พระวินัยปิฎก
เรื่องช่างย้อม 5 เรื่อง
1. พระฉัพพัคคีย์ ลักห่อผ้าของช่างย้อมไป ฯลฯ พวกเขาต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
2. ภิกษุรูปหนึ่ง เห็นผ้ามีราคามาก ยังไถยจิตให้เกิดแล้ว ฯลฯ เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะเพียงแต่คิด
3. ภิกษุรูปหนึ่ง เห็นผ้ามีราคามาก มีไถยจิตจับต้องผ้านั้น ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ
4. ภิกษุรูปหนึ่ง เห็นผ้ามีราคามาก มีไถยจิตทำผ้านั้นให้ไหวแล้ว ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ
5. ภิกษุรูปหนึ่ง เห็นผ้ามีราคามาก มีไถยจิตทำผ้านั้นให้เคลื่อนจากฐาน ฯลฯ
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ฯ
เรื่อง ผ้าห่มที่ตาก 4 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง พบผ้าห่มที่เขาตากไว้ มีราคามาก ยังไถยจิตให้เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะเพียงแต่คิด
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ มีไถยจิตจับต้องแล้ว ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ มีไถยจิตยังผ้านั้นให้ไหวแล้ว ฯลฯ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
4. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ มีไถยจิตทำผ้านั้นให้เคลื่อนจากฐาน ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง กลางคืน 4 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง เห็นทรัพย์ในกลางวัน แล้วทำนิมิตด้วยหมายใจว่า จักลักในกลางคืน เธอเข้าใจทรัพย์นั้นแน่ จึงลักทรัพย์นั้นมาแล้ว ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ เธอเข้าใจทรัพย์นั้นแน่ แต่ลักทรัพย์อื่นมาแล้ว ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ จักลักทรัพย์ในกลางคืน เธอเข้าใจทรัพย์อื่นแต่ลักทรัพย์นั้นมาแล้ว ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
4. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ เธอเข้าใจทรัพย์อื่นจึงลักทรัพย์อื่นมาแล้ว ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
5. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ เธอเข้าใจทรัพย์นั้นแน่ แต่ลักทรัพย์ของตนมาแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ
เรื่อง ทรัพย์ที่ภิกษุนำไปเอง 5 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งนำทรัพย์ผู้อื่นไป มีไถยจิตจับต้องภาระบนศรีษะแล้ว ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ มีไถยจิตยังภาระบนศีรษะให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ..... มีไถยจิตลดภาระบนศรีษะลงสู่คอ ..... อาบัติปาราชิก
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ มีไถยจิตจับต้องภาระที่คอแล้ว ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ ..... มีไถยจิตยังภาระที่คอให้ไหว ..... ต้องอาบัติถุลลัจจัย ..... มีไถยจิตลดภาระที่คอลงสู่เอว ..... อาบัติปาราชิก
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ จับต้องภาระที่เอว มีความรังเกียจว่า ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ ..... มีไถยจิตยังภาระที่เอวให้ไหว ..... อาบัติถุลลัจจัย ..... มีไถยจิต ลดภาระที่เอวลงถือด้วยมือ ..... ต้องอาบัติปาราชิก
4. ภิกษุรูปหนึ่ง วางภาระในมือลงบนพื้น ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
5. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ หยิบทรัพย์นั้นขึ้นจากพื้นดินแล้ว ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง ตอบตามคำถามนำ 5 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งผึ่งจีวรไว้กลางแจ้งแล้วเข้าไปสู่วิหารภิกษุอีกรูปหนึ่ง ได้เก็บไว้ด้วยคิดว่า จีวรนี้อย่าหายเสียเลย ภิกษุเจ้าของออกมา ถามภิกษุนั้นว่าจีวรของผมใครลักไป ภิกษุนั้นตอบว่า ผมลักไป พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่าเธอคิดอย่างไร
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าตอบคำถามนำ ภ. ไม่เป็นอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ
2. ภิกษุรูปหนึ่ง พาดจีวรไว้บนตั่ง ภิกษุอีกรูปหนึ่งเก็บไว้ ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ
3. ภิกษุรูปหนึ่งพาดผ้านิสันทนะไว้บนตั่ง ภิกษุอีกรูปหนึ่งเก็บไว้ ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติ
4. ภิกษุณี รูปหนึ่งผึ่งจีวรไว้ที่รั้ว ภิกษุณีอีกรูปหนึ่งเก็บไว้ ฯลฯ พระผู้มีพระภาค ตรัสว่าไม่เป็นอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ
เรื่อง ลม 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งเห็นผ้าสาฏกถูกลมบ้าหมูพัดหอบไปจึงเก็บไว้ ตั้งใจว่าจักให้เจ้าของ เจ้าของโจทภิกษุนั้นว่าไม่เป็นสมณะ ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีไถยจิต พ. ภิกษุผู้ไม่มีไถยจิตไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ถือเอาผ้าโพกที่ถูกลมบ้าหมูหอบไปด้วยเกรงว่า เจ้าของจะเห็นเสียก่อน ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า พ. เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ศพที่ยังสด
ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้าแล้ว ถือเอาผ้าบังสุกุลที่ศพสดและในร่างศพนั้นมีเปรตสิงอยู่ เปรตกล่าวว่า ท่านอย่าได้ถือเอาผ้าสาฏกของข้าพเจ้าไป ภิกษุนั้นไม่เอื้อเฟื้อได้ถือเอาไป ศพนั้นได้ลุกตามภิกษุนั้นไป เมื่อภิกษุนั้นเข้าไปสู่วิหารปิดประตู ศพนั้นได้ล้มลง ณ ที่นั้น ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อันผ้าบังสุกุลที่ศพสด ภิกษุทั้งหลายไม่พึงถือเอา ภิกษุใดถือเอา ต้องอาบัติทุกกฎ
เรื่อง สับเปลี่ยนสลาก
ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตสับเปลี่ยนสลาก แล้วรับจีวรซึ่งภิกษุจีวรภาชกะแจกอยู่ไป ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง เรือนไฟ
พระอานนท์ สำคัญผ้าอันตรวาสกของภิกษุรูปหนึ่งในเรือนไฟ ว่าเป็นของตนจึงเอาไปนุ่ง ภิกษุนั้นถามพระอานนท์ว่า ไฉนท่านจึงนุ่งอันตรวาสกของผมเล่า พระอานนท์ตอบว่า ผมเข้าใจว่าเป็นของผม พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุผู้มีความเข้าใจว่าของตนไม่ต้องอาบัติ ฯ
เรื่อง เนื้อเดนสัตว์ 5 เรื่อง
1. ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏพบเนื้อเดนราชสีห์ จึงให้อนุปสัมบันต้มแกงฉัน ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติ เพราะเป็นเนื้อเดนราชสีห์
2. ภิกษุหลายรูป ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติ เพราะเป็นเนื้อเดนเสื้อโคร่ง
3. ภิกษุหลายรูป ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติ เพราะเป็นเนื้อเดนเสือดาว
4. ภิกษุหลายรูป ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติ เพราะเป็นเนื้ออันสัตว์ดิรัจฉานหวงแหน
เรื่อง ส่วนไม่มีมูล 5 เรื่อง
1. ขณะที่ภัตตุทเทสก์กำลังแจกข้าวสุกของสงฆ์อยู่ ภิกษุรูปหนึ่งพูดว่า ขอท่านจงให้ส่วนของภิกษุอื่นอีก แล้วรับส่วนที่ไม่มีมูลไป ฯลฯ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท
2. ภิกษุขัชชภาชกะกำลังแจกจ่ายของเคี้ยวของสงฆ์อยู่ ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท
3. ภิกษุปุวภาชกะกำลังแจกขนมของสงฆ์อยู่ ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท
4. ภิกษุอุจฉุภาชกะกำลังแจกอ้อยของสงฆ์อยู่ ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท
5. ภิกษุผลภาชกะกำลังแจกผลมะพลับของสงฆ์อยู่ ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท
เรื่อง ข้าวสุก
ภิกษุรูปหนึ่งไปที่ร้านขายข้าว แล้วมีไถยจิตลักข้าวสุกไปเต็มบาตร ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง เนื้อ
ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปที่ร้านขายแกงเนื้อ มีไถยจิตลักเนื้อไปเต็มบาตร ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ขนม
ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปในร้านขายขนม มีไถยจิตลักขนมไปเต็มบาตร ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง น้ำตาลกรวด
ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปในร้านขายน้ำตาลกรวด แล้วมีไถยจิตลักน้ำตาลกรวดไปเต็มบาตร ฯลฯ เธอต้องปาราชิกแล้ว
เรื่อง ขนมต้ม
ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปในร้านขายขนมต้ม มีไถยจิตลักขนมต้มไปเต็มบาตร ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง บริขาร 5 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งเห็นบริขารในกลางวัน แล้วได้ทำนิมิตไว้ว่าจักลักในกลางคืน
ภิกษุนั้นสำคัญบริขารนั้นแน่ จึงลักบริขารนั้น ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุนั้นสำคัญบริขารนั้นแน่ แต่ลักบริขารอื่น ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุนั้นสำคัญว่าบริขารอื่น แต่ลักบริขารนั้น ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
4. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุนั้นสำคัญว่าบริขารอื่น จึงลักบริขารอื่น ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
5. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุนั้นสำคัญบริขารนั้นแน่ แต่ลักบริขารของตนว่า ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฎ
เรื่อง ถุง
ภิกษุรูปหนึ่ง เห็นถุงวางอยู่บนตั่ง แล้วคิดว่าถ้าเราถือเอาไปจากตั่งนี้ จักเป็นปาราชิก
จึงยกถือเอาพร้อมทั้งตั่ง ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ฟูก
ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตคิดลักฟูกของสงฆ์ ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ราวจีวร
ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักจีวรที่ราวจีวรไป ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ไม่ออกไป
ภิกษุรูปหนึ่ง ลักจีวรในวิหาร แล้วคิดว่าถ้าเราออกจากวิหารนี้ไปจักเป็นปาราชิก จึงไม่ออกจากวิหาร พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า โมฆบุรุษนั้นจะพึงออกไปก็ตาม ไม่ออกไปก็ตาม ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ถือวิสาสะฉันของเคี้ยว
ภิกษุสองรูปเป็นเพื่อกัน รูปหนึ่งเข้าไปบิณฑบาตในบ้าน รูปที่สองได้รับเอาของเคี้ยว
ของสงฆ์ที่ภิกษุภัตตุทเทสก์แจกอยู่อันเป็นส่วนของเพื่อน แล้วถือวิสาสะฉันส่วนของเพื่อนนั้น
ภิกษุรูปหนึ่งทราบแล้วได้โจทภิกษุรูปที่สองว่าไม่เป็นสมณะ ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าถือวิสาสะ พ. ไม่เป็นอาบัติ เพราะถือวิสาสะ
เรื่อง ฉันของเคี้ยวด้วยสำคัญว่าของตน 2 เรื่อง
1. ภิกษุหลายรูปกำลังทำจีวรกันอยู่ภิกษุต่างนำของเคี้ยวของสงฆ์ซึ่งภิกษุขัชชภาชกะ
แจกอยู่ที่เป็นส่วนของตนเก็บไว้ ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญส่วนของภิกษุอีกรูปหนึ่งว่าของตนจึงฉัน ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าของตน
2. ภิกษุหลายรูป ฯลฯ ภิกษุรูปหนึ่งได้เอาบาตรของภิกษุอีกรูปหนึ่งไป นำส่วนของตนมาเก็บไว้ ภิกษุเจ้าของบาตรสำคัญว่าของตนจึงฉัน ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติ ฯลฯ
เรื่อง ไม่ลัก 7 เรื่อง
1. พวกขโมยลักมะม่วง ทำมะม่วงให้หล่น แล้วห่อถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมยเหล่านั้นไป พวกขโมยทิ้งห่อมะม่วงหนีไป ภิกษุทั้งหลายเข้าใจว่าเป็นของบังสุกุล จึงพากันเก็บมะม่วงห่อนั้นไปฉัน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่าไม่เป็นสมณะ พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า พวกเธอคิดอย่างไร
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้าสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล
พ. ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล
2. - 7. พวกขโมยลักชมพู่ ลักขนุน สำมะลอ ลักขนุน ลักผลตาลสุก ลักอ้อย ลักมะพลับ ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้สำคัญว่าเป็นของบังสุกุล
เรื่อง ลัก 7 เรื่อง
1 สมัยนั้น พวกขโมยลักมะม่วง ทำมะม่วงหล่นแล้วห่อถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมย พวกขโมยจึงได้ทิ้งห่อมะม่วงหนีไป ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็นแล้วมี ไถยจิตฉันเสียก่อน ฯลฯ พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
2. - 7. พวกขโมยลักชมพู่ ลักขนุน สำมะลอ ลักขนุน ลักผลตาลสุก ลักอ้อย ลักมะพลับ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง ลักของสงฆ์ 7 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักมะม่วงของสงฆ์ ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิก
2. - 7. ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักชมพู่ของสงฆ์ ลักขนุนสำมะลอของสงฆ์ ลักขนุนของสงฆ์ ลักผลตาลสุกของสงฆ์ ลักอ้อยของสงฆ์ ลักมะพลับของสงฆ์ ฯลฯ อาบัติปาราชิก
เรื่อง ลักดอกไม้ 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักดอกไม้ที่เขาเก็บไว้ ได้ราคา 5 มาสก ฯลฯ
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
2. ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักเก็บดอกไม้ ได้ราคา 5 มาสก ฯลฯ อาบัติปาราชิก
เรื่อง พูดตามคำบอก 3 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อจะไปสู่บ้านได้กล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า ผมจะบอกสกุลอุปัฏฐาก
ของท่านตามที่ท่านบอก ภิกษุนั้นไปถึงจึงให้เขานำผ้าสาฏกมาผืนหนึ่ง แล้วใช้เสียเอง ฯลฯ
เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ภิกษุทั้งหลายไม่พึงกล่าวว่า ผมบอกตามที่ท่านบอก รูปใดกล่าวต้องอาบัติทุกกฎ
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุนั้นจึงให้เขานำผ้าสาฏกมาคู่หนึ่ง แล้วใช้เสียเอง 1 ผืน ให้ภิกษุผู้บอก 1 ผืน ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฎ
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุรูปนั้นจึงให้เขานำเนยใส 1 อาฬหก น้ำอ้อยงบ 1 ดุล ข้าวสาร 1 โทณะ มาแล้วฉันเสียเอง ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฎ
เรื่อง นำแก้วมณีล่วงด่านภาษี 3 เรื่อง
1. บุรุษผู้หนึ่งนำแก้วมณีซึ่งมีราคามาก เดินทางไกลไปกับภิกษุรูปหนึ่ง ครั้นบุรุษนั้น
เห็นด่านภาษีจึงหย่อนแก้วมณีลงในถุงย่ามของภิกษุนั้น ผู้ไม่รู้ตัวเดินพ้นด่านภาษีไปแล้ว จึงถือนำไปเอง ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า เธอคิดอย่างไร
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้ตัว พ. ภิกษุผู้ไม่รู้ตัวไม่ต้องอาบัติ
2. บุรุษผู้หนึ่ง ฯลฯ ครั้นบุรุษเห็นด่านภาษี จึงทำลวงว่าเป็นไข้ แล้วได้ให้ห่อของตนแก่ภิกษุนั้น ครั้นพ้นด่านภาษีแล้วจึงกล่าวว่าขอจงนำห่อของของผมมา ผมไม่ได้เป็นไข้ ภิกษุนั้นจึงถามว่า
ท่านทำเช่นนั้นเพื่ออะไร เมื่อบุรุษนั้นแจ้งความแก่ภิกษุนั้นแล้ว ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
เธอคิดอย่างไร
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้ พ. ภิกษุผู้ไม่รู้ไม่ต้องอาบัติ
3. ภิกษุรูปหนึ่ง เดินทางไกลไปกับพวกเกวียน บุรุษหนึ่งเกลี้ยกล่อมภิกษุนั้นด้วยอามิส แล้วเห็นด่านภาษี จึงส่งแก้วมณีซึ่งมีราคามากให้ภิกษุนั้นโดยขอร้องว่า ขอท่านจงช่วยนำแก้วมณีนี้
ผ่านด่านภาษีด้วย ภิกษุนั้นนำแก้วมณีผ่านด่านภาษี ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ปล่อยหมู 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง มีความสงสาร ได้ปล่อยหมูที่ติดบ่วง ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะช่วยเหลือ
พ. ภิกษุผู้มีความประสงค์จะช่วยเหลือไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ปล่อยหมูที่ติดบ่วงไปเสียก่อนด้วยคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีไถยจิต พ. เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ปล่อยเนื้อ 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง มีความสงสารได้ปล่อยเนื้อที่ติดบ่วง ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะช่วยเหลือ
พ. ภิกษุผู้มีความประสงค์จะช่วยเหลือไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ปล่อยปลา 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง มีความสงสารได้ปล่อยปลาที่ติดลอบไป ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง กลิ้งทรัพย์ในยาน
ภิกษุรูปหนึ่ง เห็นทรัพย์ในยานแล้วคิดว่า เราจักถือเอาไปจากยานนี้จักเป็นปาราชิก จึงเขี่ยให้กลิ้งถือเอาไป ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง ชิ้นเนื้อ 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งได้ถือเอาชิ้นเนื้อที่เหยี่ยวเฉี่ยวไป ด้วยตั้งใจว่าจักให้แก่พวกเจ้าของ ฯลฯ ภิกษุผู้หาไถยจิตมิได้ ไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ไม้ 2 เรื่อง
1. คนทั้งหลายผูกไม้แพ แล้วให้ลอยไปตามกระแสในแม่น้ำอจิรวดี เมื่อเครื่องผูกขาด ไม้ได้ลอยกระจายไป ภิกษุทั้งหลายมีความสำคัญว่า เป็นของบังสุกุลจึงช่วยกันยกขนขึ้น ฯลฯ ภิกษุผู้มีความว่าเป็นของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ
2. คนทั้งหลายผูกแพไม้แล้ว ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายมีไถยจิตช่วยกันขนขึ้นเสียก่อนด้วยคิดว่า พวกเจ้าของเห็น ฯลฯ พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ผ้าบังสุกุล
คนเลี้ยงโคคนหนึ่ง พาดผ้าสาฏกไว้ที่ตนไม้ ภิกษุรูปหนึ่ง มีความสำคัญว่าเป็นผ้าบังสุกุล จึงถือเอาไป ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
เรื่อง ข้ามน้ำ 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งกำลังข้ามน้ำ ผ้าสาฏกที่หลุดจากมือพวกช่างย้อม ไปคล้องอยู่ที่เท้าภิกษุนั้น ๆ เก็บไว้ ด้วยตั้งใจว่าจักให้แก่พวกเจ้าของ ฯลฯ ภิกษุผู้หาไถยจิตมิได้ ไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตยึดเอาไว้เสียก่อน ด้วยคิดว่า พวกเจ้าของจักเห็น ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ฉันทีละน้อย
ภิกษุรูปหนึ่งเห็นหม้อเนยใสแล้วฉันเข้าไปทีละน้อย ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง ชวนกันลักทรัพย์ 2 เรื่อง
1. ภิกษุหลายรูปชักชวนกันไป ด้วยตั้งใจว่าจักลักทรัพย์ ภิกษุรูปหนึ่งลักทรัพย์มาได้ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า พวกเราไม่เป็นปาราชิก ฯลฯ รูปใดลัก รูปนั้นเป็นปาราชิก ฯลฯ
2. ภิกษุหลายรูปชวนกันไปลักทรัพย์มาได้แล้วมาแบ่งกัน ภิกษุรูปหนึ่งได้ส่วนแบ่งไม่ครบ 5 มาสก จึงกล่าวว่าพวกเราไม่เป็นปาราชิก ฯลฯ พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง กำมือ 4 เรื่อง
1. ในสาวัตถี มีข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตคิดลักข้าวสารของชาวบ้าน 1 กำมือ ฯลฯ
ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
2. ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักถั่วเขียวของชาวบ้าน 1 กำมือ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ลักถั่วฝักยาวของชาวบ้าน 1 กำมือ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
4. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ลักงาของชาวบ้าน 1 กำมือ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง เนื้อเดน 2 เรื่อง
1. พวกโจรฆ่าโคกินเนื้อแล้ว ซ่อนส่วนที่เหลือไว้แล้วพากันไป ภิกษุทั้งหลายสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงให้ถือเอาไปฉัน ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
2. พวกโจร ฯลฯ ฆ่าหมู ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
เรื่อง หญ้า 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักหญ้าที่เขาเกี่ยวไว้ได้ราคา 5 มาสก ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
2. ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตเกี่ยวหญ้า ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง ให้แบ่งของสงฆ์ 7 เรื่อง
1. พระอาคันตุกะทั้งหลายยังกันและกันให้แจกมะม่วงของสงฆ์แล้วฉัน ฯลฯ
พ. พวกเธอคิดอย่างไร ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า คิดเพื่อต้องการฉัน
พ. คิดเพื่อต้องการฉัน ไม่ต้องอาบัติ
2. - 7. พระอาคันตุกะทั้งหลาย ฯลฯ ให้แจกชมพู่ ขนุนสำมะลอ ขนุน ผลตาลสุก อ้อย มะพลับของสงฆ์ แล้วฉัน ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
เรื่อง ไม่ใช่เจ้าของ 7 เรื่อง
1. พวกคนรักษามะม่วงได้ถวายมะม่วงแก่ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย
2. - 7. พวกคนรักษาชมพู่ ขนุนสำมะลอ ขนุน ผลตาลสุก อ้อย ผลมะพลับ ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
เรื่อง ยืมไม้ของสงฆ์
ภิกษุรูปหนึ่งขอยืมไม้ของสงฆ์ไปค้ำฝาที่อยู่ของตน ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดขอยืม พ. ไม่ต้องอาบัติ เพราะคิดยืม
เรื่อง ลักน้ำของสงฆ์
ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักน้ำของสงฆ์ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง ลักดินของสงฆ์
ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักดินของสงฆ์ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง หญ้า 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักหญ้ามุงกระต่ายของสงฆ์ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
2. ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตเผาหญ้ามุงกระต่ายของสงฆ์ ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพพระพุทธเจ้า คิดลัก พ. เธอต้องอาบัติทุกกฎแล้ว
เรื่อง เสนาสนะของสงฆ์ 7 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักเตียงของสงฆ์ ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าคิดลัก พ. เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
2.- 7. ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักตั่ง ลักฟูก ลักหมอน ลักบานประตู ลักม่านหน้าต่างลักไม้กลอน ของสงฆ์ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง มีเจ้าของไม่ควรนำไปใช้
ภิกษุทั้งหลาย นำเสนาสนะอันเป็นเครื่องใช้สำหรับบริหารของอุบาสกคนหนึ่ง ไปใช้สอย ณ ที่แห่งหนึ่ง ฯลฯ เครื่องใช้สอยในที่แห่งหนึ่ง อันภิกษุไม่พึงใช้สอยในที่อีกแห่งหนึ่ง รูปใดใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฎ
เรื่อง ของมีเจ้าของควรขอยืม
ภิกษุทั้งหลายมีความรังเกียจที่จะนำกระทั่งผ้าปูนั่งประชุมไปแม้ ณ โรงอุโบสถ จึงนั่งบนพื้นดิน เนื้อตัวก็ดี จีวรก็ดี แปดเปื้อนฝุ่น จึงกราบทูล ฯลฯ เราอนุญาตให้นำไปใช้ได้ชั่วคราว
เรื่อง ภิกษุณีชาวเมืองจัมปา
อันเตวาสิกา ของภิกษุณีถุลลนันทา ไปสู่สกุล อุปัฏฐากของภิกษุณีถุลลนันทา แล้วบอกว่า
แม้เจ้าปรารถนาจะดื่มยาคู ตนสั่งให้เขาหุงหาให้แล้วนำไปฉันเสีย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุณีนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท
เรื่อง ภิกษุณีชาวเมืองราชคฤห์
ภิกษุณีอันเตวาสิกา ฯลฯ แม่เจ้าปรารถนาจะฉันขนมรวงผึ้ง ฯลฯ ต้องอาบัติปาจิตีย์
เพราะสัมปชานมุสาวาท
เรื่อง พระอัชชุกะเมื่อเวสาลี
คหบดีอุปัฏฐากของท่านพระอัชชกะ มีเด็กชาย 2 คน คือบุตรชายคนหนึ่ง หลานชายคนหนึ่ง คหบดีได้สั่งพระอัชชุกะว่า เด็ก 2 คนนี้ คนใดมีศรัทธาเลื่อมใส จึงบอกสถานที่ซ่อนทรัพย์แก่คนนั้น ดังนี้แล้ว ได้ถึงแก่กรรม สมัยต่อมาหลานชายคหบดีนั้นเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส พระอัชชุกะจึงได้บอกสถานที่ฝังทรัพย์นั้น
แก่หลายชาย ๆ รวบรวมทรัพย์และเริ่มบำเพ็ญทานด้วยทรัพย์สมบัตินั้น ภายหลังบุตรชายคหบดีนั้นได้ถาม พระอานนท์ว่า ใครเป็นทายาทของบิดาบุตรชายหรือหลานชาย พระอานนท์ตอบว่า ธรรมดาบุตรชายเป็น
ทายาทของบิดา บุตรชายคหบดีกล่าวว่า พระอัชชุกะได้บอกทรัพย์สมบัติของตนให้แก่คู่แข่งขันของตน พระอานนท์จึงกล่าวว่า พระอัชชุกะไม่เป็นสมณะ พระอัชชุกะจึงขอให้พระอานนท์ให้การวินิจฉัยด้วย ครั้งนั้นพระอุบาลีเป็นฝ่ายพระอัชชุกะจึงถามพระอานนท์ว่า ภิกษุอันใดเจ้าของทรัพย์สั่งไว้ว่าให้บอกสถานที่ ฝังทรัพย์แก่บุคคลชื่อนี้แล้วบอกแก่บุคคลนั้น ภิกษุนั้นจะต้องอาบัติด้วยหรือ อ.ไม่ต้องอาบัติ โดยที่สุดแม้เพียง อาบัติทุกกฎ อุ.พระอัชชุกะไม่ต้องอาบัติ
เรื่อง เมืองพาราณสี
สกุลอุปัฏฐากของพระปิสันทะวัจฉะ ถูกพวกโจรปล้น และเด็ก 2 คน ถูกพวกโจรนำตัวไป ดังนั้น พระปิสันทะวัจฉะนำเด็ก 2 คนนั้นมาด้วยฤทธิ์แล้วให้อยู่ในปราสาท ชาวบ้านเห็นเด็ก 2 คนนั้นแล้วต่างพากัน เลื่อมใสในพระปิสันทวัจฉะเป็นอย่างยิ่ง ว่านี้เป็นฤทธานุภาพของพระปิสันทวัจฉะ ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพทะนาว่า ไฉนพระปิสันทวัจฉะ จึงได้นำเด็กที่ถูกพวกโจรนำตัวไปแล้วคืนมาได้เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ๆ ตรัสว่า ไม่เป็นอาบัติ เพราะวิสัยแห่งฤทธิ์ของภิกษุผู้มีฤทธิ์
เรื่อง ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี
ภิกษุ 2 รูป ชื่อปัณฑกะ 1 กปีละ 1 เป็นสหายกัน รูปหนึ่งอยู่ในหมู่บ้าน อีกรูปหนึ่งอยู่ในเมืองโกสัมพี ขณะเมื่อภิกษุนั้น เดินทางจากหมู่บ้านไปเมืองโกสัมพี ข้ามแม่น้ำในระหว่างทาง เปลวมันข้นที่หลุดจากมือของพวกคนฆ่าหมู ลอยติดอยู่ที่เท้า ภิกษุนั้นเก็บไว้ด้วยตั้งใจ ว่าจักให้แก่พวกเจ้าของ ๆ โจทภิกษุนั้นว่าไม่เป็นสมณะ สตรีเลี้ยงโคคนหนึ่ง เห็นภิกษุนั้นข้ามแม่น้ำขึ้นมาแล้ว กล่าวว่านิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นคิดว่า แม้โดยปกติเราก็ไม่เป็นสมณะแล้ว จึงเสพเมถุนธรรมในสตรีเลี้ยงโคนั้น เมื่อไปถึงเมืองโกสัมพีแล้ว จึงแจ้งเรื่องนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ จึงกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค ๆ ตรัสว่า ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติปาราชิกเพราะอทินนาทาน แต่ต้องอาบัติปาราชิก เพราะเสพเมถุธรรม
เรื่อง สัทธิวิหารริกพระทัฬหิกะเมืองสาคละ
ภิกษุสัทธิวิหารริกของพระทัฬหิกะในเมืองสาคละ ได้ลักผ้าโพกของชาวร้านไป แล้วกล่าวว่าผมไม่เป็นสมณะจะลาสิกขาเพราะลักผ้าโพกของชาวร้าน
พระทัฬหิกะจึงให้นำผ้าโพกไปให้ชาวร้านตีราคา ได้ราคาไม่ถึง 5 มาสก พระทัฬหิกะจึงชี้แจงว่า คุณไม่ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุนั้นยินดียิ่งนัก
จบ ทุติยปาราชิกสิกขาบท
|