนุสาวรีย์แห่งนี้

๒๔ มิถุนายน๒๔๙๗
บริษัท ททท. เปิดสถานีส่งโทรทัศน์เป็นครั้งแรก สถานีนี้เรียกว่าช่อง๔ สถานีตั้งอยู่ที่วังบางขุนพรหม

๒๕ มิถุนายน๒๔๕๐
มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์แห่งอังกฤษได้ทูลเกล้า ฯ ถวายปริญญาทางกฎหมาย (Doctorof Law) กิตติมศักดิ์แก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในทวีปเอเซีย ที่ได้รับการถวายพระเกียรติดังกล่าว

๒๖ มิถุนายน๒๔๗๕
ประกาศปลด นายทหารชั้นนายพลทั้งกองทัพ เมื่อคราวคณะราษฎร์ยึดการปกครอง แล้วกลับให้มียศนายพล เมื่อ ๓๑ ตุลาคม ๒๔๗๙

๒๗ มิถุนายน๒๔๑๒
ประกาศตั้ง สมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการต่างประเทศ
เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) เป็นสมุหพระกลาโหม
ขณะที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงพระเยาว์

๒๘ มิถุนายน๒๒๒๙
ออกพระวิสูตรสุนทร ได้เป็นราชทูตออกไปเมืองฝรั่งเศส เดินทางถึงเมืองเบรสต์ นำเด็กไทยไปด้วย ๑๒ คน

๒๙ มิถุนายน๒๔๔๕
ประกาศใช้ พระราชบัญญัติธนบัตร ร.ศ.๑๒๑ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๒๙ มิถุนายน๒๔๙๔
วันกบฎแมนฮัตตัน

๓๐ มิถุนายน๒๓๗๔
มิชชั่นนารีอเมริกันคนแรกที่เดินทางมาถึงไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวคือ ศาสตราจารย์ เดวิด เอบีล พร้อมกับศาสตราจารย์ ทอมลิน

๓๐ มิถุนายน๒๔๙๑
บรรจุพระบรมสริรางคารที่พระพุทธบัลลังก์ พระพุทธอังคีรสในพระอุโบสถวัดราชบพิธ

๓๐ มิถุนายน๒๕๐๖
ยูเนสโก ประกาศเกียรติคุณ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงค์ ฯ เป็นบุคคลดีเด่นทางประวัติศาสตร์ของโลกในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี วันประสูติ