จุดเริ่มต้นของชีวิต

ณ สถานีรถไปปากเพรียว ( สถานีสระบุรีในปัจจุบัน ) จังหวัด สระบุรี อันเป็นดินแดนที่เด็กชายวิริยังค์ บุญฑีย์กุลได้อุบัติบังเกิดขึ้นมาต่อสู้ชีวิต เพื่อความอยู่รอดของโลก ที่ใครๆ เขากล่าวกันว่าโลกนี้น่าอยู่ น่าอาศัย เป็นโลกแห่งความศิวิไลซ์ ทำให้ผู้มัวเมาหลงใหล ติดอกติดใจ เมื่อตายจากไปแล้ว

ยังปรารถนากลับมาเกิดใหม่อีก คือการเวียนว่ายตายเกิดที่สิ้นสุดมิได้ แต่องค์สมเด็กสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสด็จอุบัติเกิดขึ้นมาเพื่อค้นหาทางหลุดพ้นจากโลก เมื่อทรงค้นพลแล้วทรงตรัสบอกทางหลุดพ้นนั้น แก่บุคคลทั้งหลาย และยังเตือนไว้ว่า “ โลกนี้เปรียบเหมือนราชรถที่พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่ผู้รู้หาข้ออยู่ไม่ และสัตว์ทั้งหลายย่อมเกิดและตายเป็นไปตามกรรม”

ด้วยเหตุนี้จะด้วยกรรมเก่าบันดาลหรือด้วยบุญกุศลเกื้อหนุดทำให้เด็กชายวิริยังค์ ได้มาเกิด เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2463 ในครอบครัวของนายสถานีรถไฟปากเพรียว คือท่านขุณเพ็ญภาษชนารมณ์ผู้เป็นบิดา และมารดาชื่อนางมั่น บุญฑีย์กุล ท่านเป็นลูกคนที่ 5 ในจำนวนพี่น้อง 7 คน คือ

1. ด.ญ. กิ้มลั้ง บุญฑีย์กุล ( ชูเวช )

2. ด.ช. ฑีฆายุ บุญฑีย์กุล

3. ด.ช. สุชิตัง บุญฑีย์กุล

4. ด.ช. สัจจัง บุญฑีย์กุล

5. ด.ช. วิริยังค์ บุญฑีย์กุล

6. ด.ช. ไชยมนู บุญฑีย์กุล

7. ด.ญ. สายมณี บุญฑีย์กุล

นับตั้งแต่ ด.ช.วิริยังค์ เกิดมาก็ต้องต่อสู้กับชีวิตเพื่อความอยู่รอด เหมือนดังคนทั้งหลาย มีสุข มีทุกข์ มีร้องให้ มีหัวเราะ มีเสียใจ มีเศร้าใจ มีรักใคร มีโลภ มีโกรธ มีหลงลืมเป็นธรรมดาตามประสาเด็กๆ โดยทั่วไป หลังจากบิดารับราชการเป็นนายสถานีรถไฟปากเพรียว จังหวัดสระบุรีนานพอสมควรแล้ว ทางการได้สั่งย้ายมารับตำแหน่งนายสถานีรถไฟ บ้านใหม่สำโรง อำเภอสี่คิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ท่านขุนผู้เป็นบิดาจึงได้ย้ายครอบครัวมาอยู่ที่บ้านใหม่สำโรง ซึ่งถือว่าเป็นความโชคดีของครอบครัวเด็กชายวิริยังค์ อย่างยิ่งที่จะได้มาพบพระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ผู้เป็นศิาย์รูปสำคัญของพระอาจารย์มั่น

ที่ผานการฝึกปฏิบัติสมาธิมาแล้วทำให้พระอาจารย์กงมากลายเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีความสามารถทำหน้าที่เป็นสาวกที่ดีของพระพุทธเจ้า คือ การเผยแพร่ะรรมแก่สาธุชนทั้งหลาย พร้อมกับได้มาสร้างวัดป่าสว่างอารมณ์ ณ บ้านใหม่สำโรง เพราะฉะนั้นพระอาจารย์กงมาท่านได้สั่งสอนตั่งแต่พิธีกรรม การสวดมนต์ไหว้พระ การรักษาศีล การนั่งสมาธิ ทำให้ชาวบ้านได้รับผลแห่งการปฏิบัติมีความสงบสุขใจ ชาวบ้านก็ศรัทธาเลื่อมใส

เคารพเชื่อฟังมาปฏิบัติธรรมตามโอกาสที่อำนวย แม้ครอบครัวของเด็กชายวิริยังค์ ก็เช่นเดียวกัน พ่อแม่ของเขาก็ทำบุญตักบาตร เข้าวัดฟังธรรม รักษาศีล นั่งสมาธิเป็นประจำในวันพระ แต่เด็กชายวิริยังค์เป็นเด็กเกินไป เลยไม่สนใจดังเช่นผู้ใหญ่ ชอบเล่นชอบเที่ยวสนุกสนานไม่ต่างจากเด็กทั่วไป

จุดเริ่มต้นของชีวิต
ยังไม่ถึงคราวตาย
ธรรมกับเด็ก
ชีวิตเด็กวัด ตอนที่ 1
ชีวิตเด็กวัดตอนที่ 2
ชีวิตเด็กบ้านนอก
มโนธรรม