สีสันฉูดฉาดบาดตาและซุกซนนี่แหละใช่เลย ผีตาโขน แห่งอ.ด่านซ้าย จ.เลย หากพูดถึง “ ผี ” แน่นอนว่าหลายๆคนจะนึกถึงความน่ากลัว ขนพองสยองเกล้า โดยที่บางคนแม้ไม่เคยเห็นผี แต่ว่าก็กลัวผีจับจิตจับใจ แต่หากพูดถึง “ ผีตาโขน ” กูรูท่องเที่ยวหลายๆคนก็คงจะรู้ดีว่า

เป็นประเพณีการละเล่นพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงโด่งดังของอำเภอด่านซ้าย จ.เลย ซึ่งผีตาโขนนี้นับเป็นผีที่น่ารักน่าชม แถมยังออกอาละวาดกลางวันแสกๆ เพราะเป็นผีที่คนแต่งตัวเป็นผีออกมาหยอกเย้ากับผู้คนได้แบบไม่มีใครกลัว โดยผีตาโขนนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของงาน “

 

บุญหลวง ” ซึ่งเป็นงานบุญใหญ่ประจำปี ที่เป็นการรวมเอางาน “ บุญพระเวส ” หรือ “ ฮีตเดือนสี่ ” และงาน “ บุญบั้งไฟ ” หรือ “ ฮีตเดือนหก ” รวมเข้าไว้ด้วยกัน บุญพระเวส ถือเป็นงานบุญที่จัดขึ้นเพื่อให้พุทธศาสนิกชนฟังเทศน์มหาชาติให้จบภายในหนึ่งวัน โดยเชื่อว่าหากใครฟังจบภายในหนึ่งวันก็จะได้อานิสงส์ผลบุญแรงกล้า ส่วนงานบุญบั้งไฟก็เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อบูชาอารักษ์หลักเมืองและขอฝน ด้วยความเชื่อว่าจะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล และมีพืชพรรณธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ด้านความเป็นมาของผีตาโขนนั้นไม่ปรากฏชัดแจ้ง เพราะ

 

ต่างฝ่ายต่างก็สันนิษฐานไปคนละอย่าง 2 อย่างตามความเชื่อของตน แต่ที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดและเกี่ยวพันกับพุทธศาสนาก็คือ ผีตาโขน เกิดจากตำนานความเชื่อที่ว่า เมื่อพระเจ้ากรุงสัญชัยกับพระนางผุสสดีไปเชิญพระเวสสันดรและพระนางมัทรีกลับเข้าเมือง ใน



ขบวนแห่เข้าเมืองนอกจากจะมีคนร่วมมาด้วยแล้ว ยังมีผีป่าที่เคยปรนนิบัติและจงรักภักดีต่อพระเวสสันดรร่วมขบวนมาส่งด้วย ทำให้แต่ก่อนเรียกกันว่า “ ผีตามคน ” ต่อมาเพี้ยนเป็น “ ผีตาขน ” และ “ ผีตาโขน ” ในที่สุด จากส่วนหนึ่งของงานบุญหลวง ณ วันนี้ผีตาโขนถือเป็นไฮไลท์ของงานนี้ไปแล้ว และในยุคต่อก็มีผู้ที่เลื่อมใสศรัทธา(ว่ากันว่าประมาณ 400 ปีที่ผ่านมา) ต่างก็พากันร่วมรำลึกถึงงานนี้ด้วยการจัดงานเฉลิมฉลองขึ้นด้วยการแต่งตัวและใส่หน้ากากให้คล้ายภูตผีปีศาจ ทั้งนี้ก็มีการสันนิษฐานว่า เหตุผลที่แท้จริงของประเพณีนี้น่าจะมาจากชาวชาวนาต้องการทำพิธีขอให้ฝนตกตามฤดูกลาล เพื่อให้พืชพรรณธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ สำหรับกิจกรรมในประเพณีบุญหลวงที่มีผีตาโขนเป็นดังไฮไลท์ของงานในยุคปัจจุบันนี้ก็จะจัดขึ้น 3 วันด้วยกัน วันแรกเรียกว่า “ วันโฮม ” หรือ “ วันรวม ” ที่เริ่มกันแต่เช้ามืดด้วยพิธีเบิกพระอุปคุต โดยคณะที่อัญเชิญจะนำ มีด ดาบ หอก ฉัตร เดินนำขบวนจากวัดโพนชัยไปที่ริมฝั่งแม่น้ำหมัน เพื่อเชิญพระอุปคุต ที่เป็นก้อนกรวดสีขาว ขึ้นมาประจำตามทิศต่างๆ ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อกันว่า พอมีงานบุญใหญ่โตก็มักจะมีมารมาผจญ ดังนั้นจึงต้องอัญเชิญพระอุปคุตมาเพื่อช่วยปราบมารให้ราบคาบ เมื่อได้พระอุปคุตมาแล้วก็จะนำใส่หาบ เคลื่อนขบวนกลับมาทำพิธีที่หออุปคุต วัดโพนชัย ผีตาโขนรวมตัวกันเพื่อเตรียมตัวสร้างสีสันให้งานบุญหลวงในวันที่ 1 และ 2 ของงาน ครั้นพอช่วงบ่าย ขบวนแห่จะเคลื่อนไปบ้านเจ้าพ่อกวนเพื่อทำพิธี บายศรีสู่ขวัญให้แก่เจ้าพ่อกวนและเจ้าแม่นางเทียม(ผู้ประกอบพิธีเลี้ยงผีหอหลวง) เมื่อได้เวลาอันสมควรเจ้าพ่อกวน เจ้าแม่นางเทียม คณะแสน นางแต่ง พร้อมด้วยบรรดาผีตาโขนใหญ่ ผีตาโขนน้อยทั้งหลาย ตลอดจนขบวนเซิ้ง ก็จะร่วมกันเคลื่อนขบวนแห่ไปยังวัดโพนชัย เวียนรอบพระอุโบสถ 3 รอบ ซึ่งจะมีผีตาโขนเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เที่ยวหลอกล้อผู้คนที่มาร่วมงานอย่างสนุกสนาน วันที่สองบรรดาผีตาโขนจะรวมตัวกันแต่เช้าตรู่บริเวณวัดโพนชัย จากนั้นก็จะวาดลวดลายเต้นตามจังหวะดนตรี พร้อมด้วยการกระเซ้าเย้าแหย่ผู้คนตามถนนหนทางและตามบ้านเรือนอย่างสนุกสนาน พอช่วงบ่ายจะมีขบวนแห่พระเวส ซึ่งเป็นการแห่อัญเชิญพระเวสสันดรและพระนางมัทรีกลับเข้าเมือง เมื่อขบวนแห่ถึงวัดโพนชัย ก็จะเดินเวียนรอบโบสถ์ 3 รอบ ก่อนที่จะมีการโปรยกัลปพฤกษ์ ซึ่งก็คือเหรียญเงิน เหรียญทอง ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะแย่งกันเก็บเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองเป็นที่สนุกสนาน ในส่วนของชุดและอุปกรณ์ผีตาโขนนั้นหากเป็นสมัยก่อนก็จะนำไปลอยทิ้งลงแม่น้ำหมัน เพื่อเป็นดังการลอยเคราะห์ให้ไหลล่องไปกับแม่น้ำ แต่ในยุคปัจจุบันส่วนใหญ่จะเก็บอุปกรณ์ ชุด หน้ากาก ไว้ใช้ประดับบ้านหรือไม่ก็เก็บไว้ใช้ในปีต่อๆไป วันที่สามจะเป็นการฟังเทศน์มหาชาติ ทั้ง 13 กัณฑ์ ตั้งแต่เช้ามืดเพื่อกล่อมเกลาจิตใจและได้อานิสงส์ผลบุญอันแรงกล้า ก่อนที่จะทำบุญตักบาตรและพิธีสะเดาะเคราะห์บ้านเมือง ก็เป็นอันเสร็จพิธี หน้ากากสีสันบาดตาที่ทำจากหวดนึ่งข้าวเหนียว สำหรับขบวนผีตาโขนที่ถือ

 

เป็นดังสีสันอันโดดเด่นของงาน ก็จะประกอบไปด้วย ผีตาโขนใหญ่ และผีตาโขนเล็ก ผีตาโขนใหญ่ เป็นผีตาโขนที่ทำกันไม่กี่ตัว และก็ทำเฉพาะบ้านของผู้ที่ทำมาหลายปี ขนาดรูปร่างนั้นก็ใหญ่กว่าคนธรรมดาประมาณ 2 เท่า ประดับตกแต่งด้วยวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น

 

เวลาแห่ คนเล่นจะต้องเข้าไปอยู่ในตัวผี ส่วนขบวนแห่ผีตาโขนเล็กหรือผีตาโขนทั่วไป จะทำหน้ากากจากหวดนึ่งข้าวเหนียว ที่สานด้วยไม้ไผ่พับขึ้นเป็นหมวก นำมาเย็บต่อติดกัน แล้วเขียนหน้าเขียนตา ตามความชอบของแต่ละคน พร้อมทำจมูกยื่นออกมา ส่วนชุดแต่งกาย

 

ของผีก็จะใช้ผ้าเน้นที่สีสันฉูดฉาดบาดตา แต่ข้อสำคัญก็คือต้องคลุมร่างกายให้มิดชิด หมากกะแหล่งอาวุธประจำตัวผีตาโขน นอกจากนี้ผีตาโขนเล็กยังมี มี อาวุธเอกลักษณ์ประจำตัวผูกเอวไว้คือ “ หมากกะแหล่ง ” ซึ่งก็คือโลหะคล้ายกระดิ่งหรือกระดึงผูกคอวัว บางที

 

ก็เป็นกระพรวน กระป๋องนมเล็กๆใส่ก้อนหิน เพื่อให้เกิดเสียงดังเวลาเดิน โดยผู้ที่จะเป็นผีตาโขนเล็กนี้ ใครก็สามารถใส่หน้ากากและสวมชุดเป็นได้ ไม่ว่า เด็กหรือผู้ใหญ่ ผู้ชายหรือผู้หญิง สำหรับการจัดงานผีตาโขน ในสมัยโบราณแต่ละปีจะจัดงานไม่ตรงกัน ขึ้นอยู่กับร่างทรงของ “ เจ้าพ่อกวน ” หรือ “ เจ้ากวน ” ซึ่งก็เอาแน่เอานอนไม่ได้ แต่ส่วนมากก็จะตกอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน ทว่าในระยะหลังๆ เมื่อผีตาโขนถูกโปรโมทให้เป็นกิจกรรมท่องเที่ยวไฮไลท์ของจังหวัดเลย ทางจังหวัดและททท. ก็นิยมจัดกิจกรรมผีตาโขนขึ้นตรงกับช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ พร้อมๆกับปรับรูปแบบการละเล่นพื้นบ้านให้ดูเป็นการแสดงเพื่อดึงคนให้มา

เที่ยวเมืองเลยมากขึ้น โดยปีนี้กิจกรรมผีตาโขนจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 มิถุนายน ซึ่งก็ตรงกับวันเสาร์อาทิตย์-จันทร์ ใครที่สนใจก็ไปเที่ยวกันได้ที่ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ชาวบ้านที่นั่นยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกคน * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

 

  • * * * * * * * * * * * * * ผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มสามารถติดต่อได้ที่ อ.ด่านซ้าย จ.เลย โทร. 0 -4289 -1266-7 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อ.ด่านซ้าย โทร. 0- 4289 -1094 ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดเลย โทร. 0 -4281 -2812, 0- 4281 -1405