ปรากฏการณ์ทางจิต

ทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย ไม่มีใครหลีกเลี่ยงพ้นความตายไปได้เลย นี้คือกฎธรรมชาติของทุกชีวิตที่เกิดมา และเมื่อมนุษย์หรือสัตว์โลกทั้งหลายใกล้จะตาย หรือจวนเจียนจะสิ้นใจนั้น กรรมดีหรือกรรมชั่วที่เขาได้เคยทำไว้ จะแสดงปรากฏการณ์ทางจิตออกมาให้ทราบ และบางครั้งก็แสดงออกมาให้ปรากฏทางกายหรือทางวาจา อาการที่ปรากฏเมื่อจวนเจียนจะตายเช่นนี้ ท่านเรียกว่า “ มรณาสันนาการ ” และวิ๔จิต ( จิตที่ออกรับอารมณ์ทางทวารทั้งหกทวารใดทวารหนึ่ง ) ของผู้ที่จวนเจียนจะตายนี้ ท่านเรียกในคัมภีร์อภิธรรมว่า “ มรณาสันนวิถี ” ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดในพระพุทธศาสนา เพราะในคัมภีร์อภิธรรมอธิบายเรื่องนี้ไว้ละเอียดถี่ถ้วนดีมาก ซึ่งจะถอดใจความนำมากล่าวไว้ในที่นี้เพื่อความเข้าใจดีขึ้นในการค้นคว้าศึกษาเรื่องการเกิดใหม่ ดังต่อไปนี้

มรณาสันนวิถี

มรณาสันนวิถี เป็นวิถีจิตใกล้จะตาย คือ เมื่อมรณาสันนวิถีเกิดขึ้นแล้ว จุติจิตย่อมเกิดขึ้นในลำดับที่ใกล้เคียงกัน จะไม่มีวิถีจิตที่มีอารมณืเป็นอย่างอื่นเกิดคั่นระหว่างจุติจิตเลย

ในมรณาสันนวิถี มี ๑ ชวนจิตเกิดขึ้นเพียง ๕ ขณะเท่านั้น เพราะเหตุที่จิตมีกำลังอ่อน เนื่องจากอำนาจของกรรมที่ส่งมานั้นใกล้หมดอำนาจอยู่แล้ว และอีกประการหนึ่งหทัยวัตถุอันเป็นที่ตั้งของจิตมีแต่เสื่อมกำลังไปเรื่อย ๆ กำลังของจิตก็อ่อนเมื่อสุดมรณาสันนวิถีแล้ว ต่อจากนั้นจุติจิตก็เกิดขึ้น ๑ ขณะเท่านั้น ซึ่งเรียกว่า “ สัตว์ถึงความตาย ”

ในทันทีที่จุติจิตดับลง ปฏิสนธิจิตต้องเกิดอย่างแน่นอน โดยไม่มีจิตอื่นมาคั่นในระหว่างเลย นี้หมายถึงจิตของสัตว์ทั่วไปแต่ถ้าเป็นจิตของพระอรหันต์แล้ว เมื่อจุติจิตหรือจิตดวงสุดท้าย

๑ . ชวนจิต คือ จิตที่ทำหน้าที่เสพหรือเสวย อารมณืในวิถีจิตหนึ่งมีชวนะจิตได้ ๗ ขณะ บุญและบาป หือความสำรวม และความไม่สำรวมจะเกิดขึ้นในชวนจิตนี้เอง

 

ดับลงแล้วก็เข้าสู่นิพพาน ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

มรณาสันนวิถีของปุถุชนและบุคคลทั้งหลาย เมื่อใกล้จะตาย ก่อนที่จะจุติจิตจะเกิดขึ้น ถ้ามี รูป เสียง กลิ่น รส หรือสัมผัสเป็นอารมณ์มรณาสันนวิถีเช่นนี้ เรียกว่า มรณาสันนวิถีทางปัญจทวาร แต่ถ้าเป็นความรู้สึกนึกคิดทางใจ มรณาสันนวิถีนั้นเรียกว่า มรณาสันนวิถีทางมโนทวาร

 

อารมณ์ของจิตเมื่อจวนเจียนจะตาย

ธรรมดาว่า สัตว์นรกทั้งหลายที่ยังไม่สำเร็จพระอรหันต์ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เทวดา หรือพรหมก็ตาม เมื่อใกล้จะตาย จะมีอารมณ์ ๓ ประการเกิดขึ้น กรรม กรรมนิมิต และคตินิมิต อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นโดยจิตได้หน่วงหรือยึดเอาอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในอารมณ์ทั้ง ๓ อย่างนี้ โดยมีอารมณ์ทั้ง ๓ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งมา ปรากฏทางทวารหนึ่งในจำนวนทวารทั้ง ๖ คือ

๑ . กรรม

๒ . กรรมนิมิต

๓ . คตินิมิต

. กรรม ได้แก่กรรมอารมณ์ ( อารมณ์คือกรรม ) ที่เกี่ยวกับ กุศล อกุศล

กรรมอารมที่เกี่ยวกับกุศลนั้น ได้แก่บุญกุศลที่ตนได้กระทำมาแล้ว เช่น การให้ทาน การรักษาศีล การฟังธรรม หรือการเจริญภาวนา ในสมัยเมื่อตนได้สร้างบุญกุศลเหล่านี้ ตนปิติโสมนัสอย่างไร เมื่อจวนจะใกล้ตาย ก็จะเป็นเหตุให้นึกถึงบุญกุศลนั้น มีปิติดสมนัสเกิดขึ้น คือมีจิตใจหน้าตาแช่มชื่นเบิกบานคล้ายกับว่าตนกำลังทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม หรือเจริญภาวนาอยู่ในขณะนั้น จึงมักตายจากไปอย่างสงบ ไม่หลงตาย

ส่วนกรรมารมณ์ที่เป็นอกุศลนั้น คือ ตนเคยทำบาปอกุศลอย่างใดมา เช่น เคยฆ่าคน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เคยถูกจองจำเพราะทำทุจริตหรือเคยโกรธแค้นพยาบาท เป็นต้น ก็ให้นึกบาปกรรมที่ตนเคยทำไว้ ทำให้มีความสุขใจ มีความเศร้าหมอง หรือมีความโกรธขึ้น คล้าย ๆ กับว่าตนกำลังทำกรรมชั่วเหล่านั้น หรือกรรมเหล่านั้นกำลังเกิดขึ้นแก่ตนอยู่ในขณะเมื่อจวนจะตายนั้น จึงมักตายจากไปอย่างกระสับกระส่าย หรือหลงตาย

กรรมารมณ์เป็นความรู้สึกทางใจ จึงปรากฏได้ทางใจหรือทางมโนทวารอย่างเดียว ถ้ากรรมารมณ์ฝ่ายกุศลมาปรากฏก็นำไปสู่ทุคติ

. กรรมนิมิต คือ เครื่องหมาย หรืออุปกรณ์ในการทำกรรมได้แก่อารมณ์ ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกายหรือสภาพที่รู้ทางใจ ที่เกี่ยวกับการทำกรรมของตนแต่ละบุคคลที่ตนเคยทำไว้แล้ว ทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ ย่อมแสดงนิมิตเครื่องหมายออกมาให้ปรากฏเมื่อจวนจะตาย

ถ้าเป็นฝ่ายบุญกุศล ก็ทำให้รู้เห็นเครื่องหมาย แห่งบุญกุศลที่ตนเคยทำมา เช่น โบสถ์ วิหาร ดรงเรียน โรงพยาบาลที่ตนเคยสร้าง เห็นภาพพระภิกษุที่ตนเคยบวช หรือบวชลูกหลาน เห็นพระพุทธรูปที่ตนเองเคยสร้าง เห็นขันข้าวหรือทัพพีที่ตนเคยตักบาตรเป็นต้น หรือภาพนิมิตแห่งกิริยาอาการที่ตนเคยทำบุญกุศลนั้น ๆ มาปรากฏแก่ตนในเมื่อเวลาจวนจะตาย เมื่อจิตได้หน่วงเอาภาพนิมิตนั้นมาเป็นอารมณ์ ให้เห็นเป็นนิมิตเครื่องหมาย หรืออุปกรณ์ในการทำบุญกุศลต่าง ๆ เหล่านั้นที่ตนเคยทำมาก็ย่อมนำไปเกิดในสุคติ เพราะมีจิตใจเบิกบานไม่เศร้าหมอง

แต่ถ้ากรรมนิมิตที่เป็นอกุศลกรรม เช่น เคยฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ มาปรากฏ ก็ทำให้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการทำกรรม เช่น เห็นหอก ดาบ อวน เห็น เครื่องประหารเบียดเบียนสัตว์ที่เคยใช้ในการทำบาปมาแล้ว บางคนทำให้สะดุ้งหวาดเสียว ร้องไห้เสียงลั่น คิดว่าจะมีคนทำร้ายตน บางคนถ้าเคยฆ่าหมู ก็ร้องเสียงเหมือนหมู ฆ่าวัวก็ร้องเสียงเหมือนวัว ถ้าเคยชนไก่ก็เอาหัวแม่มือทั้ง ๒ ของตนชนกันแล้วร้องเหมือนเสียงไก่ชน ถ้ากรรมนิมิตฝ่ายบาปอกุศลมาปรากฏเป็นอารมณ์เหมื่อจวนตายเช่นนี้ ก็ย่อมนำไปเกิดในทุคติ

กรรมนิมิตทั้งฝ่ายกุศลและอกุศลดังกล่าวมาแล้ว ถ้าเป็นเพียงคิดถึงสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วนั้น นิมิตนั้น ๆ จะปรากฏทางมโทวาร เป็นอดีตารมณ์ ( อารมณ์อดีต ) แต่ถ้าเห็นด้วยตาจริง ๆ ได้ยินด้วยหูจริง ๆ ได้กลิ่น รู้รส ถูกต้องสัมผัสทางกายจริง ๆ ก็เป็นนิมิตที่ปรากฏทางปัญจทวาร และเป็นอารมณ์ในทางปัจจุบัน

. คตินิมิต คือ นิมิต หรือเครื่องหมายที่บ่งบอกให้ทราบถึงคติหรือภพที่จะไปเกิด จะไปเกิดในสุคติภพก็มีนิมิตบ่อบอกให้ทราบ จะไปเกิดในทุคติภพก็มีนิมิตบ่งบอกให้ทราบ

ถ้าเป็นคตินิมิตที่จะนำไปสู่สุคติ ก็จะปรากฏเป็นปราสาท ราชวัง วิมาน ทิพยสมบัติ เทพบุตร เทพธิดา เห็นครรภืมารดา เห็นวัดวาอาราม เห็นบ้านเรือนผู้คน หรือพระภิกษุสามเณร ซึ่งล้วนแต่เห็นสิ่งที่ดี ๆ อย่าง เช่น ธัมมิกอุบาสก เห็นรถทิพย์ ๖ คันมาจากสวรรค์ทั้ง ๖ ในขณะที่ตนจวนจะตาย ซึ่งกล่าวไว้อรรถกถาธรรมบท

ถ้าเป็นคตินิมิต ที่จะนำไปสู่ทุกคติ ก็มีสิ่งที่อยู่ในภพชาติที่จะไปเกิดใหม่นั้นมาปรากฏให้เห็น ถ้าจะไปเกิดในนรก ก็ปรากฏเห็นเป็นเปลวไฟนรก เห้นนายนิรยบาล เห็นสุนัข เห็นแร้ง กา เป็นต้น ที่กำลังจะเข้าทำร้ายตน ถ้าเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานก็จะเห็นเหว ถ้ำ ป่าทึบ หรือทุ่งหญ้า หนองน้ำ เป็นต้น ที่ตนจะต้องไปเกิด

คตินิมิต จะปรากฏได้ในทวาร ทั้ง ๖ แต่ที่ปรากฏส่วนมากทางจักษุทวารและมโนทวาร คือ เห็นทางตา และทางใจเป็นส่วนมาก และจัดเป็นอารมณ์ในปัจจุบัน

อารมณ์ของมรณาสันนวิถีนี้ ย่อมเป็นกรรม กรรมนิมิตหรือคตินิมิต อย่างใดอย่างหนึ่ง มาปรากฏแก่วิถีจิตที่ใกล้ชิดกับจุติจิตที่สุด หรือจะเรียกว่า “ เป็นการฝันครั้งสุดท้ายในชีวิตก็ได้ ” ถ้าฝันไม่ดี คือเห็นอารมณ์นิมิตไม่ดี ก็ไปเกิดในทุคติ ถ้าฝันดี คือเห็นอารมณ์ที่ดีก็ไปเกิดในสุคติ

 

 

 
 

 

1 I 2 I 3 I 4 I 5 I 6 I 7 I 8 I 9 I 10 I 11