ประวัติโรงเรียน ข้อมูลนักเรียน
ทำเนียบผู้บริหาร-ผู้บริหาร-บุคคลากร วิสัยทัศน์ สัญลักษณ์
หนึ่งโรงเรียนหนึ่งการเรียนรู้ คณะกรรมการศึกษา
  หนึ่งโรงเรียนหนึ่งผลิตภัณฑ์
       
       
การเรียนรู้แบบ 4 MAT

เป็นแนวการจัดกิจกรรมแนวหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามเจตนารมณ์ของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีหลักการความคิดเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับแนวความคิดของจอห์น ดิวอี้ และปรัชญากลุ่มพิพัฒนาการนิยม ที่เน้นให้ผู้เรียนที่มีวิธีการเรียนรู้แตกต่างกันเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนการสอน แมคคาร์ธีเป็นนักการศึกษาที่มีประสบการณ์ในการสอนนักเรียน นักศึกษาหลายระดับชั้น แมคคาร์ธีได้ศึกษาวิจัยเรื่องเกี่ยวกับการเรียนรู้และบทบาทของสมองทำให้เข้าใจถึงความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคนในด้านสติปัญญา การรับรู้และการเรียนรู้ และขยายความคิดของคอล์บ โดยให้พื้นที่ 4 ส่วนของวงกลมแทนลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียน แลแบ่งผู้เรียนออกเป็น 4 แบบ คือ

ประสบการณ์ตรง

ลงมือปฏิบัติ

การสังเกต

อย่างไตร่ตรอง

กระบวนการ

การรับรู้

ความคิดรวบยอด
หลักการที่เป็นแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT

มนุษย์ได้ประสบการณ์และความรู้มาได้ด้วยวิธีการต่างกันและสามารถผสมผสานเทคนิคการรับรู้ตลอดจนจัดการกับประสบการณ์ของตนที่ไม่เหมือนกัน รูปแบบการเรียนรู้ที่สำคัญมีอยู่ 4 แบบ แต่ละรูปแบบมีคุณค่าเท่าเทียมกัน รูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างของนักเรียน นักเรียนทั้ง 4 แบบ ต้องมีครูผู้สอนที่เข้าใจและสามารถพัฒนาความสามารถตามช่วงของการเรียนรู้แต่ละช่วงแก่ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ระบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 4 MAT ต้องเรียนรู้ตามขั้นตอนเพราะเป็นการก้าวหน้าทางการเรียนรู้ตามธรรมชาติ วิธีการเรียนรู้แต่ละแบบนี้ จำเป็นต้องสอนโดยเทคนิคพัฒนาสมองซีกซ้ายซีกขวาด้วยการที่นักเรียนเก่งด้วยสมองซีกขวาเรียนรู้ได้เพียงครึ่งเวลาและต้องปรับครึ่งเวลาที่เหลือให้เหมาะสมส่วนผู้ที่เรียนเก่งด้วยสมองซีกซ้ายเรียนรู้ได้เพียงครึ่งเวลา ต่อจากนั้นต้องปรับครึ่งเวลาที่เหลือให้เหมาะสม เป้าหมายสำคัญของการศึกษาคือ การพัฒนาการเรียนรู้ทั้ง 4 แบบ กับการพัฒนาสมองซีกซ้าย ซีกขวามารวมกันได้ นักเรียนเป็นผู้ที่มีความเข้มแข็ง และสามารถนำความแข็งแกร่งนั้นมาเป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างศักยภาพของตนในการเรียนรู้ด้วยวิธีการ ต่าง ๆบุคคลใดมีความสนใจสภาพรอบตัว รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติมากเท่าใด บุคคลนั้นก็เรียนรู้จากผู้อื่นได้มากขึ้นเท่านั้น

 

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 8 ขั้นตอน

ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างประสบการณ์ เป็นขั้นที่ครูจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นความสนใจและจูงใจให้นักเรียนอยากเรียน โดยเน้นการพัฒนาสมองซีกขวาของนักเรียน เช่น เพลง การเคลื่อนไหว การวาดรูป การจินตนาการ การสร้างผังมโนมติ เป็นต้น

ขั้นที่ 2 ขั้นสะท้อนประสบการณ์ เป็นขั้นที่ครุเปิดโอกาสให้นักเรียนได้สะท้อนความรู้ความคิดและประสบการณ์เน้นการพัฒนาสมองซีกซ้ายของนักเรียน เช่น ให้นักเรียนพูดหรือเขียน

ขั้นที่ 3 ขั้นบูรณาการ การสังเกตไปสู่มโนมติ เป็นขั้นที่ครูให้สาระการเรียนรู้ หรือข้อความรู้ โดยอาศัยสื่ออุปกรณ์ หรือเทคนิคการสอนต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ขึ้นนี้นักเรียนจะได้รับการพัฒนาสมองซีกซ้าย

ขั้นที่ 5 ขั้นปฏิบัติตามมโนมติ เป็นขั้นที่ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ปฏิบัติ กิจกรรม เพื่อพัฒนาหรือเกิดมโนมติด้วยการลงมือปฏิบัติ กิจกรรม เพื่อพัฒนาหรือเกิดมโนมติด้วยการลงมือปฏิบัติ ซึ่งเป็นการพัฒนาสมองซีกซ้ายของนักเรียน

ขั้นที่ 6 เป็นขั้นปรับแต่ง เป็นขั้นที่ครูให้นักเรียนใช้สมองซีกขวาเพื่อปรับแต่งสาระการเรียนรู้ที่พบให้แจ่มชัด

ขั้นที่ 7 ขั้นวิเคราะห์และนำไปใช้ เป็นขั้นที่ครูจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้สมองซีกซ้ายเพื่อวิเคราะห์วิจารณ์หรือหาข้อเด่น – ข้อด้วย และปรับปรุงให้สมบูรณ์ หรือประยุกต์ใช้ข้อความรู้ในสถานการณ์ใหม่อย่างอิสระด้วยตนเอง

ขั้นที่ 8 ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เป็นขั้นที่ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาสมองซีกขวาโดยร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อความรู้ที่พบหรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยอาจนำเสนอในรูปของหนังสือหน้าเดียว หนังสือเล่มเล็กหรือหนังสือเล่มใหญ่ หรือจัดทำป้ายนิเทศ หรือนิทรรศการการหรือแสดงบทบาทสมมติหรือละคร เป็นต้น

ตัวอย่างแผนการสอนแบบ 4 MAT

เรื่อง อาชีพในชุมชน หน่วย การทำมาหากิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อาจารย์ผู้สอน นางสายพิณ กิจจา อาจารย์ 3 ระดับ 8

สาระสำคัญ

การประกอบอาชีพเป็นการทำงาน เพื่อหารายได้มาเลี้ยงตนเอง และครอบครัว การที่จะเลือกประกอบอาชีพใดนั้น จะต้องพิจารณาจากองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น ความรู้ความสามารถ ความถนัด ความชอบ ความเหมาะสม และปัจจัยที่จะส่งเสริมอาชีพ เช่น สภาพภูมิอากาศ ปริมาณทรัพยากร เป็นต้น อาชีพส่วนใหญ่ของคนไทย ได้แก่ อาชีพเพาะปลูก อาชีพเลี้ยงสัตว์ อาชีพประมง อาชีพทำเหมืองแร่ อาชีพหัตถกรรม อาชีพอุตสาหกรรม อาชีพค้าขาย อาชีพบริการ อาชีพรับจ้าง อาชีพรับราชการ เป็นต้น

จุดประสงค์การเรียนรู้

อธิบายลักษณะและองค์ประกอบในแต่ละอาชีพได้ชัดเจน
ออกแบบสำรวจอาชีพในชุมชนได้เหมาะสม ครอบคลุมและสร้างสรรค์
ยกตัวอย่างและสรุปอาชีพในชุมชนของตนเองได้
เขียนผังมโนมติ สรุปอาชีพในชุมชนได้ละเอียดลออสวยงามและมีความคิดสร้างสรรค์
จัดทำโครงงานเกี่ยวกับอาชีพในชุมชนได้น่าสนใจและมีประโยชน์

เนื้อหา

1. อาชีพในประเทศไทย

- อาชีพเพาะปลูก - อุตสาหกรรม

- อาชีพเลี้ยงสัตว์ - อาชีพค้าขาย

- อาชีพประมง - อาชีพบริการ

- อาชีพการทำเหมืองแร่ - อาชีพรับจ้า

- อาชีพหัตถกรรม - อาชีพรับราชการ

2. อาชีพในชุมชน

กิจกรรมการเรียนการสอน

ขั้นที่ 1

1. ให้นักเรียนสังเกตบุคคลในภาพและให้ทายว่าบุคคลในภาพประกอบอาชีพอะไร

ขั้นที่ 2

2. ครูใช้คำถามซักถามนักเรียนเกี่ยวกับอาชีพของผู้ปกครองหรือบุคคลที่นักเรียนรู้จักในหัวข้อ ดังนี้ อาชีพ ลักษณะงาน รายได้ ความคิดเห็นของนักเรียน

ขั้นที่ 3

3. นักเรียนเล่นเกมจับคู่อาชีพ โดยครูติดแผ่นข้อความที่เป็นคำบรรยายอาชีพแล้วให้นักเรียนแข่งขันนำภาพบุคคลประกอบอาชีพต่าง ๆ มาติดให้สอดคล้องกับแผ่นข้อความ

4. ให้นักเรียนเขียนเรียงความอาชีพในดวงใจ (ใบงานที่ 1)

ขั้นที่ 4

5. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มศึกษาใบความรู้ เรื่องอาชีพต่าง ๆ ครูให้ความรู้เพิ่มเติม

6. ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด เพื่อทบทวนและประเมินตนเอง

ขั้นที่ 5

7. นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันออกแบบ แบบสำรวจหรือแบบสอบถามอาชีพในชุมชนตามความคิดของตนเองอย่างสร้างสรรค์ (ใบงานที่ 2)

8. นักเรียนทุกคนออกสำรวจข้อมูลในชุมชนของตนเองโดยใช้แบบสำรวจกลุ่ม

ขั้นที่ 6

9. ทุกกลุ่มรวบรวมข้อมูลและสรุปผลการสำรวจนำผลการสรุปมาสร้างผังมโนมติอย่างสร้างสรรค์และตกแต่งให้สวยงาม (ใบงานที่ 3)

10. ผู้แทนกลุ่มนำเสนอผลงาน

11. แต่ละกลุ่มช่วยกันแต่งเพลงและแสดงท่าเต้นประกอบเพลงเกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ

ขั้นที่ 7

12. ให้นักเรียนทำโครงงานเกี่ยวกับอาชีพที่กลุ่มสนใจ (ใบงานที่ 4)


ขั้นที่ 8

13. จัดทำเป็นรายงานผู้แทนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนและจัดวางในมุมผลงานของหนู

สื่อการเรียนการสอน

1. ใบความรู้

2. ใบงาน

3. แผ่นภาพบุคคลประกอบอาชีพต่าง ๆ

4. แผ่นข้อความบรรยายลักษณะอาชีพ

5. แบบฝึกหัด

การวัดและประเมินผล

1. การสังเกต

- การตอบคำถาม

- การแข่งขันเกมทายอาชีพ

- การทำกิจกรรม

- การทำงานกลุ่ม

2. การตรวจผลงาน

- เรียงความบรรยายอาชีพ

- ผังมโนมติ

- แบบสำรวจอาชีพ

- โครงงาน